นักวิจัยมทร.อีสาน โชว์ “ผลงานผลิตสารเติมแต่งเพื่อลด PM2.5 จากเครื่องยนต์ดีเซล” แก้ปัญหาใกล้ตัวงานวันนักประดิษฐ์ 2567
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ(วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ร่วมกับ หน่วยงานภาครัฐภาคเอกชน สถาบันการศึกษา และองค์กรด้านการวิจัยและการประดิษฐ์คิดค้นนานาชาติ จัดงาน “วันนักประดิษฐ์ 2567” ยิ่งใหญ่ โชว์สิ่งประดิษฐ์ของไทยและนานาชาติ ระหว่างวันที่ 1-6 กุมภาพันธ์ ณ ประชันผลงานประดิษฐ์คิดค้นมากกว่า 1,500 ผลงาน พร้อมกิจกรรมแสดงผลงานและให้ความรู้มากมาย ทั้งเวทีใหญ่ เวทีย่อย ผลงานที่น่าสนใจและจะมาช่วยแก้ปัญหาที่ใกล้ตัวมากๆในปัจจุบัน ได้แก่ “ผลงานผลิตสารเติมแต่งเพื่อลด PM2.5 จากเครื่องยนต์ดีเซล” ผลงานทีมวิจัย นำโดย รศ.ดร.อาทิตย์ อัศวสุขี คณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ สาขาเคมีประยุกต์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน นครราชสีมา
รศ.ดร.อาทิตย์ อัศวสุขี คณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ สาขาเคมีประยุกต์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน นครราชสีมา เปิดเผยว่า รถยนต์เครื่องยนต์ดีเซลเก่าที่ไม่ได้มาตรฐานไอเสียยูโร 5 ซึ่งประมาณการว่ามีจำนวนสูงถึง 11 ล้านคันทั่วประเทศไทย เป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญของปัญหา PM2.5 จากภาคการจราจร แนวทางหนึ่งของการแก้ไขปัญหา PM2.5 จาก แหล่งกำเนิดรถยนต์เครื่องยนต์ดีเซล คือ การเติมสารเติมแต่งเชื้อเพลิงที่มีออกซิเจนเป็นส่วนประกอบเพื่อเพิ่ม ประสิทธิภาพการเผาไหม้ของเครื่องยนต์ ในงานวิจัยนี้สนใจการเตรียมสารเติมแต่งเชื้อเพลิงที่มีออกซิเจนเป็น ส่วนประกอบชนิดกลีเซอรอล บิวทิล อะเซทัล (Glycerol butyl acetal; GBA) ซึ่งสามารถเตรียมได้จากบิวทิรัลดีไฮด์ (Butyraldehyde) กับ กลีเซอรอล (Glycerol) ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์พลอยได้ (By-product) จากการผลิตน้ำมันไบโอดีเซล ซึ่งประมาณการว่ามีกลีเซอรอลเป็นวัสดุพลอยได้จากการผลิตประมาณ 8 แสนลิตรต่อวัน
https://vt.tiktok.com/ZSFNLnVuL/
ทั้งนี้นวัตกรรมการเร่งปฏิกิริยาสีเขียวถูกพัฒนาขึ้นเพื่อผลิต GBA สำหรับใช้เป็นสารเติมแต่งในน้ำมัน ดีเซลเพื่อลด PM2.5 โดยตัวเร่งปฏิกิริยาที่เลือกใช้จะถูกเตรียมจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร แล้วนำมาผ่านขั้นตอนคาร์บอไนเซชัน และซัลโฟเนชัน เมื่อนำไปทดสอบการเร่งปฏิกิริยาการผลิต GBA พบว่ามีประสิทธิภาพในการเร่งปฏิกิริยาสูง
โดย GBA ที่เตรียมได้เมื่อนำมาผสมกับน้ำมัน 87 แล้วไปทดสอบตาม มอก.3019-2563 พบว่ามีประสิทธิภาพการลดสารมลพิษอนุภาค (Particulate pollutants (mg/km)) ประมาณ 17 เปอร์เซ็นต์ และลดปริมาณสารมลพิษ (Particulate pollutants (mg/km) ประมาณ 17 เปอร์เซ็นต์ และลดปริมาณสารมลพิษอนุภาค (Particulate numbers (#/km)9.8 เปอร์เซ็นต์ หากมีการนำ GBA ไปเติมแต่งในน้ำมันดีเซล จะช่วยลด PM2.5 จำนวนมากกว่า 2,142 ตันต่อปี