เรื่องจริงต้องรู้…/ช. พิทักษ์ ..สัมพันธ์ชื่นมื่นจีนสหรัฐฯ (2)
“ไชน่าทาวน์” เป็นคำภาษาอังกฤษแปลว่า เมืองจีน ซึ่งไม่ตรงความจริง ๆ ก็คือ ไม่มีไชน่าทาวน์ประเทศไหนใหญ่ขนาดเมือง อย่่างเก่งเป็นได้แค่ชุมชนและเขต ดังนั้นจึงนิยมเรียกอีกชื่อว่า ย่านอาศัยคนจีน ไทยเองก็มีย่านอาศัยแบบนี้หลายพื้นที่ทั่วประเทศ
เด่นที่สุดเห็นจะเป็นเยาวราชที่คนจีนทั่วโลกยกย่องและนิยมมาเยือน ยกย่องนิยมเพราะว่า ไทยเป็นประเทศน้อยแห่งในโลกที่แทบไม่มีการปีนเกลียวระหว่างคนจีนกับคนพื้นเมือง เป็นเช่นนี้ตั้งแต่คนจีนอพยพเข้าไทย
(https://www.goshoppingthailand.com/travel/yaowaraj-china-town/)
จะมีกระทบกระทั่งกันบ้างก็มีเพียงช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งในช่วงนั้นรัฐบาลจุดกระแสชาตินิยมจนเกิดการชิงชังคนต่างเชื้อชาติ อย่างไรก็ดีในที่สุดไทยกับจีนก็เข้ากันได้ คนจีนแทบจะทุกครอบครัวเปลี่ยนนามสกุลจากแบบแซ่มาเป็นแบบไทย
แถมเด็กไทยเด็กจีนยังเรียนหนังสือโรงเรียนเดียวกันด้วยความสมัครสมานสามัคคี ภาพเช่นนี้คนจีนในต่างประเทศรักมาก จนไทยได้รับการยกย่อง ทั้งนี้ต้องไม่ลืมในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศเพื่อนบ้านทุกประเทศล้วนเผชิญปัญหาขัดแย้งด้านเชื้อชาติ
หนักที่สุดก็คือ อินโดนีเซียที่ขัดแย้งถึงขนาดมีการฆ่าหมู่คนจีนเพื่อล้างคนจีนให้หมดประเทศ
ดีใจและภูมิใจที่เห็นเยาวราชยังคงรักษาเอกลักษณ์ดั้งเดิมไว้ได้ และนี่เป็นอีกเหตุผลที่นักท่องเที่ยวนิยมไปเที่ยว คือหลังชมวัด ชมตลาดน้ำ และชมพระบรมมหาราชวัง ต่างขยับไปเที่ยวเยาวราชเพื่อให้การท่องเที่ยวกรุงเทพฯครบทุกรส
และเรื่องนี้คงต้องชมชาวเยาวราชที่ถึงจะร่ำรวยมั่งคั่ง แต่ก็ยังไม่ลืมรากเหง้า ธำรงรักษามรดกครอบครัวไว้ เพื่อให้ดำรงอยู่ต่อไป ส่วนพื้นที่หลายแห่งในไทยก็ไม่น้อยหน้า มีการรักษาย่านอาศัยคนจีน แม้ว่าโรงเรียนจีนจะปิดตัว โรงน้ำชาเลิกกิจการ
(http://www.kophuket.com/phuket/attractions/chinatown-plaza-patong.html)
แต่คนจีนที่แปรตัวเองเป็นคนไทยยังคงไม่ทิ้งพื้นที่เกิด ส่วนบางพื้นที่ ๆ ห้องแถวถูกปรับเป็นอาคารสูงวิธีรักษาคือ เก็บร้านกาแฟร้านก๋วยเตี๋ยวดั้งเดิมไว้ ทั้งนี้ถ้าต้องปรับปรุงร้านให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงก็ใช้วิธีรักษาบรรยากาศเดิมของร้าน รวมทั้งติดป้ายตัวอักษรใหญ่ใต้ตัวอักษรไทย
เอาละ ไปชมไชน่าทาวน์ในสหรัฐอเมริกากัน อันดับแรกยังไง ๆ ก็ต้องเป็นที่อยู่ในมหานครซานฟรานซิสโก ซึ่งถือเป็นไชน่าทาวน์แห่งแรกของประเทศ มีขนาดใหญ่มากที่สุดแห่งหนึ่ง มีชื่อเสียงกว้างไกลที่สุด และคนนิยมไปเที่ยวมากที่สุด
(https://sf.eater.com/2020/2/12/21135104/novel-coronavirus-chinatown-oakland-san-francisco)
ย่านอาศัยคนจีนซานฟรานซิสโกมีการระบุเป็นทางการได้รับการสถาปนาเมื่อปีค.ศ. 1848 หรือ 172 ปีที่แล้ว มีเหตุการณ์สยดสยองเกิดขึ้นต้นศวรรษที่ 20 เมื่อซานฟรานซิสโกเกิดแผ่นดินไหวครั้งประวัติศาสตร์ในวันที่ 18 เมษายน 1906 เป็นการไหวขนาดหนักวัดได้ 7.9 ริกเตอร์
มีคนเสียชีวิตกว่า 3,000 คน ร้อยละ 80 ของมหานครถูกทำลาย รวมทั้งย่านไชน่าทาวน์ที่ซากสลักหักพังจมอยู่ในกองเพลิง ไม่นานมีการฟื้นฟู โดยยังคงยึดรูปแบบสถาปนิกจีนโบราณที่เคยถูกวิจารณ์ดูเป็นจีนเกินไป และทำเพื่อเอาใจนักท่องเที่ยว ไชน่าทาวน์ซานฟรานซิสโกกลับสู่สภาพดั้งเดิมอีก
แต่แล้วเหตุการณ์ครั้งประวัติศาสตร์อีกครั้งที่เป็นสงคราม Tong Wars สังเกตุตัวอักษร t และ w เป็นตัวใหญ่ เนื่องจากนี่เป็นชื่อเฉพาะของการต่อสู้กันระหว่างองค์กรลับจีนหรืออั้งยี่ คือเมื่อไชน่าทาวน์ที่พวกนี้อาศัยเริ่มเติบโตมั่งคั่ง
(http://www.foundsf.org/images/d/d3/Chinatwn%246-companies-officers.jpg)
บรรดาผู้มีอิทธิพลย่อมต้องหาผลประโยชน์ มีการรวมตัวเป็นองค์กรเพื่อกำหนดเขตอิทธิพลและห้างร้านบ้านเรือนที่ต้องจ่ายค่าคุ้มครอง เหตุการณ์นี้ลากยาวหลายปีจนในที่สุดไชน่าทาวน์แห่งนี้ได้กลับคืนสู่ความสงบอีกครั้ง พร้อมกับการพัฒนาจนเป็นย่านอาศัยที่มีประชากรหนาแน่นที่สุดในสหรัฐฯ รองจากย่านแมนฮัตตันในมหานครนิวยอร์ก ความหนาแน่นคือ มีประชากร 34,557 คนอาศัยในบริเวณ 20 ช่วงถนน รายได้ถัวเฉลี่่ยต่อครัวเรือนคือ 20,000 เหรียญต่อปี ซึ่งนับว่าต่ำมาก เมื่อเทียบกับย่านอาศัยอื่นในมหานครที่มีรายได้ถัวเฉลี่ยสูงถึง 76,000 เหรียญต่อปี
(https://www.eater.com/2020/2/10/21131642/novel-coronavirus-american-chinese-restaurants-explained)
เหตุผลคือ คนอเมริกันเชื้อสายจีนที่อาศัยในพื้นที่นี้นิยมดำรงชีวิตแบบเดิม ไม่ยกระดับ ไม่ย้ายไปอยู่ที่อื่น งานที่ทำเป็นงานง่าย ๆ เช่น ขายของในร้าน เป็นบริกรร้านอาหาร หรือพนักงานโรงงานตัดเย็บเสื้อผ้า ส่วนผู้ที่มีฐานะถึงแม้จะมีธุรกิจในย่าน แต่ก็นิยมไปพำนักในย่านชานเมืองใกล้ ๆ
ทั้งนี้ถึงหลายอย่างจะเปลี่ยน แต่คนพื้นที่นี้ยังคงมีวัฒนธรรมของตัวเอง มีประเพณีที่ยังได้รับการรักษา
ซึ่งที่เป็นไฮไลท์คือ ประเพณีแห่เชิดสิงโตในช่วงเทศกาลตรุษจีน ที่จัดเป็นแห่เอิกเกริกโอฬารที่สุดในโลก ทุกปีมีการนำเสนอเป็นข่าวทั่วโลก
(https://dothebay.com/events/2018/2/24/chinese-new-year-parade)
เอาละ คราวนี้มาดูไชน่าทาวน์ในมหานครลอสแองเจลิสที่อยู่ใต้ซานฟรานซิสโก ที่เลือกไชน่าทาวน์แห่งนี้นอกจากชื่อเสียงมหานคร ยังมีอีกเหตุผลที่เป็นตัวอย่างการเคลื่อนไหวของผู้ที่อาศัย คือหลายปีแล้วที่สหรัฐฯมีคนอพยพเข้าไปอาศัยจำนวนมาก ไม่น้อยเป็นชาวจีนจากผืนแผ่นดินใหญ่
ซึงพื้นที่หนึงที่ผู้อพยพเหล่านี้นิยมไปก็คือ มหานครดังกล่าวรวมทั้งเมืองและเขตปกครองต่าง ๆ ที่อยู่ใกล้เคียง ประวัติศาสตร์ระบุว่า ลอสแองเจลิส ไชน่าทาวน์ไดรับการบุกเบิกปลายทศวรรษ 30 หรือก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2
เดิมพื้นที่นี้เป็นย่านคนเชื้อสายอิตาลี่อาศัย ดังนั้นจึงมีชื่อเรียก Little Italy หรืออิตาลี่น้อย ความเจริญมาจากการเป็นแหล่งพักผ่อนของชาวลอสแองเจลิส ทั้งที่เป็นร้านอาหาร ร้านขายของชิ้นเล็กชิ้นน้อย รวมทั้งมีพื้นที่กว้างที่ถูกจัดเป็นลานนั่งพักและเดินเล่น
(https://atomikaztex.files.wordpress.com/2012/03/la-chinatown-locals-central-plaza.jpg)
แต่ที่เด่นที่สุดเห็นจะเป็นรูปปั้นมังกรดวลดาบ อนุสาวรีย์ดร.ซุน ยัตเซน ผู้ก่อตั้งพรรคก๊กมินตั๋ง และยังมีพื้นที่ ๆ มีวัดพุทธศาสนา โบสถ์คริสเตียน และศาลเจ้าบูชาเทพธิดาทะเลของชาวจีน
มีการย้ายถิ่นของคนจีนจำนวนไม่น้อยมาอยู่ที่นี่ และยังมีการทะลักของผู้อพยพหลังสงครามเวียดนามสงบ ดังนั้นไชน่าทาวน์แห่งนี้จึงมีคนอีกหลายเชื้อชาติอาศัย ล่าสุดก็คือ เกาหลี
สัปดาห์หน้าจะพาไปดูไชน่าทาวน์ใหญ่ที่สุดในสหรัฐฯ ดูแล้ว เตรียมสั่งอาหารจีนจากร้านอาหารจีนดังในไชน่าทาวน์แห่งนี้มารับประทาน เพราะกำลังจะมีการเปิดบริการ เปิดแล้วคนชั้นนำในโลกไม่น้อยจะสั่งอาหารจากร้านแห่งนี้ไปกินที่บ้าน