Software Startupsไทยเจ๋ง
โชว์นวัตกรรม ConnecTechAsia
Software Startup ไทย ยกขบวนร่วมโชว์ศักยภาพความเป็นดิจิทัล ไทยแลนด์ในงาน ConnecTechAsia มหกรรมเทคโนโลยี ยิ่งใหญ่ที่สุดในเอเชียระหว่างวันที่ 26 – 28 มิถุนายน 2561 ณประเทศสิงคโปร์ ซึ่งรวมงานแสดงนวัตกรรมและโซลูชั่นล่าสุดของบริษัทชั้นนำทั่วโลก 3 งานใหญ่ไว้ด้วยกัน ได้แก่ งานคอมมิวนิคเอเชีย (CommunicAsia) งานบรอดคาสท์เอเชีย (BroadcastAsia) 2งานที่เปิดพื้นที่ให้แสดงนวัตกรรมความล้ำหน้าภาคการสื่อสารโทรคมนาคมและบรอดคาสท์มีเดียมายาวนานเกือบ 40 ปี และ งานที่3 งานเน็กซ์เอเชีย (NXTAsia) ที่นำเสนอเทคโนโลยีเกิดใหม่และเทคโนโลยีเปลี่ยนโลก (Disruptive technologies) ในยุคดิจิทัลใหม่ ชี้เพิ่มโอกาสStartup ไทยได้แลกเปลี่ยนธุรกิจพาร์ทเนอร์ และโอกาสทางธุรกิจและโอกาสได้ขายผลิตภัณฑ์คาดปีนี้ยอดขายประมาณ 50ล้านบาทและมีนักธุรกิจชั้นนำเข้าชมงาน ConnecTechAsia กว่า 200 ราย
เขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย (ซอฟต์แวร์พาร์ค) พร้อมสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ผนึกพลังจัดตั้ง ศาลาไทย (Thai Pavilion) เปิดเวทีให้ 13 บริษัทผู้ประกอบการด้านพัฒนาแอพพลิเคชั่น ไอที และซอฟต์แวร์สัญชาติไทยได้โชว์เคสนวัตกรรมจากฝีมือการสร้างสรรค์ของคนไทย อาทิ นวัตกรรมโซลูชั่นอินเทอร์เน็ตออฟธิงส์ (ไอโอที) (Internet of Things: IoT) โซลูชั่นบนโทรศัพท์มือถือ (mobile solutions) โซลูชั่นด้าน อีคอมเมิร์ซ (E-Commerce) ซอฟต์แวร์เอ็นเตอร์ไพรซ์ และเทคโนโลยีความเป็นจริงเสมือน (Virtual Reality: VR)
นายเฉลิมพล ตู้จินดา ผู้อำนวยการ เขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย (ซอฟต์แวร์พาร์ค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า ซอฟต์แวร์พาร์ค สวทช. มีภารกิจหลักในการสนับสนุนและเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ไทยในทุกทาง ทั้งด้านบุคลากร การตลาด การลงทุน รวมถึงเทคโนโลยีทันสมัยในการพัฒนาซอฟต์แวร์ที่เป็นประโยชน์ต่อกลุ่มธุรกิจทุกกลุ่มภายในประเทศ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของเศรษฐกิจไทย โดยพัฒนาไปมากกว่า 200 คน
จากเหตุดังกล่าวส่งผลให้ตลาดซอฟต์แวร์ภายในประเทศขยายตัวเพิ่มขึ้น และได้สร้างความมั่นใจให้ผู้ผลิตซอฟต์แวร์จากต่างประเทศเข้ามาลงทุนในประเทศไทย ซึ่งตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ซอฟต์แวร์พาร์คได้สานต่อภารกิจดังกล่าวอย่างต่อเนื่องสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติที่รัฐบาลไทยต้องการขับเคลื่อนประเทศด้วย “เศรษฐกิจดิจิทัล”
นายเฉลิมพลกล่าวต่อว่า สำหรับเทรนด์ตลาด ICT ไทยยังมีการเติบโต โดยเฉพาะตลาดองค์กร หันมาให้ความสนใจเพิ่มขึ้นในเรื่องคลาวด์ ,บิ๊กดาต้า ,IOT ,ลอจิสติกส์ ,การบริหารจัดการแอปพลิเคชั่น และอื่น ๆ ส่วนตลาดคอนซูเมอร์ก็ยังมีการเติบโตทั้งในด้านเครือข่ายสังคมและอุปกรณ์ไร้สาย เหล่าผู้ประกอบการจึงมีการปรับตัว นำบริการใหม่ ๆ ที่ไม่ใช่ด้านวอยซ์ รวมถึงบริการอินเทอร์เน็ตและ IOT
นอกจากส่งเสริมผู้ประกอบการในประเทศแล้ว ยังผลักดันผู้ประกอบการซอฟต์แวร์สู่ตลาดโลกด้วย อย่างในงาน ConnecTechAsia นี้จะพาไป 13 บริษัท แต่ที่ผ่านมา ทางซอฟต์แวร์พาร์คพาผู้ประกอบการไทยไปโชว์เทคโนโลยีมาหลายปีแล้วเพื่อให้มีโอกาสได้พบพาร์ทเนอร์และสามารถขายของได้ ดังในงาน CommumicAsia ดังในปี 2012 พาไป 15 บริษัท สร้างมูลค่าในการจับคู่ธุรกิจมากกว่า 52 ล้านบาท ปี 2013 พุ่งเป็น 80 ล้านก่อนตกลงในปี 2014 ในปี 2016 ที่ผ่านมาประมาณ 50 ล้าน สำหรับปีนี้คาดว่าจะขายผลิตภัณฑ์ได้มูลค่าราว 50 ล้านบาท
Thailand 4.0 – A Way Forward
นายธีรนันท์ ศรีหงส์ ประธานคณะกรรมการกำกับสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า เปิดเผยว่า จะนำเสนอแผนและการริเริ่มการปฏิรูปดิจิทัลของประเทศไทย รวมถึงโอกาสทางธุรกิจ ซึ่งเปิดรับการลงทุนจากต่างประเทศ ภายในงานสัมมนาภายใต้หัวข้อ Thailand Connect โดย จะนำทีมโปรโมทโครงการพัฒนาใหม่ๆ ของประเทศไทย รวมทั้งการจัดตั้งสถาบันไอโอที (IoT Institute) ในเขตระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor: EEC) กำหนดเปิดตัวภายในปีนี้ รวมถึงเผยแพร่นโยบายส่งเสริมและดึงดูดเม็ดเงินลงทุนโดยตรงจากต่างชาติสำหรับธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) และผู้ประกอบการมือใหม่ที่เพิ่งเริ่มทำธุรกิจ (Startups) รวมทั้งโครงการริเริ่มด้านดิจิทัลอื่นๆ ที่อยู่ภายใต้ยุทธศาสตร์ขับเคลื่อน ประเทศไทย 4.0
การส่งเสริมให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่ต้องการโอกาสขยายธุรกิจเข้าสู่ภูมิภาคมากขึ้น เป็นภารกิจสำคัญภายใต้แผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัล 2560 – 2564 ของภาครัฐบาลไทย ที่เพิ่งประกาศไปเมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2561 ที่ผ่านมา โดยมีเป้าหมายหลักเพื่อพัฒนาขีดความสามารถการแข่งขันด้านดิจิทัลในทุกภาคส่วน ทั้งภาคการเกษตร การท่องเที่ยว การศึกษา การแพทย์ การลงทุน การป้องกันภัยพิบัติ และการบริหารรัฐกิจ
นายธีรนันท์ กล่าวว่า “ผมเชื่อว่า กลยุทธ์ดิจิทัลทรานฟอร์เมชั่น จะยั่งยืนและสร้างผลประโยชน์ร่วมให้กับทุกคนในตลาดดิจิทัลทั่วโลก อีกทั้งส่งผลให้ธุรกิจมีการพัฒนาและเติบโตอย่างต่อเนื่องท่ามกลางความท้าทายทางเศรษฐกิจ โดยช่วยลดต้นทุนของภาคธุรกิจ กระตุ้นการลงทุน ส่งเสริมการจ้างงาน และการเพิ่มรายได้”
ผู้นำธุรกิจไทยที่คอนเนคเทคเอเชีย ซัมมิท (ConnecTechAsia Summit)
คาดว่า จะมีนักธุรกิจชั้นนำกว่า 200 คน ตบเท้าเข้าไปอัพเดทเทคโนโลยีใหม่ ๆ ใน ConnecTechAsia Summit ครอบคลุมถึงการพลิกโฉมธุรกิจดิจิทัล โดยเน้นเทรนด์ล่าสุดของอุตสาหกรรมไอซีที (ICT) อุตสาหกรรมการแพร่ภาพและกระจายเสียง และธุรกิจ เอ็นเตอร์ไพรซ์ (Enterprises) เพื่อมุ่งสู่อนาคตดิจิทัล การประชุมสัมมนา ทั้ง 3 วัน ประกอบด้วย 3 หัวข้อหลัก ได้แก่ เน็ตเวิร์คคอม (NetworkComms) บรอดคาสท์มีเดีย (BroadcastMedia) และอีเมอร์จิ้งเทค (EmergingTech)
ConnecTechAsia Summit ยังได้รับเกียรติจากผู้นำอุตสาหกรรมจากประเทศไทย จำนวน 4 ท่าน ขึ้นเวทีให้ข้อมูลและความรู้แก่ผู้เข้าร่วมชมงาน ประกอบด้วย:
- นายปฐมภพ สุวรรณศิริ หัวหน้าคณะผู้บริหาร ด้านการค้า บริษัท ไทยคมจำกัด (มหาชน) ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการพัฒนาการสื่อสารผ่านดาวเทียม วิธีการปรับเปลี่ยนพอร์ตการลงทุนสำหรับการบริการในยุคต่อไปจะมีลักษณะอย่างไร และช่วยลูกค้าองค์กรและผู้บริโภคได้อย่างไร
- นายธรรม์ จิราธิวัฒน์ Head of Consumer Strategy บริษัท เซ็นทรัลกรุ๊ปให้ข้อคิดเกี่ยวกับ 10 ความท้าทายที่สำคัญที่ทำให้บล็อกเชน (Blockchain) และอีเมอร์จิ้งโซลูชั่น (Emerging Solutions) เป็นที่ยอมรับ
- นายอัครเดช (แอนดี้) ดิษยเดช กรรมการผู้จัดการ สมาคมฟินเทคแห่งประเทศไทย เข้าร่วมอภิปรายภายใต้หัวข้อ “Tokenized Economy – แยกข้อเท็จจริงออกจากการโฆษณาได้อย่างไร”
- Geert Warlop Chief Operating Officer บริษัท ทรูมันนี่ อินเตอร์เนชั่นแนล เข้าร่วมอภิปรายเรื่องการตอบสนองความท้าทายที่สำคัญในชีวิตเกี่ยวกับอนาคตของการชำระเงิน ในหัวข้อ “โรดแมพ (Road Map) การชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ในอนาคต -สร้างมูลค่าสูงสุดจากดิจิทัล”
มร. วิคเตอร์ หว่อง ผู้อำนวยการโครงการ บริษัท ยูบีเอ็ม จำกัด (มหาชน) (UBM Plc) ให้ความเห็นเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประเทศไทยในงาน ConnecTechAsia ว่า “เรารู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้รับการสนับสนุนอย่างแข็งขันจากรัฐบาลและผู้ประกอบการของไทยในงาน ConnecTechAsia ขณะที่ดิจิทัลโรดแมพ และวิสัยทัศน์ 4.0 ของประเทศไทย มีความสอดคล้องกับทิศทางของงานนี้ ที่ต้องการเป็นเวทีผนึกพลังทั้งภาคเอกชนและภาครัฐบาลภายใต้ระบบนิเวศของภาคเทเลคอม มีเดียและเทคโนโลยี เพื่อผลักดันการพัฒนาดิจิทัลทรานฟอร์เมชั่นอย่างเป็นแท้จริงในภูมิภาคเอเชีย”
ไฮไลต์งาน CommunicAsia, NXTAsia และ BroadcastAsia
งาน ConnecTechAsia มีผู้ประกอบการนานาชาติเข้าร่วมกว่า 1,700 บริษัท จาก 52 ประเทศ และเขตเศรษฐกิจ เป็นเวทีระดับโลกที่แสดงทั้งอุปกรณ์สำหรับเอ็นเตอร์ไพรส์ ผลิตภัณฑ์นวัตกรรมและบริการ ครอบคลุมทั้งภาค เทเลคอม มีเดีย และเทคโนโลยี จะเน้นด้านเครือข่ายโครงสร้างพื้นฐาน ไฟเบอร์ทูดิเอ็ก (FTTx) การสื่อสารผ่านดาวเทียม รวมถึงซอฟต์แวร์และบริการด้านโทรคมนาคม ซึ่งเป็นเทคโนโลยีล่าสุดที่ช่วยให้องค์กรธุรกิจและรัฐบาลประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียสามารถเตรียมความพร้อมต้อนรับการมาถึงของเทคโนโลยี 5G และรักษาความได้เปรียบในการแข่งขันด้านการสื่อสารและโลกดิจิทัล
สำหรับงาน NXTAsia ผู้เข้าชมงานจะได้พบกับนวัตกรรมล่าสุดและเทคโนโลยีที่ชี้นำแห่งยุค เช่น เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) เทคโนโลยีโลกเสมือนจริง (Augmented and Virtual Reality (AR/VR)) การระวังภัยบนโลกไซเบอร์ (Cyber Security) อินเทอร์เน็ตออฟธิงส์ (ไอโอที) (Internet of Things: IoT) หุ่นยนต์โรบอติกส์ (Robotics) ระบบคลาวด์ (Cloud) และระบบดาต้าต่างๆ
นอกจากนี้ ยังมีการจัดสัมมนาหนึ่งวันเต็ม ในหัวข้อ Big Bang ที่จะมีผู้เชี่ยวชาญและวิทยากรระดับผู้นำจากมหาวิทยาลัยโตเกียว UBTech, Siemens Digital Factory มาอัพเดทเทคโนโลยีเฉพาะด้าน AI, Robotics, Industry 4.0 และอุตสาหกรรมแห่งอนาคตด้วยนวัตกรรมที่ประสานระหว่างเทคโนโลยีกับสังคมมนุษย์
ขณะที่ความนิยมที่เพิ่มมากขึ้นของบริการแบบออนดีมานด์และสตรีมมิ่ง ดังนั้นในงาน BroadcastAsia จะแสดงให้เห็นว่าอุตสาหกรรมการแพร่ภาพและกระจายเสียงแห่งอนาคตจะเป็นอย่างไร ผู้เข้าชมจะได้เรียนรู้ว่าการบริโภคข่าวและความบันเทิงของผู้บริโภคในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา รวมถึงความท้าทายและโอกาสที่สร้างขึ้นสำหรับผู้แพร่ภาพและกระจายเสียงแบบดั้งเดิมกับผู้ใช้บริการโอทีที (OTT)
โดยไฮไลต์ของงานบรอดคาสท์เอเชีย คือ การเปิดตัว อีสปอร์ต อารีน่า สตูดิโอ (Esports Arena Studio) ซึ่งจะเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันชิงแชมป์สุดยอดเกมออนไลน์ (Ultimate Gaming Championship: (UGC)) (Asia Edition) ครั้งแรกของโลก ด้วยความร่วมมือระหว่าง WeOne ผู้จัดการแข่งขัน eSports บนแพลตฟอร์มเทคโนโลยีบล็อกเชน กับ Cresmos ผู้จัดการแข่งขัน eSports ซึ่งผู้เข้าแข่งขัน eSports จะเห็นภาพรวมของเกม ซึ่งจะช่วยให้ทราบว่าเกิดเหตุการณ์อะไรขึ้น ทั้งเบื้องหน้าและเบื้องหลังของการแข่งขัน
นอกจากนี้ ยังมีการถ่ายทอดสดการแข่งขันเกมการ์ด Hearthstone 3 วัน โดย Esports Arena Studio จะเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมการแข่งขันสามารถโต้ตอบกระทบไหล่กับเหล่าคนดังในวงการ eSports ผู้แข่งขัน และ คอมเมนเตเตอร์ อีกทั้งยังได้รับประสบการณ์จากการถ่ายทำรายการแบบเรียลไทม์ เทคนิคด้านกราฟฟิก เสียง การเข้ารหัส ตลอดการถ่ายทอดการแข่งขัน eSports
ด้านนายวุฒินันท์ สังข์อ่อง ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) บริษัท คลาวด์คอมเมิร์ซ หนึ่งใน 13 บริษัทตัวแทนผู้ประกอบการที่เข้าร่วมงานภายใต้พาวิลเลี่ยนประเทศไทย กล่าวว่า “งาน ConnecTechAsia จะช่วยขยายธุรกิจของบริษัทไปสู่ตลาดอาเซียน และภายใต้งานนี้ บริษัทคาดหวังว่าจะได้พบกับนักลงทุนจากทั่วทุกมุมโลก บริษัทมีแผนจะขยายช่องทางการบริการไปยังภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเน้นประเทศเพื่อนบ้านของไทยที่มีศักยภาพด้าน e-commerce เป็นหลัก”
ส่วนผู้ประกอบการรายอื่น ๆ ที่จะไปร่วมโชว์ศักยภาพของบริษัทซอฟต์แวร์ไทยอื่น ๆ รวมถึง Aerial Communications Co., Ltd. , Eighty Root Co., Ltd. และ 4. myHR Corporation Limited