เรื่องจริงต้องรู้…/ช. พิทักษ์.. การ์ตูนญี่ปุ่นกับ Tokyo Olympics 1ก.ค.64
ได้ใจแฟนการ์ตูนญี่ปุ่นทั่วโลก เมื่อมีประกาศพิธีเปิดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกกรุงโตเกียวปี 2020 ซึ่งเลื่อนจากปีกลาย จะมีบรรดาตัวการ์ตูนที่มีชื่อเรียก anime characters ออกมาร่วมขบวนแห่ รวมทั้งปรากฏภาพบนอัฒจรรย์ บนท้องฟ้า และบนสื่อออนไลน์ โดยเฉพาะภาพนักกีฬาชาติต่าง ๆ ในชุดอนิเมะ ซึ่งมีไทยรวมอยู่ด้วย ไปดูกันเลยที่เวบไซต์
(www.demilked.com/countries-as-anime-characters-tokyo-olympics-2020/ )
โดยไทยอยู่ลำดับ 22 การเอาตัว การ์ตูนญี่ปุ่นเข้าไปสร้างสีสันให้การแข่ง
เป็นความแปลกใหม่ที่แฝงความอัจฉริยะและโอกาสทางธุรกิจ โดยคณะกรรมการจัดการแข่งขัน ซึ่งเพิ่งมีการเปลี่ยนตัวประธานจากยูริโกะ โกกิ นายกเทศมนตรีมหานครโตเกียว
มาเป็นไซโกะ ฮาชิโมโต อดีตนักสเก็ตน้ำแข็งและนักจักรยานโอลิมปิก โดยคณะกรรมการได้ทำเรื่องนี้มาตั้งแต่ปี 2017 หรือ 2560 เป็นเรื่องปกติที่ประเทศหรือนครที่จัดโอลิมปิกจะประชาสัมพันธ์การแข่งขันล่วงหน้า
(https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/d/d4/Hashimoto_Seiko_%282019%29.jpg)
โดยเฉพาะครั้งนี้ที่เดิมกำหนดจะจัดปี 2020 แต่เลื่อนมาปีนี้เพราะการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 การประชาสัมพันธ์ทำหลากหลายรูปแบบ แล้วแต่ความถนัดและความคล่องตัวของเจ้าภาพ ซึ่งญี่ปุ่นที่คนไม่น้อยคาดคิดก่อนแล้วจะเอาตัวการ์ตูนอนิเมะมาเป็นตัวชูโรง
ทำเพื่อให้คณะกรรมการจัดการแข่งขันนำไปผลิตเป็นสินค้าหารายได้ คือทำเหมือนกันทุกประเทศที่เคยเป็นเจ้าภาพ ต่างกันตรงบนชิ้นสินค้าแทนจะมีป้ายบอกสถานที่และปีแข่ง ของญี่ปุ่นกลับมีตัวการ์ตูน
(https://kotaku.com/fans-unhappy-that-iconic-anime-characters-being-used-fo-1847191789)
ดูภาพจะเห็นมีตัวดัง ๆ ครบ ทั้งเซเลอร์ มูน สุดยอดขวัญใจ แอสโตร บอย เจ้าหนูปรมาณู และนารูโตะ ตัวเอกในซีรีส์หลายเรื่อง เอาไปทำเป็นสินค้าของที่ระลึก
เพราะหลายปีแล้วที่การ์ตูนญี่ปุ่นมีคนทั่วโลกอ่าน คือถ้าจะย้อนหลังตั้งแต่ทศวรรษ 60 มีการอ่านกว่า 60 ปีแล้ว ยังไม่พูดถึงการดูทางโทรทัศน์ และจอภาพยนตร์ ซึ่งเริ่มไล่เรี่ยกัน
จนทุกวันนี้ญี่ปุ่นมีบริษัทในอุตสาหกรรมอนิเมะกว่า 430 แห่ง การขยายตัวเกิดในทศวรรษ 80 เมื่อการ์ตูนทุกรูปแบบถูกแปลเป็นภาษาต่างประเทศ และถ่ายทอดทุกช่องทาง
ทำให้ขณะนี้รายการภาพยนตร์การ์ตูนญี่ปุ่นมีส่วนแบ่งในการฉายทั่วโลกสูงถึงร้อยละ 60 อย่าลืมประเทศใดจะเจริญ นอกจากทางเศรษฐกิจยังจะต้องเจริญทางวัฒนธรรม
ตัวอย่างเห็นตำตาคือ เกาหลีใต้ ซึ่งทันทีที่ผงาดขึ้นเป็นประเทศเจริญทางเศรษฐกิจ ก็มีหนังเกาหลี เพลงเกาหลี เต้นรำเกาหลี และแฟชั่นเกาหลี ออกมาแพร่หลายทั่วโลก
ซึ่งถ้าพูดถึงแฟชั่นต้องพูดถึงอาหารด้วย โอย ๆ ตอนนี้กิมจิกำลังเป็นของกินที่ได้รับความนิยมทั่วโลก โดยคนชอบรับประทานมีทุกเพศทุกวัยทุกระดับชั้น ยังไม่พูดถึงเนื้อย่างปลาย่างที่ร้อนแรงไม่แพ้กัน
(https://www.kitchensanctuary.com/korean-fried-chicken/#)
อยากแนะนำผู้อ่านให้สนใจโตเกียว โอลิมปิกครั้งใหม่กันมาก ๆ สนใจพร้อมกันทั้งครอบครัว
เพราะมีหลายแง่มุมที่ชี้ให้เห็นความเยี่ยมยอดของประเทศอาทิตย์อุทัย อย่างการได้เป็นเจ้าภาพที่ครั้งนี้เป็นครั้งที่สอง จากครั้งแรกปี 1964 หรือ 57 ปีก่อน โดยครั้งนั้นจัดที่กรุงโตเกียวเหมือนครั้งนี้
และญี่ปุ่นยินดีเป็นเจ้าภาพเพื่อประกาศให้โลกรู้ตัวเองฟื้นแล้วจากการแพ้สงคราม การแพ้ที่เต็มไปด้วยความย่ำแย่สะบักสะบอม
แต่ยังสามารถลุกขึ้นเดินหน้าถึงขั้นเป็นประเทศมหาอำนาจเศรษฐกิจใหม่ในเวลาเพียง 19 ปี ใช่ ๆ แล้วญี่ปุ่นใช้เวลาเพียงเท่านี้ในการฟื้นตัว ซึ่งรวมทั้งการก้าวข้ามพิษภัยระเบิดปรมาณ
และตราบจนทุกวันนี้ญี่ปุ่นยังเป็นเพียงประเทศเดียวในโลกที่โดนระเบิดสุดร้าย และโดนไม่ใช่ครั้งเดียว แต่สองครั้ง ภาพซ้ายมือเป็นภาพควันระเบิดที่พรวยพุ่งเหนือนครฮิโรชิมา ส่วนขวามือเหนือนครนากาซากิ
อย่าคิดสหรัฐอเมริกาใจร้าย เพราะถ้าใจร้ายคงทิ้งกรุงโตเกียวจนความเป็นญี่ปุ่นสูญสิ้น การได้เป็นเจ้าภาพโอลิมปิกสองครั้งไม่ใช่เรื่องง่าย เช่นเดียวกับการได้เป็นครั้งแรก
คือก่อนอื่นคณะกรรมการโอลิมปิกจะต้องดูฐานะทางเศรษฐกิจของผู้เสนอตัว จากนั้นดูสภาวะการเมือง
ลึกกว่านั้นคือการดูความเป็นนักกีฬาของประเทศและประชาชน คือประเทศนิยมกีฬาหรือไม่ และประชาชนมีน้ำใจนักกีฬาหรือไม่ น้ำใจนักกีฬาที่เป็นคุณธรรมสูงส่ง และมนุษย์ทุกคนควรมี
นั่นคือ รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย ให้เสียดายเคยมีคนตั้งข้อสังเกตคนไทยไม่มีน้ำใจนักกีฬา คือมองการชนะ การแพ้ และการอภัย เป็นเรื่องโชคชะตา ใครดวงดีคนนั้นมีโอกาสชนะ ดวงไม่ดีไม่มีโอกาส
ไม่ได้มองเหมือนนักกีฬาแท้จริงมอง นั่นคือ ถ้าแพ้ต้องรีบกลับไปทบทวนสาเหตุ หาจนพบ และฝึกฝนจนจุดอ่อนหาย ส่วนถ้าชนะควรทบทวนเช่นกัน และปรับจุดแข็งที่พบให้แข็งกว่าเดิม
ส่วนการให้อภัยต้องยอมรับชาวตะวันตกมีการให้อภัยจนแทบจะเป็นนิสัย ดูจากคำ excuse me กับ I’m sorry ที่มักได้ยินบ่อยในประเทศตะวันตก ไม่ว่าประเทศไหนและเวลาใด
(https://www.huffpost.com/entry/biggest-apology-mistakes_n_5b575e3ce4b0de86f4910f69)
คืออะไรสำคัญหรือไม่สำคัญ ถ้าเจ้าตัวรู้มีความผิดพลาด เขาจะขอโทษทันที ไม่ใช่กลบเกลื่อนหรือบ่ายเบี่ยง อย่างที่คนหลายประเทศชอบทำ ซึ่งพอกล่าวคำเช่นนั้นคนที่ถูกกระทำจะตอบทันที
ตอบว่า never mind ไม่เป็นไร หรือไม่ก็ I accept your apology ผมหรือดิฉันขอรับคำขอโทษของคุณ เป็นอย่างไรน้ำใจนักกีฬาของคนตะวันตก
ที่ได้รับการปลูกฝังให้เป็นนักกีฬาตั้งแต่เด็ก คือกีฬาเป็นวิธีหนึ่งที่ประเทศตะวันตกใช้สร้างคน ทำมาช้านาน ได้ผลหรือไม่ดูความเจริญได้
(https://www.canr.msu.edu/news/good_sportsmanship_is_important_in_youth_development_part_1)
ยังจะเขียนเรื่องโอลิมปิกกรุงโตเกียวอีกหลายตอน อย่างตอนหน้าที่จะบอกให้ทราบ เมื่อมวยไทยได้รับการบรรจุให้เป็นกีฬาโอลิมปิกแล้ว เราควรทนุถนอมและรังสรรค์มวยไทยอย่างไร
(https://en.wikipedia.org/wiki/Muay_Thai#/media/File:Muay_Thai_Fight_Us_Vs_Burma_(80668065).jpeg)
รวยกันถ้วนหน้า เมื่อมวยไทยเป็นรายการแข่งโอลิมปิก โดยจะเริ่มในการแข่งโอลิมปิกครั้งหน้าปี 2024 หรืออีกสามปี ที่กรุงปารีส คาดกันแล้ว ครั้งนี้ที่นครหลวงฝรั่งเศสจะเป็นโอลิมปิกครั้งยิ่งใหญ่ที่สุด