พาณิชย์ชูยุทธศาสตร์ดันไทย
ผู้นำตลาดเกษตรอินทรีย์อาเซียน
กระทรวงพาณิชย์ เปิดการประชุม Organic Symposium 2017 ในงาน Organic & Natural Expo 2017 ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 28-30 กรกฎาคม 2560 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ชูยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนไทยสู่ผู้นำตลาดออร์แกนิคในอาเซียน ทั้งสร้างการรับรู้ของผู้เกี่ยวข้องตลอด ห่วงโซ่อุปทาน, ผลักดันมาตรฐานและระบบการรับรองเกษตรอินทรีย์ , พัฒนาและขยายตลาดสินค้าและ บริการอินทรีย์ และพัฒนาสร้างมูลค่าสินค้าและบริการอินทรีย์ สอดรับยุทธศาสตร์การพัฒนาเกษตรอินทรีย์แห่งชาติที่ตั้งเป้าเพิ่มพื้นที่เกษตรอินทรีย์เป็น 600,000 ไร่ ในปี 2564 และมีเกษตรกรทำเกษตรอินทรีย์ไม่น้อยกว่า 30,000 ราย พร้อมเดินหน้าถกความร่วมมือ CLMVT ปีที่2 สู่การจัดตั้งสมาพันธ์เกษตรอินทรีย์อาเซียน
นางพิมพาพรรณ ชาญศิลป์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ประธานเปิดงานสัมมนาวิชาการ Organic Symposium 2017 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของงาน Organic & Natural Expo 2017 งานแสดงสินค้าและ จำหน่ายสินค้าเกษตรอินทรีย์และธรรมชาติใหญ่ที่สุดในภูมิภาคอาเซียน ได้กล่าวปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ “ยุทธศาสตร์สินค้าเกษตรอินทรีย์ ของไทยและแนวทางการขับเคลื่อน” ว่า กระทรวงพาณิชย์มียุทธศาสตร์การพัฒนาเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ พ.ศ. 2560-2564 ซึ่งเป็นแผนยุทธศาสตร์ฉบับที่ 2 โดยมีวิสัยทัศน์ให้ประเทศไทยเป็นผู้นำในระดับภูมิภาคด้านการผลิต การบริโภค การค้าสินค้า และการบริการเกษตรอินทรีย์ที่มี ความยั่งยืนและเป็นที่ยอมรับในระดับสากล
โดยมีเป้าหมายที่จะเพิ่มพื้นที่เกษตรอินทรีย์ให้เป็น 600,000 ไร่ ในปีพ.ศ. 2564 จากปัจจุบันมีอยู่ประมาณ 200,000 ไร่ และมีเกษตรกรที่ทำเกษตรอินทรีย์ไม่น้อยกว่า 30,000 ราย รวมทั้งเพิ่มสัดส่วนตลาดในประเทศ ต่อตลาดส่งออกเป็น 40:60 และที่สำคัญคือ การมุ่งที่จะ ยกระดับกลุ่มเกษตรอินทรีย์วิถีพื้นบ้านเพิ่มขึ้น ซึ่งนับเป็น แผนยุทธศาสตร์ที่มีเป้าหมายให้เกิดการขยายเกษตร อินทรีย์กว่าเท่าตัวในอีก 5 ปีข้างหน้า
“รัฐบาลได้ตระหนักถึงความสำคัญของเกษตรอินทรีย์ เนื่องจากเป็นกระบวนการผลิตที่ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมและ ระบบนิเวศโดยรวม และมีความปลอดภัยต่อผู้ผลิตและผู้บริโภค โดยคำนึงถึงหลักการสำคัญของการผลิตเกษตร อินทรีย์ 4 ด้านที่ทางสหพันธ์เกษตรอินทรีย์นานาชาติ หรือ International Federation of Organic Agriculture Movement (IFOAM) ได้กำหนดไว้ ได้แก่ ด้านสุขภาพ ด้านนิเวศวิทยา ด้านความเป็นธรรมระหว่างผู้ผลิต ผู้ค้า และผู้บริโภค และด้านการดูแลเอาใจในเรื่องการบริหารจัดการ นอกจากนี้ยังยึดหลักหลักการพัฒนาที่ยั่งยืนและ หลักเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9”
ทั้งนี้ ยุทธศาสตร์การพัฒนาเกษตรอินทรีย์แห่งชาติฉบับปัจจุบันจึงได้วางยุทธศาสตร์หลัก 4 ด้าน ประกอบด้วย(1) ส่งเสริมการวิจัย การสร้างและเผยแพร่องค์ความรู้และนวัตกรรมเกษตรอินทรีย์ (2) พัฒนาการผลิตสินค้าและ บริการเกษตรอินทรีย์ (3) พัฒนาการตลาดสินค้าและบริการ และการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ และ (4) การขับเคลื่อนเกษตรอินทรีย์
“ยุทธศาสตร์ทั้ง 4 ข้อนี้ยังสอดรับกับนโยบายการพัฒนาประเทศไทยไปสู่ “ประเทศไทย 4.0” หรือ “Thailand 4.0” ซึ่งเป็นการปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจไปสู่ “เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม โดยมีองค์ประกอบสำคัญ คือ การเปลี่ยนจากการผลิตสินค้า “โภคภัณฑ์” ไปสู่สินค้าเชิง “นวัตกรรม” , เปลี่ยนจากการขับเคลื่อนประเทศด้วยภาคอุตสาหกรรมไปสู่การขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี ความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรม และเปลี่ยนจากการเน้นภาคการผลิตสินค้าไปสู่การเน้นภาคบริการมากขึ้น
รัฐบาลระบุ 5 กลุ่มเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมเป้าหมาย ที่ไทยสามารถต่อยอดได้ด้วยวิทยาการ ความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรม และการวิจัยและพัฒนา โดย 2 ใน 5 กลุ่มนั้น ได้แก่ กลุ่มอาหาร เกษตร และเทคโนโลยีชีวภาพ และกลุ่มสาธารณสุข สุขภาพ และเทคโนโลยีทางการแพทย์ เป็น 2 กลุ่มที่มีความสัมพันธ์โดยตรงกับศักยภาพและขีดความสามารถของเกษตรอินทรีย์ไทยที่จะได้ต่อยอดและพัฒนาต่อไปให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลกตามนโยบาย “Thailand 4.0”
ทั้งนี้กระทรวงพาณิชย์โดยกรมการค้าภายใน มุ่งให้เกิดการบูรณาการและขับเคลื่อนยุทธศาสตร์เกษตรอินทรีย์แห่งชาติ เพื่อให้สินค้าอินทรีย์ของไทยได้พัฒนารูปแบบและเชื่อมโยงสู่ตลาด สินค้าเกษตรอินทรีย์ในสากลมากขึ้น โดยมีเป้าหมายสำคัญให้ “ไทยเป็นผู้นำด้านการผลิต การค้า และการบริโภค สินค้าอินทรีย์ในภูมิภาคอาเซียน” และมีวัตถุประสงค์สำคัญ คือ เพื่อให้ผู้บริโภคเกิดความตระหนักรู้และหันมาบริโภคสินค้าอินทรีย์เพิ่มขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้เกษตรกรหันมาให้ความสนใจทำเกษตรอินทรีย์มากขึ้น มูลค่าตลาดสินค้าอินทรีย์เพิ่มสูงขึ้น เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น และในที่สุดชุมชนก็จะมีความยั่งยืน และเศรษฐกิจของประเทศขยายตัวในภาพรวมสามารถขยายตัวได้ อย่างมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน
กระทรวงพาณิชย์ โดยกรมการค้าภายในจึงกำหนดยุทธศาตร์ด้านการตลาดสินค้า เกษตรอินทรีย์ พ.ศ. 2560-2564 โดยมี 4 ยุทธศาสตร์สำคัญ ประกอบด้วย (1) สร้างการรับรู้ของผู้เกี่ยวข้องตลอด ห่วงโซ่อุปทาน (2) ผลักดันมาตรฐานและระบบการรับรองเกษตรอินทรีย์ (3) พัฒนาและขยายตลาดสินค้าและ บริการอินทรีย์ และ (4) พัฒนาสร้างมูลค่าสินค้าและบริการอินทรีย์
นางพิมพาพรรณกล่าวว่า ยุทธศาสตร์ทั้ง 4 ข้อนี้ ล้วนแต่ตอบสนองแนวโน้มการบริโภคสินค้าอินทรีย์ที่เพิ่มขึ้น ในตลาดโลก ศักยภาพการขยายตลาดสินค้าอินทรีย์ของไทยในตลาดโลก สอดรับกับหลักการสำคัญและแนวคิด ของ “Thailand 4.0” และแสดงถึงความมุ่งมั่นและความพร้อมของกระทรวงพาณิชย์ในการผลักดันและส่งเสริม การค้าและการตลาดสินค้าอินทรีย์ของไทย ทั้งในการเชื่อมโยงสินค้าจากแหล่งผลิตสู่ผู้บริโภคในตลาดภายใน ประเทศ ตลาดภูมิภาค และตลาดโลก ทั้งยังเล็งเห็นความสำคัญในการส่งเสริมให้เกษตรกรและผู้ประกอบการไทย ตระหนักถึงความต้องการหรืออุปสงค์ของตลาดโลก เพื่อจะได้ผลิตสินค้าอินทรีย์ให้ตรงกับ ความต้องการของตลาด รวมทั้งเปิดรับการประยุกต์ใช้วิทยาการ เทคโนโลยี นวัตกรรมต่างๆ กับสินค้าและบริการ อินทรีย์ของไทยต่อไป
สำหรับแผนดำเนินการของกระทรวงพาณิชย์ในปีพ.ศ. 2560 นี้ ทางกระทรวงพาณิชย์ โดยกรมการค้าภายในได้ ริเริ่มโครงการต่างๆ เพื่อส่งเสริมตลาดสินค้าอินทรีย์ โดยมุ่งเน้นการทำงานเพื่อให้เกิดผลงานที่เป็นรูปธรรมตาม ยุทธศาสตร์ที่วางไว้ เพื่อมุ่งไปสู่เป้าหมายของแผนยุทธศาสตร์ได้อย่างแท้จริง ซึ่งประกอบด้วย
1) แผนงานในประเทศ อาทิ โครงการส่งเสริมการสร้างมูลค่าและพัฒนาผลิตภัณฑ์ โครงการเชื่อมโยงตลาดและ ส่งเสริมพัฒนาต่อยอดสินค้าที่ได้รับการคัดเลือก โครงการ Organic Thailand Innovation Award งาน Organic & Natural Expo 2017 และงานแสดงและจำหน่ายสินค้าอินทรีย์ในภูมิภาค โครงการส่งเสริม ภาพลักษณ์ของสินค้าอินทรีย์ โครงการ Opportunities on Organic farms for CLMVT โครงการพัฒนา ฐานข้อมูลเกษตรอินทรีย์ โครงการส่งเสริมและพัฒนา Organic Village และ Organic Farm Outlet
2) แผนงานต่างประเทศ อาทิ โครงการจัดคณะผู้ประกอบการอินทรีย์ของไทยไปเข้าร่วมงาน BIOFACH งานจัดแสดงสินค้าอินทรีย์นานาชาติที่ใหญ่และมีเครือข่ายกว้างขวางที่สุดในโลก
นอกเหนือจากนี้แล้วงานนี้ยังมีการบูรณาการผู้เกี่ยวข้องสำคัญเพื่อเชื่อมโยงให้ภาคเอกชนจากสมาคมเกษตรอินทรีย์ของประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคอาเซียน ในกลุ่ม CLMVT เข้าร่วมหารือถึงความเป็นไปได้ในการจัดตั้ง “สมาพันธ์เกษตรอินทรีย์อาเซียน” ขึ้น โดยจะมีการอภิปรายถึงโอกาส อุปสรรคและแนวทางความร่วมมือกันในภูมิภาคเกี่ยวกับการพัฒนาสินค้าอินทรีย์อย่างบูรณาการต่อไป
ทั้งนี้การหารือดังกล่าวเป็นปีที่ 2 โดยเริ่มขึ้นในปี 2559 เพราะแต่ละประเทศมีศักยภาพ จึงมาหาแนวทางร่วมกันว่า ทำอย่างไรจึงจะทำให้สินค้าเกษตรอินทรีย์ของแต่ละประเทศสามารถเข้าถึงกันและกันได้ ต่อไปจะขยายพูดคุยกันครบทุกประเทศ