Smart City ขอนแก่น สร้างโอกาส
ก้าวสู่ไทยแลนด์ 4.0 มุ่งGlobal City
หลังจากมีการผลักดัน “ภูเก็ต” และ “เชียงใหม่” สู่สมาร์ทซิตี้ก้าวหน้าอย่างเป็นรูปธรรมแล้ว สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA) ยังคงเดินหน้าลุยงาน Smart City อย่างต่อเนื่อง โดย “จังหวัดขอนแก่น” เป็นเป้าหมายที่ต้องถูกพลิกโฉมสู่สมาร์ทซิตี้เช่นกัน ซึ่งมีการดำเนินการอย่างเป็นขั้นตอนและเป็นรูปธรรม ปัจจุบันทางจังหวัดได้รวมตัวกันทั้งภาครัฐและภาคเอกชนเพื่อจัดทำแผนพัฒนา Smart City ระดับจังหวัดและมีการพัฒนาคืบหน้าไปบ้างแล้ว โดยเฉพาะ ด้าน Smart Mobility ซึ่งเป็น 1 ใน 6 หมวดของการพัฒนา ที่ประกอบด้วย Smart Mobility, Smart Living, Smart Citizen, Smart Economy, Smart Environment และSmart Governance และกำลังเดินหน้าสู่การพัฒนา Smart Living เพื่อนำเอาเทคโนโลยีดิจิทัลสนับสนุนช่วยเหลือทางการแพทย์และสาธารณสุข เพื่อประชาชนสะดวกและมีสุขภาพดีและเข้าถึงการรักษาได้อย่างทั่วถึง
นายมีธรรม ณ ระนอง ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงานส่ งเสริมเศรษฐกิจดิจิท้ล กล่าวว่า จังหวัดขอนแก่นและสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือdepa เป็น Center ในการวางแนวทางดำเนินงาน Medical Hub หรือ Road map ด้าน Health Care & Medical โดยเฉพาะ เนื่องจากเป็นประเด็นสำคัญในการดูแลสุขภาพของประชาชนของประเทศ โดยอยากให้มีการวางInfrastructure เพื่อรองรับ Big Dataและเชื่อมโยงข้อมูลทางการแพทย์ ในทุกมิติ ไปสู่ Data Analytic ให้เข้ากับการใช้บริการของประชาชนในทุกระดับ สะดวกทั้งแพทย์ สะดวกทั้งประชาชน depa จึงได้ประสานความร่วมมือกับ จังหวัดขอนแก่น โรงพยาบาลขอนแก่น โรงพยาบาลศรีนครินทร์ และเทศบาลนครขอนแก่น เพื่อประชุมหารือความต้องการด้านการแพทย์และภาพรวมสภาพปัญหาที่ เกิดขึ้นในแต่ละที่
ทั้งนี้เบื้องต้น โรงพยาบาลขอนแก่นได้เตรียมความพร้อมที่จะปรับเปลี่ยนการให้บริการทางการแพทย์ฉุกเฉินให้มีความทันสมัยยิ่งขึ้น โดยได้หารือกับdepa และ Start Up ที่จะเข้ามาช่วยพัฒนา Smart Ambulance ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และเชื่อมโยงไปสู่การพัฒนาระบบไฟจราจรอัจฉริยะของจังหวัด ทำให้แพทย์จะสามารถช่วยชีวิตได้ระหว่างขนย้ายผู้ป่วยบนรถพยาบาล ส่งผลให้ลดอัตราการเสียชีวิตของผู้ช่วยฉุกเฉินขณะเดินทางได้ ซึ่งเดิมยังไม่มีระบบนี้ช่วยเหลือ
ในที่ประชุมทีมแพทย์และ depa ยังได้วางแผนการพัฒนา Smart Health Care & Medical Hub ทั้งระบบ เริ่มตั้งแต่การดูแลสุขภาพก่อนป่วย ให้มีสุขภาพที่ดี และป่วยน้อยลง, วางแผนการพัฒนาระบบบริหารจัดการระหว่างเข้าพบแพทย์และระหว่างป่วย, และระบบบริหารจัดการชีวิตหลังป่วย ซึ่งเป็นภาพใหญ่ที่ต้องวาง Road Map ทั้งระบบ เพื่อให้สามารถติดต่อและเชื่อมโยงกันได้อย่างเป็นระบบ
“ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกโรงพยาบาลในพื้นที่ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการใช้ระบบ รวมไปถึงร้านขายยา และประชาชนทั่วไป ซึ่งระบบดังกล่าวจะมีStart Up เข้ามาช่วยพัฒนาระบบดังกล่าวให้ สำเร็จเป็นลูกโซ่ร้อยเรียงกัน โดยอาศัยมาตรการการส่งเสริมจากdepa และที่สำคัญจะต้องมีการวางInfrastructure เพื่อรองรับ Big Dataก่อนเป็นอันดับแรก เพื่อสร้างเป็นเส้นทางให้ข้อมูลวิ่งและเชื่อมโยงกันได้อย่างคล่องตัว
โดยเบื้องต้นมีเป้าหมายที่ จะเริ่มทำ Big data ด้าน Smart Health Care & Medical Hub ก่อนจึงไปเชื่อมโยงข้อมูลกับ Smart City ในด้านอื่น ๆ ทั้ง 6 ด้านให้ครบวงจร ประกอบด้วย Smart Mobility, Smart Living, Smart Citizen, Smart Economy, Smart Environmentและ Smart Governance และเพื่อเตรียมความพร้อมให้มี การเชื่อมโยงข้อมูลอย่างเป็ นระบบได้ทั้งประเทศ เพื่อนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ ในการวิเคราะห์และสนับสนุนการตัดสินใจในการบริหารประเทศให้เกิดความมั่งคั่งและยั่งยืนในระดับสากลต่อไป
depa จะสนับสนุนผ่านกองทุน เช่น กองทุนอินเตอร์เนชั่นแนลไซเซชัน กองทุนสตาร์ทอัพ ซึ่งเป็นลักษณะการลงเงินทุนร่วมกันในทุกมาตรการ สำหรับโครงการ Smart City ก็เช่นเดียวกัน เราจะส่งเสริมผ่านมาตรการต่างๆ เพื่อให้ผู้ประกอบการทั้งฝั่งดิจิทัลและผู้ประกอบการที่เป็นผู้ใช้ได้มีตัวช่วยในการต่อยอดผลงานนวัตกรรมและการนำไปใช้ ให้เมืองกลายเป็นเมืองอัจฉริยะตามนโยบายไทยแลนด์ 4.0
ด้านนายสมศักดิ์ จังตระกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น กล่าวว่า “Khon Kaen Smart City” มีโครงสร้างการพัฒนาที่โดดเด่นในลักษณะการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริงของจังหวัด ท้องถิ่น เอกชน ประชาสังคม และได้รับการสนับสนุนจากหลายกระทรวง ทำให้ขอนแก่นสามารถขับเคลื่อนจังหวัดไปสู่รูปแบบSmart City เพื่อมุ่งสู่ Global City ได้อย่างเป็นรูปธรรม โดยได้รับการอนุมัติแผนพัฒนา Smart City (Phase 1) จาก คสช. ให้จัดตั้งบริษัทของ 5 เทศบาลแห่งแรกจากกระทรวงมหาดไทย ซึ่งทำให้เกิดความคล่องตัวในการทำงานพัฒนาของจังหวัดและท้องถิ่น ดำเนินการประชารัฐอย่างเข้มข้น และมีนโยบายเปิดกว้างให้กับนักลงทุน นำเสนอเทคโนโลยีทุกๆ ด้านที่คิดว่าเหมาะสมกับบริบทของเมืองขอนแก่น
ล่าสุดมีหลายสถานทูตติดต่อเข้ามาพูดคุยเกี่ยวกับการลงทุนในจังหวัดขอนแก่นเพื่อตอบโจทย์ ให้เมืองมีความ Smart City ทั้ง 6ด้าน เช่น สถานทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทย, สถานทูตสเดนมาร์กประจำประเทศไทย , สถานทูตอังกฤษประจำประเทศไทย, สถานทูตไทยประจำประเทศอิสราเอล และสถานทูตไต้หวันประจำประเทศไทย เป็นต้น
ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น กล่าวต่อว่า จังหวัดขอนแก่นวางเป้าหมายและพยายามให้เห็นถึงการพัฒนาเมืองให้เป็นเมืองSmart City อย่างแท้จริง ไม่ว่าจะเป็นศูนย์กลางทางการลงทุน นึกถึงขอนแก่นให้ถึงเมืองแห่งการลุงทุน ซึ่งบริบทอื่นๆ ก็มีการสนับสนุนสอดรับซึ่งกันและกันได้ เช่น มาขอนแก่นมาลงทุน มาประชุมก็มาเที่ยวได้ สามารถท่องเที่ยวขอนแก่นได้ด้วยโลกดิจิทัลเพราะภูมิศาสตร์ ของจังหวัดมีสถานที่ท่องเที่ยวน้อยกว่าจังหวัดอื่นที่ภูมิศาสตร์เอื้ออำนวยต่อการท่องเที่ยวเป็นหลักแต่เราสร้างเมืองท่องเที่ยวได้ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล
นอกจากนั้นเมืองขอนแก่นยังมีระบบขนส่งสาธารณะที่ดีและปลอดภัย เป็นศูนย์กลางด้านการขนส่ง ซึ่งอีกไม่นานจะมีขยายท่าเรือบกมายังจังหวัดขอนแก่น บริบทเหล่านี้สามารถนำมาพัฒนาต่อยอดให้เข้ากับ Smart City ของเมืองขอนแก่นทั้ง 6 ด้านได้อย่างลงตัว ด้วยอาศัยความร่วมมือทั้งภาครัฐบาล หน่วยงานรัฐและเอกชนในพื้นที่ รวมไปถึงภาคประชาชนในทุกๆ ชนชั้นที่จะเข้ามาช่วยกันพั ฒนาและช่วยให้ระบบที่เราพัฒนาให้เมืองเป็นเมืองแห่งความสุขและปลอดภัยอย่างมีมูลค่าได้ในอนาคต
ฝ่ายรศ.นพ.ชลธีป พงศ์สกุล รองคณบดีฝ่ายสารสนเทศ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่า “Khon Kaen Smart City” มีการนำเทคโนโลยี Internet of Thingsหรือ IoT มาใช้กับสายรัดข้อมือเพื่อตรวจวัดความดัน ตรวจวัดชีพจร ซึ่งผู้ที่สวมใส่หากเกิดอาการความดันสูง-ต่ำ สายรัดข้อมือจะส่งสัญญาณไปที่โรงพยาบาล รถฉุกเฉินก็จะวิ่งไปรับได้ทันเวลาเพื่อรักษาพยาบาลตามขั้นตอนทางการแพทย์ต่อไปได้
หรือการคัดเลือกครัวเรือนในชุมชนเขตเทศบาลนครขอนแก่นในการทดลองนำร่องติดตั้งอุปกรณ์ เพื่อเป็นSmart Home สำหรับอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียง และอุปกรณ์ที่จะติดตั้งจะมีกล้ อง CCTVที่สามารถดูอาการหกล้ม เพื่อวางแผนในการดูแลรักษาผู้ป่ วย หรือการติดตั้งCensor/IoT เพื่อควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ ต่าง ๆ ภายในบ้านเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ป่วย จากการอาศัยเครื่องมือในการจัดเก็บวิธีใช้ชีวิตและวิธีการดู แลสุขภาพจะสามารถนำไปสู่การวิเคราะห์โรคภัยไข้เจ็บได้ในอนาคตข้างหน้า ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะนำมาสู่ การการแจ้งเตือนเพื่อป้องกันเพื่ อไม่ให้เกิดโรคนั้นๆ ได้ในรายบุคคล ซึ่งหากทำได้จริงโดยภาพรวมจะสามารถทำให้ ประชาชนเจ็บป่วยน้อยลง ลดค่าใช้จ่ายในการรั กษาโรคในรายบุคคลได้จริง และยังสามารถลดค่าใช้จ่ ายในการรักษาพยาบาลได้ ในภาพรวมของประเทศได้อีกด้วย
สุดท้ายนพ.รัฐระวี พัฒนรัตนโมฬี นายแพทย์ชำนาญการพิเศษและรองผู้ อำนวยการศูนย์อุบัติเหตุและวิ กฤตบำบัด รพ.ขอนแก่น กล่าวถึง แนวทางพัฒนาSmart Ambulance และศูนย์สั่งการทางการแพทย์ฉุกเฉินด้วยดิจิทัล เพื่อสนับสนุนการพัฒนา Smart Health Care & Medical Hub ว่า ปัจจุบันเรามีปัญหาและอุปสรรค โดยปัญหาหนึ่งคือ การที่ผู้ป่วยไม่สามารถเข้าถึงการรักษาได้ อย่างทันท่วงที เนื่องจากขณะเกินเหตุฉุกเฉินมี ทั้งปัญหาประชาชนไม่ สามารถบอกสถานที่ตั้งของตนเองได้อย่างชัดเจน ปัญหาผู้ป่วยอยู่คนเดียวเป็นลมหมดสติ ปัญหาโรงพยาบาลมีจำนวนแพทย์ผู้ ชำนาญการน้อยและแทพยท์ผู้ ชำนาญส่วนใหญ่กระจุกตัวอยู่ ในโรงพยาบาลใหญ่ รวมทั้งปัญหาขาดการสื่อสารที่ ไม่มีประสิทธิภาพในระหว่างหาตั วผู้ป่วยและขนย้ายผู้ป่วยฉุกเฉิน
จากปัญหาดังกล่าวระบบดิจิทัลจึงเป็นอีกความหวังหนึ่ งของทางการแพทย์ ที่จะเข้ามามีบทบาทในการช่วยสนั บสนุนและแก้ไขปัญหาข้างต้นให้ คลี่คลายลงได้ ซึ่งปัจจุบันในแต่ละสถานการณ์ที่ เกิดขึ้นในช่วงเวลาวิกฤตขณะที่แพทย์ผู้ชำนาญการมีจำนวนน้อยและกระจายตัวในโรงพยาบาลขนาดใหญ่ ซึ่งไม่เพียงพอต่อการรักษา และเจ้าหน้าที่พยาบาลที่ดูแลผู้ ป่วยบนรถพยาบาลต้องสื่อสารกับแพทย์ผู้ชำนาญผ่านระบบวิทยุสื่อสารโดยรับสารต่อมาจากคนรับรถอีกทอดหนึ่ง ทำให้ได้รับการสื่อสารที่ไม่ชัดเจนแม่นยำ ซึ่งสื่อสารได้แค่เสียง แพทย์ไม่สามารถเห็นสัญญาณชีพและสภาพผู้ป่วย การสั่งการรักษาเป็นไปด้ วยความลำบาก
“เทคโนโลยีดิจิทัลในปัจจุบั นสามารถปิดช่องว่าง จากการปรับปรุงเครื่องมือแพทย์ ให้เชื่อมต่อ Internet of Things หรือ IoT และสามารถส่งสัญญาณชีพผู้ป่ วยมาทาง เครือข่ายอินเทอร์เน็ต นำระบบการสื่อสารด้วยภาพและเสี ยง Video call เพื่อให้แพทย์ได้เห็นสภาพผู้ป่ วยและสั่งการรักษาได้อย่างแม่ นยำ และใช้ GPS Tracking เพื่อคาดการณ์เวลาที่ รถพยาบาลจะมาถึง โดยระบบโครงข่ายการสื่ อสารทางการแพทย์ผ่านทางระบบ Internet (Telemedicine) สามารถเชื่อมต่อทุกโรงพยาบาล เสมือนเป็นโรงพยาบาลเดียวกัน สอดคล้องกับนโยบายการแพทย์ฉุ กเฉินไร้รอยต่อ”