วช.ดันงานวิจัยสิ่งประดิษฐ์ไทย
คว้ารางวัลจากเวทีนานาชาติ
สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) จัดแถลงความสำเร็จ “การนำผลงานวิจัยและสิ่งประดิษฐ์ไทยร่วมประกวดและจัดแสดงนิทรรศการในเวทีนานาชาติ 2 งานในมาเลเซียและอีก 1 งานในสวิตเซอร์แลนด์ โดยมี พลอากาศเอกประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานและมอบประกาศนียบัตร เพื่อเป็นการเชิดชูเกียรติให้กับนักวิจัยและนักประดิษฐ์ที่สร้างชื่อเสียงให้แก่ประเทศชาติ เป็นผลงานตั้งแต่ระดับนักเรียนประถมศึกษาไปจนถึงระดับนักศึกษามหาวิทยาลัยและนักวิจัยนักประดิษฐ์หน่วยงานภาครัฐและเอกชน
นางสาวสุกัญญา ธีระกูรณ์เลิศ เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ได้ส่งเสริมและสนับสนุนนักวิจัยและนักประดิษฐ์ไทยในการนำ ผลงานที่มีคุณภาพและมีศักยภาพเข้าร่วมแสดงนิทรรศการและประกวดผลงานในเวทีระดับนานาชาติ ซึ่งในช่วงที่ผ่านมาวช.ได้นำนักวิจัยและนักประดิษฐ์ไทยไปคว้ารางวัลเกียรติยศจากหลายประเทศหลายเวทีและล่าสุดได้ไปสร้างชื่อเสียงใน 2 ประเทศ ได้แก่ ประเทศมาเลเซีย และประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ดังนี้
1. ในงาน “The International Engineering Invention Exhibition 2016”(I-ENVEX 2016) จัดขึ้นระหว่างวันที่ 8-10 เมษายน 2559 ณ รัฐเปอร์ลิส ประเทศมาเลเซีย โดยการสนับสนุนจาก Universiti Malaysia Perlis (UniMAP) และ ENVEX Young Researcher Club (EYReC) UniMAP, MINDS Chapter ซึ่งทาง วช. ได้ส่งเสริมและสนับสนุนการนำผลงานที่มีคุณภาพของนักวิจัยและนักประดิษฐ์ไทยเข้าร่วมประกวด จำนวน 3 ผลงาน จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย ขณะที่มีผลงานเข้าร่วมประกวดและจัดแสดงในงานมากกว่า 550 ผลงานจาก 20 ประเทศ
ผลปรากฎว่า ผลงานของนักวิจัยและนักประดิษฐ์ไทยคว้ารางวัลมารวม 10 รางวัล โดยได้รับรางวัลเหรียญทอง จำนวน 1 ผลงาน รางวัลเหรียญเงิน จำนวน 2 ผลงาน และรางวัลพิเศษ Special Prize จากประเทศต่างๆ จำนวน 7 รางวัล จาก 3 ประเทศ แบ่งออกเป็นรางวัลพิเศษ Special Prize ที่ได้รับบนเวที (On Stage) จำนวน 1 รางวัล ได้แก่ Malaysian Research & Innovation Society (MyRIS) จำนวน 1 รางวัล และ รางวัลพิเศษ Special Prize จากต่างประเทศๆ จำนวน 6 รางวัล ได้แก่ ประเทศมาเลเซียจำนวน 3 ผลงาน ประเทศไต้หวัน 2 ผลงาน และประเทศอินโดนีเซีย 1 ผลงาน
2. งาน “44 International Exhibition of Inventions of Geneva” ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 13-17 เมษายน 2559 ณ กรุงเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส โดยการสนับสนุนจาก รัฐบาลสวิสฯ และองค์การทรัพย์สินทางปัญญาแห่งโลกหรือ WIPO (The Swiss Federal Government of the State, the City of Geneva and of the World Intellectual Property Organization) วช. ได้ร่วมกับหน่วยงานเครือข่ายพันธมิตรในการนำเสนอผลงานเข้าร่วมนำเสนอ โดยมีผลงานจำนวน 50 ผลงาน จาก 18องค์กร/หน่วยงาน ประกอบด้วย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าลาดกระบัง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) และสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา โดยที่ภายในงานมีประเทศต่างๆ นำผลงานเข้าร่วมจำนวนมากกว่า 700 ผลงาน จาก 40 ประเทศ
ผลปรากฎว่า ผลงานของนักวิจัยและนักประดิษฐ์ไทยได้รับรางวัลเหรียญทองเกียรติยศ จำนวน 7 รางวัล รางวัลเหรียญทอง จำนวน 8 รางวัล รางวัลเหรียญเงิน จำนวน 17 รางวัล รางวัลเหรียญทองแดง จำนวน 18 รางวัล และรางวัลพิเศษ (Special Prize) จากประเทศต่างๆ จำนวน 28 รางวัล โดยแบ่งออกเป็น รางวัลพิเศษ Special Prize ที่ได้รับบนเวที (On Stage) จำนวน 3 รางวัล ได้แก่ รางวัล The Ministry of Science and Technology of Russia จากสหพันธรัฐรัสเซีย จำนวน 1 รางวัล รางวัล Korea Invention Promotion Association (KIPA) จากสาธารณรัฐเกาหลี จำนวน 1 รางวัล รางวัล Taiwan Invention Association จากประเทศไต้หวัน จำนวน 1 รางวัล และรางวัลพิเศษ (Special Prize) จากประเทศต่างๆ จำนวน 25 รางวัล ได้แก่ ประเทศมาเลเซีย จำนวน 4 ผลงาน ประเทศไต้หวัน จำนวน 2 ผลงาน ประเทศเกาหลี จำนวน 4 ผลงาน ประเทศฮ่องกง จำนวน 2 ผลงาน ประเทศรัสเซีย จำนวน 2 ผลงาน ประเทศอิหร่าน จำนวน 3 ผลงาน ประเทศโปแลนด์ จำนวน 3 ผลงาน ประเทศจีน จำนวน 3 ผลงาน ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ จำนวน 2 ผลงาน
3. งาน “27 International Invention & Innovation Exhibition” (ITEX 2016) ในระหว่างวันที่ 12 – 14 พฤษภาคม 2559 ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย โดยมีผลงานเข้าร่วมประกวดและจัดแสดงกว่า 1,000 ผลงาน ทั้งนี้ มีหน่วยงานระดับประเทศและนานาชาติ เข้าร่วมประมาณ 21 ประเทศ และ วช. ได้ส่งเสริมและสนับสนุนการนำผลงานที่มีคุณภาพของนักวิจัยและนักประดิษฐ์ไทยเข้าร่วมประกวดจำนวน 35 ผลงาน 16 องค์กร/ผลงาน ประกอบด้วย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย สถาบันนวัตกรรม ทีโอที (บริษัท ทีโอที (จำกัด) มหาชน) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ร่วมกับ บริษัท อริยะสุทธิ อินเตอร์เทรด จำกัด
ผลปรากฎว่า ผลงานของนักวิจัยและนักประดิษฐ์ไทยได้รับ รางวัลเหรียญทอง จำนวน 21 รางวัล รางวัลเหรียญเงิน จำนวน 11 รางวัล รางวัลเหรียญทองแดง จำนวน 3 รางวัล และรางวัลพิเศษ (Special Prize) จากประเทศต่างๆ จำนวน 27 รางวัล ได้แก่ ประเทศไต้หวัน จำนวน 10 ผลงาน ประเทศโปแลนด์ จำนวน 2 รางวัล ประเทศอินโดนีเซีย จำนวน 3 รางวัล ประเทศรัสเซีย จำนวน 2 รางวัล ประเทศเกาหลีใต้ จำนวน 2 รางวัล ประเทศซาอุดิอาระเบีย จำนวน 4 รางวัล
และ รางวัลพิเศษ Special Prize ที่ได้รับบนเวที (On Stage) จำนวน 4 รางวัล ได้แก่ The Association of European Inventors (AEI) สมาคมนักประดิษฐ์ แห่งสหภาพยุโรป จำนวน 1 ผลงาน Association of Polish Inventors and Retionalizers (API&R) ประเทศโปแลนด์ จำนวน 1 ผลงาน Association “Russian House for International Scientific and Technological Cooperation” (Association “RH ISTC”)
ประเทศรัสเซีย จำนวน 1 ผลงาน และ Japan Intellectual Property Association (JIPA) ประเทศญี่ปุ่น