เรื่องจริงต้องรู้…/ช. พิทักษ์. ‘สิงคโปร์’ จากเมืองกุ๊ยสู่ประเทศเจริญสุด ๆ (1)
คนไทยมักคิดสิงคโปร์เจริญเพราะเป็นประเทศเล็ก คือประเทศไหนมีขนาดเล็กล้วนเจริญได้ ความคิดเช่นนี้ไม่จริง ก่อนจะเจริญสิงคโปร์เป็นเมืองกุ๊ย กุ๊ยตามแบบฉบับเมืองท่าสมัยก่อน เพราะตั้งแต่โบราณกาลคนประเทศไหนอยู่ประเทศตัวเองไม่ได้
มีความคับแค้นร้อนรนหรือต้องหนีภัย คนพวกนี้มักหาทางเล็ดรอดลงเรือเพื่ออพยพไปอยู่ประเทศอื่น ทำทั้งสมัครเป็นคนงานเรือ หรือแอบตามซอกมุมเพื่อจะไปขึ้นฝั่้ง และฝั่งที่นิยมไปขึ้นก็คือ เมืองท่าตามทวีปต่าง ๆ ซึ่งสำหรับคนเอเซียก็คือ สิงคโปร์
(https://www.artsy.net/artwork/unknown-view-of-the-ancient-port-of-singapore)
เลือกไปขึ้นเมืองท่าเพราะมีโอกาสไปอยู่กับคนชาติเดียวกัน อีกทั้งยังหางานทำง่าย เป็นเช่นนี้ทุกแห่งไม่เฉพาะสิงคโปร์ ด้วยเหตุนี้เมืองท่าทั้งหลายจึงมีลักษณะคล้ายกัน นั่นคือ เป็นพื้นที่แหล่งเสื่อมโทรมที่เต็มไปด้วยอบายมุขและนักเลงอันธพาล
ไม่เฉพาะกุ๊ยที่แต่งตัวเริ่ดเดินส่ายไปส่ายมา ผู้เขียนรู้่จักสิงคโปร์จากชาวประมงค์จังหวัดชลบุรี ซึ่งตอนเป็นหนุ่มล่องเรือจับปลาไปเมืองท่าแห่งนี้เป็นประจำ ขณะนั้นเป็นช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 และสิงคโปร์ขึ้นชื่อเรื่องการมีสีสันยามราตรีทั้งบาร์ไนท์คลับ
(http://www.nlb.gov.sg/biblioasia/2018/04/17/chinese-renaissance-architecture/)
ไทยตอนนั้นยังไม่มีสถานบันเทิงแบบนี้ ดังนั้นบรรดาคนมีเงินหรือที่เรียกอาเสี่ยจึงต้องไปสิงคโปร์ และไปโดยเรือประมง เพราะยังไม่มีเครื่องบิน สนุกกันมาก ๆ ตั้งแต่อยู่ในเรือ เพราะมีการนำเหล้านำของกินชั้นดีไปตั้งวงกลางลำ พร้อมทั้งชวนไต้ก๋งและลูกน้องให้ร่วมวง
ตอนนั้นสิงคโปร์ยังเป็นอาณานิคมสหราชอาณาจักร การเดินทางเข้าออกสะดวก เข้าไปแล้วทุกคนไม่เฉพาะอาเสี่ยจะไปหาความสุขตามสถานบันเทิง สนุกกันสุดเหวี่ยงจนเงินหมดจึงลงเรือกลับ
ตอนนั้นโลกยังไม่มีบัตรเครดิตและการโอนเงินทางออนไลน์ ดังนั้นใครไปต่างประเทศจึงต้องพกเงิน และสำหรับคนที่ไปกับเรือประมงค์ทุกคนต่างพกเป็นฟ่อน ๆ ชาวประมงค์คนนั้นเล่าว่า ดูสิงคโปร์สมัยนั้นแล้วรู้สึกหดหู่ โดยเฉพาะย่านท่าเรือ
จริงอยู่อาคารสถานประกอบการดูสมัย แต่บ้านเรือนกลับซอมซ่อ แถมคนอาศัยยังมีเรือนร่างผอมโซใบหน้าอิดโรย
(http://www.nlb.gov.sg/biblioasia/2019/05/21/wartime-victuals-surviving-the-japanese-occupation/)
ชาวประมงค์คนนี้คงไม่รู้ก่อนสิงคโปร์จะเจริญด้วยฝีมือลี กวน ยู ซึ่งก้่าวขึ้นสู่อำนาจปี 1965 หรือ 2508 หรือ 20 ปีหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สงบ สิงคโปร์เต็มไปด้วยปัญหา แถมยังทุกด้าน ไม่ใช่เฉพาะความยากจน และการทุจริตคดโกงขาดระเบียบขาดจริยธรรมไม่ว่าวงการไหน
แต่ที่กำลังเป็นข่าวใหญ่ทั่วโลกก็คือ การลุกฮือของกองกำลังโจรจีนคอมมิวนิสต์ที่มีเป้าหมายจะยึดครองแหลมมาลายูให้ได้ทั้งหมด จริงอยู่การสู้รบยังจำกัดบนพื้นที่ ๆ เป็นแหลม แต่สิงคโปร์ที่เป็นเกาะยังต้องเผชิญกับภัยทางความคิด
ภัยความคิดที่ต้องการเปลี่ยนเมืองท่าแห่งนี้ให้เป็นประเทศที่ปกครองด้วยระบอบคอมมิวนิสต์ เพราะเชื่อทำง่ายจากการมีพื้นที่เล็ก อีกทั้งประชากรที่ส่วนใหญ่เป็นจีนยังกำลังดื่มด่ำกับชัยชนะของขบวนการคอมมิวนิสต์ในจีน
(https://alchetron.com/Chinese-Communist-Revolution)
และฝันจะให้สิงคโปร์ทำแบบเดียวกัน
ปัญหาสิงคโปร์หนักหน่วงใช่หรือไม่? ยังเชื่ออีกหรือสิงคโปร์เจริญเพราะเป็นประเทศเล็ก? ลี กวน ยูก้าวขึ้นสู่อำนาจปีเดียวกับที่สิงคโปร์แยกตัวเองออกจากมาเลเซีย โดยการแยกยังเกิดจากฝีมือของเขา
มาดูประวัติลี กวน ยูกันก่อน จะได้รู้ทำไมเขาถึงสุดเก่งและสุดสะอาด มือไม่มีรอยเปื้อนทุจริตแม้แต่น้อย ซ้ำในสมองยังไม่มีความคิดปลื้นปล้อนตลบแตลง เขาเกิดปี 1923 หรือ 97 ปีที่แล้วในครอบครัวที่มีพ่อเป็นจีนแคะ
(https://therivardreport.com/singapore-lee-kuan-yews-vision-realized/)
และแม่เป็นจีนเชื้อผสมคนพื้นเมือง หรือที่นิยมเรียกบาบ๋า-ย่าหยา ทั้งนี้พ่อเขาเป็นคนตระกูลลีรุ่นที่ 3 ที่อพยพจากจีนมาสร้างเนื้อตัวในดินแดนปลายแหลมมาลายู จนในที่สุดสามารถมีตลาด มีสวนยาง และบ้านบนถนนออร์ชาร์ดสุดหรูสุดเชิดหน้าชูตา
โดยคนตระกูลนี้ตั้งแต่อพยพมาสิงคโปร์ต่างฝักไฝ่เรียนรู้ภาษาอังกฤษ และสำหรับลี กวน ยูการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเริ่มที่โรงเรียนเล็ก ๆ ก่อนจะย้ายไปโรงเรียนสุดเลิศ Raffles Institution หรือสถาบันแรฟเฟิลส์ ซึ่งทุกวันนี้ก็ยังสุดเลิศ
(https://commons.wikimedia.org/wiki/File:Raffles_Institution_Raja_block.jpg)
เรียนจบเขาเข้าเรียน Raffles College วิทยาลัยแรฟเฟิลส์ ซึ่งปัจจุบันคือ National University of Singapore หรือมหาวิทยาลัยแห่้งชาติสิงคโปร์
บังเอิญช่วงนั้นเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 และสิงคโปร์ถูกญีปุ่นยึดครอง การเรียนจึงสะดุด สงครามสงบลี กวน ยูเดินทางไปสหราชอาณาจักรเพื่อเข้าเรียน London School of Economics วิทยาลัยเศรษฐศาสตร์กรุงลอนดอน
เรียนที่นี่ไม่นานก่อนย้ายไปเรียนมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ย้ายไปที่นี่เพราะไม่ชอบกรุงลอนดอน
(https://en.wikipedia.org/wiki/London_in_World_War_II#/media/File:London_at_War,_1942_D9314.jpg)
ลี กวน ยู เรียนจบกฏหมายจากเคมบริดจ์ด้วยผลการเรียนที่ยังเป็นที่เลื่องลือจนทุกวันนี้ จากนั้นเขาสอบเข้าเรียนเนติบัณฑิตย์สำนัก Middle Temple ทั้งนี้ระหว่างเรียนเขายังช่วยเพื่อนร่วมชั้นชาวอังกฤษหาเสียงเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาฯ
ช่วยเพราะเขาสนใจการเมือง และที่สนใจก็เพราะระหว่างสงครามเขาเกือบถูกทหารญี่ปุ่นนำตัวไปสังหารหมู่ครั้งประวัติศาสตร์ อีกทั้งยังโดนทหารญี่ปุ่นตบหน้า หลังไม่ยอมคำนับทหารญี่ปุ่นเพื่อแสดงความเคารพ
ความเจ็บปวดระหว่างนั้นทำให้เขาโกรธเจ้าอาณานิคมที่ไม่สามารถปกป้องดินแดนเมืองขึ้น และคิดจะต้องทำอะไรสักอย่างเพื่อให้สิงคโปร์เป็นตัวของตัวเอง จนมีกองทัพแข็งแกร่งสามารถต่อสู้กับศัตรูได้ทุกเมื่อ
ความคิดในเชิงนี้ต่อมาเป็นผลงานชิ้นแรก ๆ ของเขา เมื่อได้เป็นผู้นำประเทศ นั่นคือ การทำกองทัพให้เหมือนอิสราเอล หนึ่งในนั้นคือ การให้นักเรียนชายทุกคนที่เรียนจบมัธยมต้องเป็นทหารสองปี
(https://asiatimes.com/2019/02/conscript-deaths-making-political-waves-in-singapore/)
โดยในช่วงพักผ่อนหลังเข้าประจำการปีแรกยังให้เงินเพื่อเดินทางไปเที่ยวประเทศเพื่อนบ้าน ให้โอกาสเช่นนี้เพื่อสร้างสำนึกการเป็นคนภูมิภาคเดียวกันที่จะอยู่ด้วยกันอย่างมีความสุขและความสามัคคี
อ่านต่อวันศุกร์หน้าเพื่อจะได้รู้ลี กวน ยูทำอะไรต่อเมื่อกลับจากสหราชอาณาจักร รับรองสนุกแน่…
…