สกว.หนุนวิจัยพัฒนาอุตฯ
ฝ่าวิกฤติเศรษฐกิจโลกซบ
สกว. จัดประชุมเรื่อง “อนาคตภาคอุตสาหกรรมไทย: เผชิญความท้าทาย สู่การขยายตัวอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน” เพื่อทำความเข้าใจความท้าทายหลักๆของภาคอุตสาหกรรมไทยและนำเสนอข้อมูลและข้อเสนอแนะเชิงนโยบายจากงานวิจัย ระบุแม้ไทยเป็นเบอร์1ของโลก แต่กำลังสูญเสียความสามารถแข่งขันอย่างรุนแรง แนะการผลิตมุ่งใช้เครื่องจักรมากขึ้น เน้นวิจัยพัฒนา ปฎิรูปกฎหมายคู่การยกระดับการผลิต การลงทุน Solf Infrastructure โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของศูนย์ทดสอบ
เมื่อเร็วๆนี้ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย หรือ สกว. จัดประชุมเวที สกว. (TRF Forum) เรื่อง “อนาคตภาคอุตสาหกรรมไทย: เผชิญความท้าทายสู่การขยายตัวอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน” โดยการอภิปรายแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างนักวิจัยและผู้เข้าร่วมประชุม เพื่อนำเสนอข้อมูลข้อค้นพบและข้อเสนอแนะเชิงนโยบายที่ได้จากงานวิจัยในประเด็นต่างๆที่เกี่ยวข้องกับความท้าทายของภาคอุตสาหกรรมไทย
โอกาสนี้ ศ.นพ.สุทธิพันธ์ จิตพิมลมาศ ผู้อำนวยการ สกว. และคณะผู้แทนจากหน่วยงานต่างๆ รวมทั้ง รศ.ดร.อาชนัน เกาะไพบูลย์ และ ผศ.ดร.จุฑาทิพย์ จงวนิชย์ อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ ในฐานะผู้ประสานงานชุดโครงการ “ความท้าทายของภาคอุตสาหกรรมไทย” ภายใต้ การสนับสนุนของ สกว.
ผู้อำนวยการ สกว. กล่าวเปิดการประชุมว่า ที่ผ่านมา สกว.ได้ขับเคลื่อนงานวิจัย ด้านอุตสาหกรรมจำนวนมาก ซึ่งในแต่ละปีจะมีผู้ขอทุนวิจัยในหัวข้อต่างๆ อาทิ การพัฒนาอุตสาหกรรมไทย ความท้าทายในการแข้งขันทั้งในระดับภูมิภาค ปัญหาเรื่องแรงงาน อนาคตของอุตสาหกรรมไทย และเรื่องการบริหารจัดการกับมาตรการกีดกันทางการค้าในรูปแบบใหม่ ฯลฯ ด้วยเหตุนี้ ชุดโครงการวิจัย “ความท้าทายของภาคอุตสาหกรรมไทย” จึงถูกพัฒนาขึ้น เพื่อทำความเข้าใจประเด็นความท้าทายหลักๆของภาคอุตสาหกรรมไทย และสร้างข้อเสนอแนะเชิงนโยบายที่เน้นให้เกิดการขยายตัวอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนของภาคอุตสาหกรรมไทย
พร้อมกันนี้ ผู้อำนวยการ สกว. กล่าวถึงความสำคัญในการพัฒนาด้านอุตสาหกรรมว่า ปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ หรือ เอกชน หลายหน่วยงานทั้งในและต่างประเทศ ต่างให้ความสำคัญกับการพัฒนาอุสาหกรรมและการส่งออก อย่างกรณีบริษัทยักษ์ใหญ่ส่งออกปลากระป๋อง เลือกประเทศไทยและนักวิจัยไทยให้เป็นศูนย์การวิจัย เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องด้วยงบประมาณมากถึง 300-400 ล้านบาท รองรับการเติบโตอุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร
จากนั้น ผศ.ดร.จุฑาทิพย์ จงวนิชย์ นำเสนอผลการศึกษา ระยะที่ 1 ว่า ในอดีตภาคอุตสาหกรรมเป็นกลจักรในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยอย่างมีประสิทธิภาพและทำให้ผลการดำเนินงานทางเศรษฐกิจของไทย ช่วงปี 2513-2539 เป็นกรณีตัวอย่างที่ธนาคารโลกหยิบยกมาเชิญชวนประเทศอื่นๆให้เดินรอยตาม แต่วันนี้อุตสาหกรรมไทยกำลังสูญเสียความสามารถในการแข่งขันอย่างรุ่นแรง และกลยุทธ์การพัฒนาที่ผ่านมาไม่น่าจะไปสู่การพัฒนาที่ยังยืน เกิดจากการเปลี่ยนแปลง ในเรื่องของความสามารถในการส่งออกของภาคอุตสาหกรรมไทยที่ผ่านมายังคงทำได้ในระที่น่าพอใจ และการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการผลิต Composition changes ทำให้ภาคการผลิตพึ่งพาตลาดโลกเพิ่มมากขึ้น
ซึ่งการพึ่งพาตลาดหลักอย่างสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรปที่สูง ได้เปลี่ยนรูปแบบมาพึ่งพาผ่าน Production Network โดยการผลิตมุ่งไปใช้เครื่องจักรมากขึ้น Capital Intensive ไม่ใช้พึ่งพาแรงงานราคาถูกอย่างเดียวตามที่มีความเชื่อกัน แต่การทดแทนคนด้วยเครื่องมือมีความแตกต่างกันแต่ละอุตสาหกรรม ถึงอย่างไรแล้วอุตสาหกรรมไทยยังคงครองความเป็นอันดับ 1 ในตลาดโลก เช่น กุ้งแปรรูป ปลาทูน่ากระป๋อง
ขณะที่ รศ.ดร.อาชนัน เกาะไพบูลย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ประเทศไทยมีแนวโน้มพึ่งพาเศรษฐกิจโลกเพิ่มขึ้นเพราะแม้ในภาพรวมเอ็กโออาร์จะลดลง ซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงขององค์ประกอบภายในของภาคอุตสาหกรรม ไม่ใช่เป็นผลจากการที่ภาคอุตสาหกรรมหันมาพึ่งตลาดภายในเพิ่มขึ้น ดังนั้นความท้าทายประการแรก คือเราจะบริหารจัดการอย่างไรในสภาวะที่เศรษฐกิจโลกอึมครึมอยู่ในปัจจุบัน เราควรที่จะใช้เวลาที่เศรษฐกิจโลกชะลอตัวหันมาปรับปรุงยกระดับความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมอย่างจริงจัง โดยการปฎิรูปทางด้านกฎหมาย ควบคู่ไปกับการยกระดับการผลิต คือ การลงทุน Solf Infrastructure โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของศูนย์ทดสอบ ซึ่งกระจายอยู่ตามหน่วยงานของรัฐหรือสถาบันต่างๆ และยังไม่มีการจดทะเบียนรับรองให้เป็นห้องทดสอบมาตรฐาน
นอกจากนี้ ผู้ประสานงานชุดโครงการ ได้กล่าวถึงท่าทีนโยบายเรื่องการค้าเสรี (FTA) ว่า ก่อนหน้านี้รัฐบาลเร่งทำข้อตกลงการค้าเสรีเป็นอย่างมาก โดยหวังว่าเมื่อลงนามแล้วจะช่วยกระตุ่นการค้าการลงทุนระหว่างประเทศ ซึ่งผลของการกระตุ้นการค้าและการลงทุนขั้นพื้นฐาน
เพราะตามแนวคิดเรื่องกฎว่าด้วยอุปสงค์ คือ เมื่อราคาสินค้าไทยถูกลงเมื่อเทียบกับประเทศคู่แข่ง ที่ไม่ได้ลงนามการค้าเสรี ไทยก็จะสามารถขายสินค้าได้มากขึ้น ซึ่งก็จะดึงดูดสินค้าอื่นๆตามมา และทั้งหมดนี้เป็นสิ่งที่รัฐบาลควรเร่งดำเนินการโดยด่วน เพราะหากช้าไปกว่านี้ก็อาจตกขบวนดังกรณี TPP ก็เป็นได้
ภาพประกอบจาก –http://www.communityseafoodinitiative.com/และtaxclinic.mof.go.th