วช.จัดประกวดประจำปี2563
ผลงานสิ่งประดิษฐ์คิดค้น
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ(วช.) จัดประกวด ” ผลงานสิ่งประดิษฐ์คิดค้น ประจำปี2563″ ชิงรางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ:รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น ระหว่างวันที่ 23-24 กันยายน 2562 ณ ห้องประชุมจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ชั้น2 อาคารวช.1และบริเวณโถงกิจกรรม1 อาคารวช.4 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ มีนักประดิษฐ์ส่ง177 ผลงาน เข้าประชัน ทีมนักวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่โชว์ผลงาน ชุดสื่อการสอนเพื่อส่งเสริมสุขภาพช่องปากด้วยสมาร์ทโฟนเอนโดรไมโครสโคป ซึ่งจะช่วยให้เด็กรู้จักดูแลสุขภาพปากและฟัน ลดปัญหาฟันผุในเด็ก ซึ่งทำให้เสี่ยงเกิดโรคเรื้อรังตามมาได้
ศาสตราจารย์ นายแพทย์สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า การจัดงานประกวดผลงานประดิษฐ์คิดค้น เพื่อขอรับรางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ : รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้นเป็นกิจกรรมที่ วช. จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี เพื่อเป็นการเปิดเวทีให้นักประดิษฐ์ได้แสดงศักยภาพด้านการประดิษฐ์คิดค้น และเผยแพร่ผลงานสู่สาธารณชน และเกิดความร่วมมือในการพัฒนาต่อยอดผลงานไปสู่การใช้ประโยชน์ในมิติต่าง ๆ
ซึ่งในปีนี้ มีผลงานที่ส่งเข้าร่วมประกวดจำนวนทั้งสิ้น 177 ผลงาน ใน 9 สาขา ได้แก่ 1. สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและคณิตศาสตร์ 2. สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ 3. สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช 4. สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา 5. สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย
6. สาขาสังคมวิทยา 7. สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและนิเทศศาสตร์ 8. สาขาปรัชญา และ9. สาขาการศึกษา ซึ่งมีผลงานที่ผ่านการพิจารณาเบื้องต้นจากคณะกรรมการฯ จำนวน 133 ผลงาน และได้นำมาจัดแสดงให้คณะกรรมการฯ พิจารณารายละเอียดในครั้งนี้ด้วย
โดยแต่ละสาขาแบ่งออกเป็นรางวัลต่าง ๆ ดังนี้ รางวัลระดับดีเด่น 1 รางวัล ๆ ละ 500,000 บาท รางวัลระดับดีมาก 1 รางวัล ๆ ละ 250,000 บาท รางวัลระดับดี 1 รางวัล ๆ ละ 150,000 บาท และรางวัลประกาศเกียรติคุณ 2 รางวัล ๆ ละ 100,000 บาท
ทั้งนี้ การจัดงานประกวดผลงานประดิษฐ์คิดค้น เพื่อขอรับรางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ : รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น จะเป็นอีกหนึ่งเวทีที่จะช่วยส่งเสริมและสร้างแรงจูงใจแก่นักวิจัยและนักประดิษฐ์ ในการสร้างสรรค์ผลงานวิจัยสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมที่มีคุณภาพ เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศชาติ และสนับสนุนนักวิจัย นักประดิษฐ์ ในการพัฒนางานวิจัยและสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ ให้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในมิติต่างๆ
ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่มีความมุ่งมั่นที่จะปรับเปลี่ยนการพัฒนาประเทศด้วยโครงสร้างเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและมีเสถียรภาพ สามารถนำไปสู่ “ประเทศไทย 4.0” ภายใต้วิสัยทัศน์ “ประเทศไทยมีความมั่งคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง”
หลังจากพิธีเปิด ได้มีการจัดแสดงการใช้โดรนในการแปรอักษร ซี่ง วช. ได้มีการจัดอบรม “เทคนิคการบินโดรนแปรอักษร” แก่นักเรียนระดับมัธยมศึกษาทั่วประเทศที่ผ่านการคัดเลือกจากสมาคมกีฬาเครื่องบินจำลองและวิทยุบังคับ ระหว่างวันที่ 23 – 24 กันยายน 2562 โดยในวันที่ 25 จะมีการแข่งขันการบังคับโดรนตามคำสั่ง ผ่านระบบโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการบังคับด้วย
ทั้งนี้ภายในงานมีนักวิจัย นักประดิษฐ์จากหลายหน่วยงานเข้าโชว์ผลงาน สำหรับผลงานเด่น ๆ มีหลายอย่าง ด้วยกัน รวมถึง ทีมนักวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่โชว์ผลงาน ชุดสื่อการสอนเพื่อส่งเสริมสุขภาพช่องปากด้วยสมาร์ทโฟนเอนโดรไมโครสโคป ซึ่งจะช่วยให้เด็กรู้จักดูแลสุขภาพปากและฟัน ลดปัญหาฟันผุในเด็ก ซึ่งทำให้เสี่ยงเกิดโรคเรื้อรังตามมาได้
ศ.ดร.สนอง เอกสิทธิ์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หนึ่งในทีมวิจัยเปิดเผยว่า “จากการสำรวจสถานการณ์สุขภาพช่องปากโดย The Global Burden of DiseaseStudy 2016 พบว่า ปัญหาฟันผุเกิดขึ้นทั่วโลก ใน 3.58 พันล้านคน มีผู้เป็นโรคในช่องปาก 2.4 พันล้านคนและมีเด็กเจ็บป่วยด้วยโรคฟันผุ 486 ล้นคน เด็กก่อนวัยเรียนอายุ 6 ปี มีฟันผุมากถึง 82%
สำหรับในประเทศไทย มีเด็กอายุ 3ปีและ 5 ปี มีปัญหาฟันน้ำนมผุเกินครึ่ง ที่ 52.9% และ 75.6% ตามลำดับ เด็กวัยเรียนและเยาวชนอายุ 12 ปี เป็นโรคฟันแท้ผุ 52.0% นำไปสู่ปัญหาสุขภาพช่องปากและส่งผลต่อคุณภาพชีวิต ทำให้เสี่ยงต่อโรคเรื้อรัง โรคลิ้นหัวใจ โรคหลอดเลือดสมองตีบ โรคปอดอักเสบเรื้อรัง โรคอ้วนและโรคเบาหวาน และส่งผลกระทบต่อผลการเรียน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนลดลงได้
สิ่งประดิษฐ์นี้จะช่วยให้เด็ก ๆ ตระหนักในความสำคัญของการรักษาสุขภาพช่องปาก แปรงฟันที่ถูกต้องและลดปัญหาฟันผุและโรคต่าง ๆ ที่จะตามมาได้”
คณะนี้มาไกลจากปัตตานี