วัยโจ๋วิศวดนตรีฯ สจล.ลุยญี่ปุ่น
“แดนดนตรี-เทคโนโลยี” โลก
โลกของการศึกษาในศตวรรษที่ 21 เยาวชนคนรุ่นใหม่จะต้องพัฒนาทักษะความรู้ ความสามารถในด้านต่างๆ ให้ก้าวทันกับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีบนโลกใบนี้ การฝึกประสบการณ์หรือการศึกษาดูงานในสังคมต่างภาษา ต่างวัฒนธรรม นับเป็นอีกโอกาสของการเรียนรู้ พัฒนาตัวเองและเสริมสร้างความเป็นผู้นำตลอดจนนำองค์ความรู้ที่เก็บเกี่ยวจากการศึกษาดูงานมาพัฒนาสังคมและประเทศชาติต่อไป สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้ าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) เล็งเห็นความสำคัญดังกล่าว หนุนนักศึกษาตะลุยแดนอาทิตย์อุทัย
ผศ.ดร.พิทักษ์ ธรรมวาริน ผู้ช่วยอธิการบดี และประธานหลักสูตรวิศวกรรมดนตรี และสื่อประสม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) เปิดเผยว่า ในโอกาส 130 ปี ความสัมพันธ์ไทย-ญี่ปุ่น คณะวิศวลาดกระบัง พานักศึกษาเดินทางไปศึกษาดูงานด้านวิศวกรรมดนตรีที่ญี่ปุ่น ซึ่งเป็นประเทศที่ก้าวล้ำด้านดนตรีและเทคโนโลยีของโลก เรียนรู้การทำงานของคนต่างภาษาและวัฒนธรรม นักศึกษาไทยไปศึกษาดูงานบริษัท ยามาฮ่ามิวสิค คอร์เปอร์เรชั่น ซึ่งเป็นศูนย์ผลิตเครื่องดนตรี และดนตรีศึกษาที่ใหญ่ที่สุดในโลกด้วยการสนับสนุนจากสยามดนตรี ยามาฮ่า เยี่ยมชมสถาบันวิจัยสุดล้ำของสถานีโทรทัศน์และวิทยุ NHK ที่มีชื่อเสียงของ
ที่สถานีโทรทัศน์ และวิทยุ NHK
“ทีมเราได้นำภาพเก่าๆของผู้เชี่ยวชาญญี่ปุ่นจากสถานีโทรทัศน์ และวิทยุ NHK ที่เคยเดินทางมาอยู่ที่เมืองไทยเป็นปีๆ เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านโทรคมนาคมให้คนไทยเมื่อครั้งเริ่มก่อตั้ง สจล.เมื่อ 55 ปีก่อน พวกเขาประทับใจมากในความสัมพั นธ์ของคนไทย-ญี่ปุ่นที่อยู่เคียงข้างกันตลอดมา นอกจากนี้นักศึกษายังไปเยี่ยมชมและแสดงดนตรีร่วมกับภาควิชาดนตรี มหาวิทยาลัยโตไกนักศึกษาไทยและนักศึกษาญี่ปุ่นได้ แลกเปลี่ยนเรียนรู้และทำกิ จกรรมทางดนตรีร่วมกันด้วย
พีรณัช ราชชา หรือ น้องกล้า นักศึกษาชั้นปีที่ 2 สาขาวิศวกรรมดนตรีและสื่อประสม คณะวิศวกรรมศาสตร์สถาบั นเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุ ณทหารลาดกระบัง (สจล.) กล่าวว่า ตื่นเต้นครับที่ได้มีโอกาสศึ กษาดูงานที่ดนตรียามาฮ่า (YAMAHA) ที่ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นผู้ผลิตเครื่องดนตรี และร.ร.ดนตรีศึกษาที่มีเครือข่ายใหญ่ที่สุดของโลก มีประวัติความเป็นมากว่า 130 ปี ตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นความสามารถทางศาสตร์และศิลป์ของชาวญี่ปุ่นที่สามารถผลิตเครื่องดนตรีสากลมาตรฐานสูง เป็นที่ยอมรับของคนทั่วโลก กระบวนการผลิตเครื่องดนตรีจะต้องใช้ความประณีตมาก มีทั้งใช้หุ่นยนต์เครื่องจักรและแรงงานคน เราได้สัมผัสการทำงานขององค์กรญี่ปุ่นที่มีสปิริตของทีมเวิ ร์ค ระบบการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องดนตรีแต่ละชิ้นก่อนที่จะมี การส่งออกจำหน่าย เขาก็จะใส่ใจในรายละเอียดเสมอ ตลอดระยะเวลาที่ศึกษาดูงานที่ประเทศญี่ปุ่นทุกอย่างต้องเรียนรู้ด้วยตัวเองและอาศัยเทคโนโลยีจากโทรศัพท์มือถือช่ วยในการเดินทาง
ณวัสน์ ภู่พันธ์ชสีห์ หรือ น้องภณ นักศึกษาชั้นปีที่ 2 สาขาวิศวกรรมดนตรีและสื่อประสม คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้ าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) กล่าวว่า สิ่งประดิษฐ์จากภูมิปัญญาของมนุษย์ที่น่าทึ่งที่สุด คือ เครื่องดนตรี ยิ่งได้ลองมาดูขั้นตอนในการผลิตที่มนุษย์เราได้สร้างชิ้นเล็กชิ้นน้อยมาประกอบเป็นเครื่องดนตรี จากเหล็กแผ่นหนึ่งมาเป็นแซกโซโฟน บางส่วนต้องใช้คนเท่านั้น เช่น รอยต่อของแซ็กโซโฟน ต้องพิถีพิถันอย่างมากและจะมี การทดสอบการสั่นสะเทือนของเครื่ องดนตรีว่าสามารถรับแรงได้ มากแค่ไหน ทดสอบความคงทนของแซกโซโฟนสามารถ กดแป้นคีย์ได้กี่ครั้ง ผมประทับใจในความตรงต่อเวลาของคนญี่ปุ่น และมีการจัดการที่ดี เช่น การจัดการขยะ เขาจะเก็บขยะกลับไปทิ้งที่บ้านของตนเองเสมอ ขยะบางประเภทก็นำมารีไซเคิล นอกจากนี้มหาวิทยาลัยโตไก ยังแสดงความขอบคุณต่อคนไทย จากการที่ประเทศญี่ปุ่นประสบภัยพิบัติแผ่นดินไหวมีนักศึกษาของมหาวิทยาลัยโตไกเสียชีวิต 3 คน เป็นที่เศร้าสลดใจมาก ทางวิศวกรรมดนตรีฯ สจล.และวงดนตรีนูโว ได้ร่วมกันจัดคอนเสิร์ตชื่อ Relief for Japan ที่สจล.เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา เราถือโอกาสนี้นำเงินรายได้ จากคอนเสิร์ตไปมอบแก่มหาวิทยาลัยโตไกเพื่อนำไปช่วยผู้ประสบภัยด้วย ผมเห็นคนญี่ปุ่นหลายคนถึงกับน้ำ ตาซึม
นศ.ไทย-ญี่ปุ่นผลัดกันโชว์
สมประสงค์ เป้ามีพันธ์ หรือ น้องเป้า นักศึกษาชั้นปีที่ 2 สาขาวิศวกรรมดนตรีและสื่อประสม คณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล. กล่าวว่า เป็นประสบการณ์ที่มีคุณค่ ามากครับ ได้ไปศึกษาดูงานสถานีโทรทัศน์ และวิทยุ NHK ที่มีชื่อเสียงที่ สุดของญี่ปุ่น เขาเปิดOpen House แสดงนิทรรศการ วิวัฒนาการของ NHK และเป็ นการเปิดตัวเทคโนโลยีที่คิดค้ นพัฒนาขึ้นมาใหม่ เช่น การออกอากาศทีวีระบบ 4K 6K และ8K ที่มีความคมชัดสูง ซึ่งจะใช้ในการแข่งขันโอลิมปิค หรือการนำเอาเทคโนโลยีสุดล้ำ มาทำให้เป็นปลาเสมือนจริง เราสัมผัสได้ถึงความลื่น ความมัน เหมือนได้สัมผัสกับตัวปลาจริงๆ ระบบเสียงเซอร์ราวด์ 22 ชาแนล ทำให้เสียงมีความละเอียดเป็ นธรรมชาติ ฟังวงออเคสต้าได้เต็มวง โรงภาพยนตร์ในอนาคตจะเป็นระบบนี้ ส่วนการปฏิบัติงานของสถานีโทรทัศน์และวิทยุ NHK แสดงให้เห็นว่า เขาไม่ได้มุ่งเน้นแค่การผลิ ตและออกอากาศเท่านั้น แต่เขายังมุ่งมองอนาคต พัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ ให้คนในวันนี้ได้ใกล้ชิดกั บเทคโนโลยีอนาคตด้วย ผมชื่นชอบการใช้ชีวิตของคนในญี่ ปุ่นที่เรียบง่าย บ้านเมืองสะอาดน่าอยู่ ได้พบเจอนวัตกรรมสิ่งแปลกใหม่
อัจฉราพรรณ เคลิ้มวิลัย หรือน้องมุก นักศึกษาชั้นปีที่ 2 สาขาวิศวกรรมดนตรีและสื่อประสม คณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล.กล่าวว่า ประทับใจกับห้องแล็บภาพ 3D ของมหาวิทยาลัยโตไก ที่ชินาคาว่าแคมปัส มีการจำลองภาพเสมือนจริงขึ้นมา ทำให้เรารู้สึกว่าเหมือนอยู่ ในเหตุการณ์จริงๆ ในโอกาสนี้พวกเราได้นำข้ าวหอมมะลิของไทยจากจังหวัดสุริ นทร์นำไปเป็นที่ระลึกแก่ชาวญี่ ปุ่นด้วยค่ะ อย่างน้อยเราได้มีโอกาสประชาสั มพันธ์ข้าวไทยให้กับคนญี่ปุ่นด้ วย ตอนไปดูงานที่ศูนย์ศิลปวั ฒนธรรม ซึ่งรวบรวมประวัติการก่อตั้งของมหาวิทยาลัยโตไก ได้เห็นถึงความยากลำบากของคนญี่ ปุ่นรุ่นก่อนๆ ได้เห็นวิถีการดำเนินชีวิตของนั กศึกษาในต่างแดน และฝึกงานในห้องทดลองทางด้านดนตรี ทดลองอัดเสียงดนตรี มีห้องควบคุมระบบเสียงต่างๆ และการเก็บรักษาเครื่องดนตรี ถึงแม้ว่าประเทศญี่ปุ่นมี เทคโนโลยีก้าวหน้ามาก แต่ก็ยังอนุรักษ์วัตถุโบราณต่างๆที่ถูกค้นพบในท้องถิ่นญี่ปุ่นเอง นักศึกษาจากประเทศไทยได้แลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกับนักศึกษาญี่ปุ่น ด้วยการแสดงโชว์และเล่นดนตรีด้ วยกันสนุกสนานมากและเต็มไปด้ วยมิตรภาพที่อบอุ่นของสองสถาบัน