อพท.-ม.ศิลปากรพัฒนาเกมบนมือถือ
หนุนรับรู้-เที่ยวเมืองโบราณอู่ทอง
อพท.ร่วมมหาวิทยาลัยศิลปากรและพันธมิตรพัฒนาเกมบนมือถือเพื่อสร้างการรับรู้และส่งเสริมการท่องเที่ยงเมืองโบราณอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี ดึงผสมผสานเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ๆมาพัฒนาถ่ายทอดสถาปัตยกรรม ฟื้นบรรยากาศเก่า ๆ สู่คนยุคใหม่ขณะนี้อยู่ในขั้นให้ทดลองเล่น คาดปีหน้าพัฒนาครบสมบูรณ์ เตรียมพัฒนาต่อเนื่องเป็นอาณาจักรอยุธยา
นายทวีพงษ์ วิชัยดิษฐ์ ผู้อำนวยการ องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. เป็นประธานเปิดโครงการพัฒนาและสร้างการรับรู้เมืองโบราณอู่ทองในรูปแบบ 3 มิติ ผ่านเกมบนมือถือ พร้อมกล่าวว่า โครงการนี้เกิดมาจากสถานที่ท่องเที่ยวเมืองโบราณอู่ท่อง ซึ่งถือเป็นแหล่งท่องเที่ยวโบราณสถาน โบราณคดี เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นเมื่อ 1,000-2,000 ปีที่แล้ว อาณาจักรทราวดีและความเฟื่องฟูในสมัยนั้น และชุมชนที่ยังมีอยูู่ในปัจจุบัน ดังนั้น ทางอพท.จึงมีแนวความคิดว่าจะทำให้โบราณอู่ทองมาเชื่อมกับนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่ไปด้วยกันได้ ซึ่งจะก่อให้ประโยชน์ ดังนั้นทาง อพท.จึงได้แนวความคิดว่าปัจจุบันเยาวชนคนรุ่นใหม่สนใจในเรื่องของเกมออนไลน์มาก ขณะเดียวกัน ทาง อพท.เองก็ได้มีการเจรจาพูดคุยกับทางสมาคม ESport ซึ่งได้เห็นโอกาสเรื่องของโบราณอู่ทอง ซึ่งฉากหลังของเกมก็จะเป็นโบราณสถานแต่ละที่ที่อยู่ในเมืองอู่ทองจริง เป็นโบราณสถานที่ขุดค้นเจอและก็มีเรื่องราวความเป็นมานำมาถ่ายทอดลงมาในเกม ขณะเดียวกัน ตัวละครที่เกี่ยวข้องก็เป็นละครที่เกี่ยวกับเกม ซึ่งก็เหมือนกับเป็นการฟื้นฟูอาณาจักรทราวดีให้กลับมา
“อย่างตอนนี้หากใครพูดถึงไปเที่ยวเมืองโบราณอู่ท่อง ไปดูโบราณสถาน ไปดูปราสาท เรานึกไม่ออกและเมื่อก่อนมันยิ่งใหญ่ยังไง แต่ที่เราไปศึกษามาจะเห็นว่าเมืองทราวดี เป็นเมืองที่มีความยิ่งใหญ่มาก เป็นเมืองที่ทำการค้าขาย ซึ่งมีการค้าขายกับจีน ยุโรป เราเจอเหรียญที่อยู่ในสมัยยุโรปมาอยู่ในพื้นที่เมืองอู่ทอง ซึ่งมันก็จะมีเรื่องราวที่มาที่ไป ดังนั้นเราจึงนำเรื่องราวเหล่านี้มาร้อยเรียงผ่านแอพพลิเคชั่น เดิมทีเราคิดว่าจะทำเป็นแอพพลิเคชั่นธรรมดาก็ไม่แรงดึงดูงใจ เพราะโบราณสถานอู่ทอง เป็นโบราณสถาน โบราณคดีอยู่แล้วมันก็ยากที่จะทำให้ติด แต่ว่าอู่ทองแหล่งโบราณคดีที่เราไม่ได้พัฒนามานานมาก ก็จะเห็นว่าในหลวงรัชกาลที่ 9 ท่านจะพุดอยู่ตลอดเวลาเลยว่า ต้นทางของเรามันไม่ใช่สุโขทัย แต่มันคืออาณาจักรทราวดี อาณาจักรสุวรรณภูมิ ซึ่งถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของสยามเรา ดังนั้น เราก็เลยคิดว่าถ้าเราเอาเป้าหมายเรื่องนี้มาบวกเรื่องนวัตกรรมใหม่ ๆ ก็น่าจะสร้างความน่าสนใจได้”
ทั้งนี้ ฉากในเกมจะมีจุดเริ่มต้นที่บอกเล่าเรื่องราวของอาณาจักรทราวดีมีความเป็นมาอย่างไร โดยในเกมจะมีฉากทั้งหมด 5 ด้วยกัน คือ ฉากเจดีย์ ฉากพระใหญ่ และโบราณ
สถาน กำแพง และวัด ซึ่งฉากที่อยู่ในเกม ก็จะเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีอยู่ในพื้นที่อู่ทอง
สำหรับการพัฒนาเกมดังกล่าว ทางอพท.ใช้ระยะเวลาในพัฒนาเป็นระยะเวลากว่า 2 ปี ซึ่งทาง อพท. จะต้องนำทุกอย่างมาออกแบบ ประกอบกับมีงบประมาณจำกัด ทำให้พัฒนาโครงการออกเป็น 2 เฟส โดยในเบื้องต้นก็สร้างตัวละครก่อน และมาในปีนี้ทางอพท.ได้นำตัวละครมาใส่ในเกม ทั้งนี้ ทางอพท.ใช้งบงบประมาณในการพัฒนาโครงกล่าวประมาณ 3-5 ล้านบาท สำหรับกลุ่มเป้าหมายของโครงการดังกล่าว เน้นกลุ่มเยาวชนคนรุ่นใหม่ที่อยู่ในพื้นที่สุพรรณบุรีและพื้นที่ใกล้เคียง ให้เกิดความรู้สึกว่าเมืองโบราณอู่ทองมีความน่าสนใจ
นายทวีพงษ์ กล่าวต่อว่า ในอนาคตทางอพท.มีแผนที่จะพัฒนาเกมโครงการต่อไป โดยในเบื้องต้นได้ศึกษาเมืองอยุธยา เนื่องจากอยุธยาเป็นเมืองที่ขึ้นชื่อว่าเป็นมรดกโลกทางด้านประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ดังนั้น ทาง อพท.จึงมีแนวความคิดที่จะไปสร้างเรื่องที่เกี่ยวกับอาณาจักรอยุธยา ในเบื้องต้นได้มาประมาณ 10 เรื่อง อาทิ ช่างตีเหล็ก เขาทำกันยังไง มีเรื่องราวความเป็นมาอย่างไร ชุมชมสมัยบางระจันและอยุธยาเขาทำอะไรและเขาอยู่กันอย่างไร ทำไมสมัยนี้ยังมีอยู่ ซึ่งทางอพท.ได้มีการเจรจาพูดคุยในเบื้องต้นแล้ว แต่อย่างไรก็ตาม คงจะต้องรอผลของโครงการนี้ก่อนว่าประสบความสำเร็จแค่ไหน
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วัฒนพันธุ์ ครุฑะเสน รองคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะมัณฑศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เปิดเผยถึงการพัฒนาและสร้างการรับรู้เมืองโบราณอู่ทองในรูปแบบ 3 มิติ ผ่านเกมบนมือถือว่า ทางมหาวิทยาลัย ศิลปากรเป็นผู้ผลิตภาพเห็นเกิดความเป็นจริงตามวิสัยทัศน์ของท่านผอ. ประกอบกับทางมหาวิทยาลัยได้ทำการศึกษาประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมอู่ทองมาตั้งแต่ต้น และทางมหาวิทยาลัย คณะฆัณฑศิลป์ได้ร่วมมือกับทาง อพท.ได้ร่วมกันจัดทำโครงการดังกล่าว ซึ่งผลงานที่ออกมาก็จะมาจากหลายคณะที่เข้ามาร่วมกันทำโครงการนี้ อาทิ คณะไอซีที คณะวิทยาศาสตร์ด้านคอมพิวเตอร์ และคณะดุริยางค์ อีกทั้งยังมีศิษย์เก่าอย่าง ESport ที่เข้ามาช่วยทำให้เกิดโครงการดังกล่าวขึ้น
“ต้องบอกก่อนว่างบประมาณในการจัดทำโครงการนี้ ทางเรามีงบประมาณไม่เยอะ แต่เราได้พันธมิตรเข้ามาช่วย ซึ่งทางเรามองว่างานนี้มันเป็นงานที่ท้าทาย จริง ๆ งานแบบนี้จะต้องเป็นของภาคเอกชนทำ เพราะมีงบประมาณสูง แต่ทางมหาวิทยาลัยกับทางอพท. อยากทำให้มันเกิด ดังนั้นเราจึงไปหาพันธมิตรมาช่วยเสริม เพื่อทำให้มันเดินไปถึงจุดที่เราได้ตั้งใจไว้ อันนี้เพิ่งจะเริ่มเฟสแรก ซึ่งก็จะมีตัวละคร 3 ตัวและก็มีด่านแรก ๆ ซึ่งปีหน้าเราจะทำให้ครบรูฟของเกมทั้งหมด แต่ว่าในช่วงนี้เหมือนเป็นช่วงทดสอบความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมายว่า ที่เราออกแบบมาผลตอบรับจะออกมาเป็นยังไง และจะเป็นชี้วัดว่าเราจะสามารถดึงคน สร้างมูลค่าการท่องเที่ยวให้อู่ทองได้จริงหรือเปล่า หรือจริง ๆ เด็กแค่มาเล่น ๆ อย่างเดียว”ดร.ธนาธร กล่าว