“นักวิจัยท่องเที่ยว” พบ รัฐมนตรี อว. ชู นโยบายท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ บนฐานทุนทางวัฒนธรรม ติดเทรนด์อันดับโลก
“นักวิจัยท่องเที่ยว” พบ รัฐมนตรี อว. ชู นโยบายท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ บนฐานทุนทางวัฒนธรรม ติดเทรนด์อันดับโลก
เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2564 ที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) คณะผู้บริหารสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) และ หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) นำคณะนักวิจัยด้านการท่องเที่ยว นำเสนอผลงานวิจัย ภายใต้แนวคิด “ท่องเที่ยวไทย บนฐานทรัพยากรธรรมชาติและทุนวัฒนธรรม ให้เกิดความยั่งยืน” จากการสนับสนุนทุนวิจัยของกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กองทุนส่งเสริม ววน.) แก่ ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยมี รศ.ดร.ปัทมาวดี โพชนุกูล ผู้อำนวยการ สกสว. รศ.ดร.พงศ์พันธ์ แก้วตาทิพย์ รองผู้อำนวยการ สกสว. ผศ.สุภาวดี โพธิยะราช ประธานคณะทำงานหน่วยบูรณาการเชิงประเด็นยุทธศาสตร์ ววน. ด้านท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ และผู้เชี่ยวชาญระดับสูง สกสว. ดร.เอก จินดาพล ผู้อำนวยการกลุ่มภารกิจการพัฒนา ววน. ด้านความสามารถในการแข่งขัน สกสว. พร้อมด้วย รศ.ดร.สิรี ชัยเสรี ผู้อำนวยการ บพข. และ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการท่องเที่ยว ร่วมรับฟังและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
โอกาสนี้ ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ กล่าวชื่นชมการวิจัยด้านการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ทั้ง 3 ประเด็น ที่นำเสนอในวันนี้ คือ
1. การรับมือของภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวจากการแพร่ระบาดไวรัส COVID-19 พร้อมกับการพัฒนานวัตกรรมด้านการท่องเที่ยว ที่ประกอบไปด้วยโครงการย่อย การพัฒนาศูนย์ข้อมูลดิจิทัล เพื่อการท่องเที่ยวและบริการของประเทศไทย การพัฒนาองค์กรอาสาสมัครการท่องเที่ยวไทยเพื่อความยั่งยืน โดย นายมงคล วิมลรัตน์ ผู้ช่วยปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาและ การยกระดับการท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงสร้างสรรค์สู่ตลาดนักท่องเที่ยวคุณภาพเพื่อรองรับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงภายหลังภาวะวิกฤต โดย ดร.นราวดี บัวขวัญ รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
- การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ: สปาล้านนา / Global Healthcare Accreditation (GHA) WellHotel / Global Biorisk Advisory Council (GBAC STAR) โดย ศาสตราจารย์ ดร.วิภาดา คุณาวิกติกุล ผู้ช่วยอธิการบดี สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ และ 3. การยกระดับความสามารถการแข่งขัน/พลิกฟื้นเศรษฐกิจการท่องเที่ยวบนฐานทุนทางวัฒนธรรม ประกอบด้วย การพัฒนาพื้นที่สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) เพื่อการท่องเที่ยวบนฐานทุนทางวัฒนธรรมในเขตเมือง โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ธิป ศรีสกุลไชยรัก สถาบันอาศรมศิลป์`และการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอาหาร Gastronomy Village โดย รองศาสตราจารย์ ดร.พรรณี สวนเพลง มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
แต่ทำอย่างไรจะให้ประเทศที่เคยติดอันดับเป็นประเทศมหาอำนาจทางการท่องเที่ยว และเป็นรองแค่อเมริกา สเปน และ ฝรั่งเศส มีนักท่องเที่ยวจำนวนมากจากทั่วโลกปักหมุดหมายมาท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง เพราะประเทศไทยมีประวัติศาสตร์อันยาวนานที่สามารถนำเรื่องราวมาสื่อสารเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยว และสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับการท่องเที่ยวและผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ สถานที่ท่องเที่ยวของประเทศไทยก็มีความหลากหลาย และกระจายอยู่ในทุกจังหวัด ยกตัวอย่าง อำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่หลายคนอาจจะเคยได้ยินชื่อ และมีความสงสัยในชื่อนั้นว่าหมายถึงอะไร แต่ก็มีน้อยคนที่จะรู้ว่า อำเภอผักไห่มีวัดที่สวยงาม แฝงไปด้วยเรื่องราวที่น่าศึกษา เช่น เรื่องโรงฝิ่นและโรงน้ำชาที่มีมากที่สุด ** ** . . นอกจากเรื่องประวัติศาสตร์แล้ว ประเทศไทยยังมีความหลากหลายทางชีวภาพซึ่งเป็นต้นทุนที่สำคัญ ทั้งในเรื่องการท่องเที่ยวเชิงอาหารและสุขภาพ ดังนั้นเพื่อเป็นการยกระดับการท่องเที่ยว ได้มอบหมายให้ สกสว. และ บพข.ดำเนินการขับเคลื่อนและสนับสนุนการวิจัยในประเด็นนี้ ให้การท่องเที่ยวไทยบนฐานทรัพยากรธรรมชาติและทุนวัฒนธรรมนั้น เกิดความยั่งยืน ตามแนวนโยบายเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy: BCG Economy) ทั้งจากการศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่น และ ความหลากหลายทางชีวภาพ . . ด้าน รศ.ดร.พงศ์พันธ์ แก้วตาทิพย์ รองผู้อำนวยการ สกสว. กล่าวว่า สกสว. เป็นองค์กรที่มีบทบาทหน้าที่ในการจัดทำแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ที่สอดคล้องยุทธศาสตร์ชาติและนโยบายของประเทศ ซึ่งมิติด้านการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์เป็นโจทย์หนึ่งที่ถูกกำหนดไว้ในแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม อาทิ โปรแกรม 10 ยกระดับความสามารถการแข่งขันและวางรากฐานเศรษฐกิจ ที่กำหนดผลสัมฤทธิ์ในปี 2565 ให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจที่เกิดจากเศรษฐกิจ BCG (เกษตร อาหาร การแพทย์สุขภาพ การท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ พลังงานและวัสดุชีวภาพ) ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 25 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ โปรแกรมที่ 13 เรื่อง นวัตกรรมสำหรับเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนนวัตกรรม ที่กำหนดผลสัมฤทธิ์ในปี 2565 เกิดนวัตกรรมชุมชน เพื่อยกระดับรายได้ให้กับชุมชน 1,000 นวัตกรรม และ มีจำนวน Smart Community / ชุมชนนวัตกรรม ที่มีความสามารถในการพัฒนาพึ่งพาตนเองและจัดการตนเองมากขึ้น 3,000 ชุมชน สอดคล้องกับการขับเคลื่อนให้ประเทศไทยเป็นจุดหมายปลายทางของการท่องเที่ยวทั่วโลก . . . ที่สำคัญ สกสว. พร้อมดำเนินการส่งเสริม สนับสนุนองค์ความรู้ ผลงานวิจัยและพัฒนาจากระบบการวิจัยและนวัตกรรมของประเทศ ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และสหวิทยาการ เพื่อการจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว เพื่อให้เกิดการพัฒนาประเทศอย่างสมดุลและยั่งยืน รวมถึงแนวนโยบายของท่านรัฐมนตรี อว. ที่อยากให้ศาสตร์การท่องเที่ยวของไทยมีความเป็นเลิศ และมีความเชี่ยวชาญ เป็น Expert เช่นเดียวกับศาสตร์ท่องเที่ยวของทางตะวันตก ให้มรดกทางวัฒนธรรมของไทยถูกส่งออกไปให้ทั่วโลกได้เรียนรู้