สภากาชาดไทย ช่วยเหลือแรงงานข้ามชาติ-ผู้ได้รับผลกระทบจากโควิด-19ระบาด
สภากาชาดไทย ได้ให้ความช่วยเหลือแรงงานข้ามชาติและผู้ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ระหว่างวันที่ 27 มีนาคม – 20 มกราคม 2564 โดยมอบชุดธารน้ำใจกู้ชีวิตฝ่าวิกฤตโควิด 19 พร้อมน้ำดื่ม รวมทั้งสิ้น 171,340 ชุด มูลค่า 113,084,400 บาท ในพื้นที่ 69 จังหวัด แบ่งเป็น
1. มอบชุดธารน้ำใจกู้ชีวิตฝ่าวิกฤตโควิด 19 พร้อมน้ำดื่ม สำหรับผู้ที่ต้องทำการกักตัวให้อยู่ในพื้นที่ 107,153 ชุด มูลค่า 70,720,980 บาท ในพื้นที่ 61 จังหวัด
2. มอบชุดธารน้ำใจกู้ชีวิตฝ่าวิกฤตโควิด 19 พร้อมน้ำดื่ม สำหรับผู้ประสบวิกฤตทางเศรษฐกิจที่ยากไร้ รวม 64,187 ชุด มูลค่า 42,363,420 บาท ในพื้นที่ 49 จังหวัด
โดยเฉพาะกลุ่มแรงงานข้ามชาติ ได้ให้ความช่วยเหลือไปแล้ว รวม 31,427 ชุด ในพื้นที่ 26 จังหวัด ได้แก่ สมุทรสาคร 11,732 ชุด, นครปฐม 600 ชุด, กรุงเทพมหานคร 1,365 ชุด, สุราษฎร์ธานี 710 ชุด, สระแก้ว 100 ชุด, พังงา 1,923 ชุด, สมุทรปราการ 215 ชุด, เชียงราย 634 ชุด, ประจวบคีรีขันธ์ 107 ชุด, ตาก 4,645 ชุด, นครศรีธรรมราช 75 ชุด, กาญจนบุรี 948 ชุด, ระนอง 75 ชุด, ระยอง 134 ชุด, ชลบุรี 80 ชุด, หนองคาย 118 ชุด, เชียงใหม่ 1,371 ชุด, นนทบุรี 1,592 ชุด, ปัตตานี 429 ชุด, เลย 203 ชุด, ชุมพร 120 ชุด, ภูเก็ต 2,416 ชุด, แม่ฮ่องสอน 1,090 ชุด, ปทุมธานี 502 ชุด, สงขลา 63 ชุด และราชบุรี 180 ชุด
สำหรับการให้ความช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากการระบาด ระลอก 2 ตั้งแต่วันที่ 20 ธันวาคม 2563 – 20 มกราคม 2564 จำนวน 19 จังหวัด (สมุทรสาคร เชียงใหม่ นครราชสีมา สระบุรี อุบลราชธานี นครปฐม นนทบุรี เลย ปทุมธานี กรุงเทพฯ สุรินทร์ นครพนม บุรีรัมย์ ชัยนาท ลำพูน สระแก้ว ระยอง นครสวรรค์ และอ่างทอง) มอบชุดธารน้ำใจกู้ชีวิตฯ พร้อมน้ำดื่ม รวมทั้งสิ้น 15,019 ชุด (เป็นแรงงานข้ามชาติ 8,073 ชุด) แบ่งเป็น ผู้ที่กักตัว 11,814 ชุด (เป็นแรงงานข้ามชาติ 5,886 ชุด) และผู้ที่ประสบวิกฤติทางเศรษฐกิจ 3,205 ชุด (เป็นแรงงานข้ามชาติ 2,187 ชุด)
ทั้งนี้สำนักงานบรรเทาทุกข์ฯ ได้มีแผนในการมอบชุดธารน้ำใจกู้ชีวิตฝ่าวิกฤตโควิด 19 พร้อมน้ำดื่ม ให้แก่ที่ต้องทำการกักตัวและผู้ประสบวิกฤตทางเศรษฐกิจที่ยากไร้ ในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี นครราชสีมา สมุทรสาคร และ จังหวัดอ่างทอง ดังนี้
– วันที่ 18 มกราคม 2564 ณ อำเภอสว่างวีระวงศ์ และเทศบาลนครอุบลราชธานี
จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 125 ชุด
– วันที่ 19 มกราคม 2564 ณ ตำบลทับสวาย อำเภอห้วยแถลง จังหวัดนครราชสีมา
จำนวน 38 ชุด
– วันที่ 20 มกราคม 2564 ณ อำเภอเมืองจังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร
จำนวน 1,000 ชุด
และ ณ อำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง จำนวน 109 ชุด
นอกจากนี้ สภากาชาดไทยร่วมกับสหพันธ์สภากาชาดและสภาเสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศ (FRC) คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (ICRC) เครือข่ายองค์กรด้านประชากรข้ามชาติ (MVWG) และยูนิเซฟประเทศไทย จัดโครงการรวมใจต้านภัยโควิด-19 ในกลุ่มแรงงานข้ามชาติ จัดทำขึ้นเพื่อให้กลุ่มประชากรและแรงงานข้ามชาติได้รับการดูแลอย่างทั่วถึงเท่าเทียมตามหลักมนุษยธรรมตลอดจนช่วยให้มาตรการควบคุมการแพร่กระจายของ COVID-19 เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ระหว่างเดือนพฤษภาคม 2563 – มกราคม 2564 ดังนี้
1. ผลิตและแจกจ่ายสื่อประชาสัมพันธ์ โครงการฯ ได้ผลิตสื่อประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ภาษาไทย พม่า กัมพูชา และเวียดนาม ในรูปแบบของ โปสเตอร์ แผ่นพับ นิทาน และ VDO Clip
2. ผลิตและแจกจ่าย หน้ากากอนามัยแบบผ้าสำหรับเด็ก จำนวน 92,000 ชิ้น และผู้ใหญ่ จำนวน 719,742 ชิ้น รวมถึงแอลกอฮอลเจล จำนวน 171,811 หลอด และเครื่องวัดอุณหภูมิร่างกาย 1,203 ชิ้น
3. จัดหาเครื่องอุปโภค-บริโภค (ชุดธารน้ำใจต้านภัยโควิด-19) จำนวน 31,687 ชุด
4. จัดกิจกรรมอบรมอาสาสมัครสาธารณสุขต่างด้าวขึ้น ในพื้นที่ 7 จังหวัด ที่มีแรงงานข้ามชาติอาศัยอยู่เป็นจำนวน ได้แก่ จังหวัดกรุงเทพฯ ชลบุรี นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร และตาก โดยคัดแรงงานข้ามชาติที่ต้องการทำงานจิตอาสามาอบรมให้เป็นอาสาสมัครสาธารณสุขแรงงานต่างด้าว หรือที่เราเรียกว่า อสต. มาเข้ารับการอบรมความรู้เกี่ยวกับโรค COVID-19 และการใช้แอปพลิเคชั่น “พ้นภัย” ในการรายงานผู้ที่มีอาการสงสัยโรค COVID-19 โดยมี อสต. ผ่านการอบรมแล้วทั้งสิ้น 1,424 คน
5. ศึกษาเกี่ยวกับ “มาตรการช่วยเหลือแรงงานข้ามชาติในประเทศไทยในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19” ได้เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มแรงงานข้ามชาติที่ได้รับการช่วยเหลือภายใต้โครงการ จำนวน 423 ตัวอย่าง โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล เพื่อนำผลการศึกษามาพัฒนาและปรับปรุงการความช่วยเหลือต่อไป