“สกสว.” ชวนจับตาแผนวิจัย ชูเอไอพัฒนาวิจัย ดันเกษตรสมัยใหม่ เสริมจีดีพีประเทศ
รศ.ดร.ปัทมาวดี โพชนุกูล ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) เป็นประธานเปิดงาน Workshop RDI in AI for Agriculture and Food งานเสวนาออนไลน์ และรับฟังความคิดเห็น แผนงานวิจัยและนวัตกรรมด้านดิจิทัลและปัญญาประดิษฐ์ เพื่ออุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร ครั้งที่ 2 “ความท้าทายใหม่ของประเทศกับการเข้าสู่ยุคเกษตรและประมงแม่นยำ (Precision Agriculture and Aquaculture)” ซึ่งเป็นเวทีสำคัญที่จัดขึ้นเพื่อรับฟังข้อมูลจากทุกภาคส่วน มาพัฒนาแผนงานวิจัยและนวัตกรรมด้านปัญญาประดิษฐ์ของประเทศกับการพัฒนาในมิติการเกษตรและอาหาร ที่จะถูกบรรจุในแผนวิจัยและนวัตกรรมของประเทศ ฉบับปี 2566 – 2570 ตลอดจนเป็นการสร้างเครือข่ายนักวิจัยด้านการเกษตร และด้านระบบดิจิทัลและปัญญาประดิษฐ์ของประเทศ
ผู้อำนวยการ สกสว. ให้ข้อมูลว่า ปัจจุบัน สกสว. ร่วมกับ สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) ออกแบบนโยบายและยุทธศาสตร์ อววน. พ.ศ. 2566 – 2570 โดยในแผนฉบับนี้ ภาคนโยบายมองปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI ในฐานะเป็นเทคโนโลยีที่ไปเชื่อมอุตสาหกรรมหลักของประเทศ รวมถึงอุตสาหกรรมยานยนต์ (EV) โดยหน่วยงานด้านการบริหารจัดการทุนที่มีความสำคัญและมีบทบาทกับประเด็นดังกล่าวโดยตรง คือ หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) สิ่งที่ สกสว. คาดหวัง คือ การจัดทำแผนวิจัยและนวัตกรรมที่เน้นการนำเทคโนโลยีอย่างเอไอมาใช้ในการพัฒนาทั้งภาคเกษตร อุตสาหกรรมของประเทศได้อย่างมีศักยภาพสูง โดย สกสว. ได้รับเกียรติ จาก ผศ.วรรณรัช สันติอมรทัช ที่ปรึกษาหน่วยจัดการความรู้ (SAT) ด้านดิจิทัลและปัญญาประดิษฐ์ มาช่วยขับเคลื่อนการทำงานด้านแผนในครั้งนี้
สำหรับ หนึ่งในประเด็นสำคัญของการประชุมขับเคลื่อนงานวันนี้ที่น่าสนใจ คือ ด้านการเกษตร โดยนายภานุ ส้มเกลี้ยง นักวิเคราะห์อาวุโส สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) (สวก.) เปิดเผยข้อมูลสำคัญว่า หากกล่าวถึงภาคเกษตรไทยพบว่าปัจจุบัน มีพื้นที่ การเกษตร 178 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 35 ของพื้นที่ทั้งประเทศ (320.7 ล้านไร่) จาก GDP ของประเทศมีมูลค่าประมาณ 15 ล้านบาท เป็น GDP ภาคเกษตรมีเพียง 1.2 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 8 ของ GDP ทั้งประเทศ จำนวนแรงงานทั้งประเทศ ประมาณ 37.6 ล้านคน เป็นแรงงานภาคการเกษตร 1 ใน 3 หรือประมาณ 12.7 ล้านคน การพัฒนาการเกษตรพึ่งพาแรงงานคนเป็นหลัก รูปแบบการเดิบโตเน้นการขยายตัวเชิงปริมาณ เช่น ขยายพื้นที่เพาะปลูกและการใช้ปัจจัยการผลิตที่มากขึ้น เป็นต้น
โอกาสและความท้าทายภาคเกษตรไทยองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ได้คาดการณ์ว่าในปี 2573 คือ จะมีความต้องการอาหาร จะเพิ่มขึ้นจากเดิมถึงร้อยละ 35 จากการเพิ่มขึ้นของประชากร โลกที่คาดว่าจะอยู่ที่ 9 พันล้านคน ในปี 2593 ขณะที่พื้นที่การเกษตรมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ ทั่วโลกจะต้องเผชิญกับปัญหาความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวคล้อม สภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง
นอกจากนี้ โครงสร้างประชากรมีการเปลี่ยนแปลง อัตราการเกิดลดลงอย่างรวดเร็ว สังคมไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุไทยกำลังประสบปัญหาการขาดแคลนแรงงานภาคการเกษตร ต้นทุนการผลิตเพิ่มสูงขึ้น โดยในปี 2565 ไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุสมบูรณ์ ส่งผลให้โอกาสทางธุรกิจสำหรับสินค้าและบริการเพื่อผู้สูงอายุโอกาส
โอกาสนี้ “การเกษตรสมัยใหม่” จะเข้ามาช่วยภาคเกษตรกรได้ โดยคำว่าการเกษตรสมัยใหม่ คือ การนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการฟาร์ม – การตลาด โดยมีเป้าหมายในการ 1.เพิ่มผลผลิตการเกษตรทั้งในเชิงมูลค่าและปริมาณต่อพื้นที่สูงสุด 2. พร้อมรองรับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 3. ใช้ทรัพยากรให้สอดคล้องกับสภาพของพื้นที่มากที่สุด เป็นมิตรกับสิ่งแวคล้อม และ 4. สามารถวางแผนและตัดสินใจได้อย่างแม่นยำ บนฐานข้อมูลสารสนเทศที่ถูกต้อง แนวทางการพัฒนางานวิจัยด้านเกษตรสมัยใหม่ผ่านการสนับสนุนทุนของ สวก. 1. โจทย์วิจัยมาจากผู้ใช้ (เกษตรกร หรือผู้ประกอบการ) 2. บูรณาการการทำงานร่วมกัน (ผู้พัฒนาเทคโนโลยีและผู้ใช้ประโยชน์) 3. ระบบไม่ยุ่งยากซับซ้อน สามารถแก้ไขได้โดยช่างในระดับพื้นที่ และ4. มีความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ภายใต้แนวคิด “ตลาดนำ เทคโนโลยีตาม รัฐบาลสนับสนุน” อาจกล่าวโดยสรุปได้ว่า สวก. มุ่งเน้นการใช้ประโยชน์ ของงานวิจัย เป็นโจทย์ที่ชัดเจนของเกษตกรและพื้นที่ มีความเป็นไปได้จริง ผู้ใช้ประโยชน์จากงานวิจัยชัด