เอปสัน-วี เมานท์ แอนด์ ทริมเสวนา
“อิงค์เจท” นวัตกรรมเปลี่ยนโลก
บริษัท เอปสัน ประเทศไทย ร่วมกับวี บริษัทเมานท์ แอนด์ ทริม จัดเสวนา เปิดความลับของอิงค์เจทเทคโนโลยี นวัตกรรมเปลี่ยนโลก ชูเครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ทพร้อมเทคโนโลยีหัวพิมพ์ Piezo Electronic ของเอปสัน ได้คุณภาพงานพิมพ์ดี มีความแม่นยำ ช่วยประหยัดพลังงานและคงทน ปัจจุบันเอปสันพัฒนาเครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ทที่ใช้งานได้หลากหลายทั้งพิมพ์ภาพ เอกสาร พิมพ์ฉลาก พิมพ์สติกเกอร์ติดรถยนต์ เครื่องพิมพ์ลายผ้า และแม้แต่เครื่องพิมพ์ที่มีความเร็วสูงสุดพิมพ์ได้ 100 แผ่นต่อนาที โดยที่ผ่านมา เอปสันขายเครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ทไปแล้วมากกว่า 20 ล้านเครื่องทั่วโลก
นายปลวัชร นาคะโยธิน ผู้จัดการแผนกเครื่องพิมพ์เชิงอุตสาหกรรมและพาณิชย์ บริษัท เอปสัน (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวถึง การเสวนา เปิดความลับของอิงค์เจทเทคโนโลยี นวัตกรรมเปลี่ยนโลก ณ โรงแรม PALAZZO ว่า ภายในงานมีการเสวนาจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิหลายท่าน เริ่มการเสวนาโดย นายสุรศักดิ์ สำเนียงงาม หัวหน้าฝ่ายขายแผนกเครื่องพิมพ์อุตสาหกรรมและพาณิชน์ บริษัท เอปสัน(ประเทศไทย) จำกัด ในหัวข้อ “การพัฒนาการของอิงค์เจ็ทเทคโนโลยี” , อาจารย์ นพดล อาชาสันติสุข บรรณาธิการ นิตยสาร Camerart บรรยายในหัวข้อ “การเปลี่ยนแปลงของโลกอุตสาหกรรมธุรกิจการพิมพ์รูป”
คุณสมเพ็ชร เจียรมณีทวีสิน กรรมการผู้จัดการ Image Quality LAB บรรยาย “การเปลี่ยนแปลงของโลกอุตสาหกรรมการพิมพ์และงานโฆษณา” และคุณภูษิต ชัยงาม กรรมการผู้จัดการ บริษัท อิมเมจโลโก้ จำกัด เสวนาการเปลี่ยนแปลงของโลกอุตสาหกรรมธุรกิจการพิมพ์ผ้า เพื่อการตัดเย็บ และในช่วงบ่ายมี Workshop งานปริ้นท์คุณภาพ จากเครื่องปริ้นท์ Epson
ด้านนายวรพันธ์ ติยะรัตนาชัย กรรมการผู้จัดการ บริษัท วี เมานท์ แอนด์ ทริม จำกัด กล่าว ขอบคุณวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ ในด้านต่างๆ ที่ให้ความรู้กับผู้ประกอบธุรกิจการถ่ายภาพ เพื่อนำไปต่อยอดในการดำเนินธุรกิจถ่ายภาพและอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการถ่ายภาพจากสถาบันการศึกษาต่างๆ ที่ให้เกียรติมาร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ เพื่อนำไปเผยแพร่ เทคโนโลยีการ ปริ้นท์ภาพ
สำหรับเอปสัน ก่อตั้งมาในปี 1942 เพิ่งฉลองครอบรอบ 75 ปีไปในปีที่ผ่านมา เดิมทำธุรกิจเซมิคอนดักเตอร์และเริ่มต้นทำธุรกิจนาฬิกา โดยมีความมุ่งมั่นสร้างสรรค์เทคโนโลยีใหม่ๆ อยู่เสมอ ในปี 1963 เป็นผู้พัฒนาเครื่องจับเวลาระบบอิเล็กทรอนิกส์เครื่องแรกในประวัติศาสตร์ของกีฬาโอลิมปิก บริษัทแม่ คือ Seiko เป็นผู้ผลิตนาฬิกาควอตซ์ดิจิตอลเป็นเจ้าแรกของโลก มีพนักงานมากกว่า 70,000 คนและมีสำนักงานสาขาอยู่ใน 88 ประเทศทั่วโลก
ขณะเดียวกันเอปสัน ยังทุ่มเทด้านการวิจัยและพัฒนา (R&D)โดยใช้งบประมาณเพื่อการวิจัยเฉลี่ยที่ 1.48 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อวัน
ในปี 1968 เอปสันเปิดตัว เครื่องพิมพ์ขนาดเล็กที่สุดในโลกของแบรนด์เอปสัน EP-101 ขึ้น และมีการพัฒนาเรื่อยมา จนในปี 1984 กำเนิดเครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ทเพื่อการพาณิชย์เครื่องแรก SQ-2000
ในปี 1993 เอปสันวางจำหน่าย Epson Stylus 800 เป็นครั้งแรกของโลก ที่มาพร้อมเทคโนโลยี Micro Piezo™ ในเครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ต ที่สร้างความประทับใจในเรื่องนวัตกรรมหัวพิมพ์ให้แก่ชาวโลก
ซึ่งหัวพิมพ์ Micro Piezo นี้เอง ถือเป็นเทคโนโลยีเปลี่ยนโลก
ทั้งนี้กลไกในการฉีดหมึกของเครื่องอิงค์เจ็ทพรินเตอร์ มีสองแบบคือ แบบเทอร์มอล (Thermal) ซึ่งเป็นระบบที่ใช้ความร้อนในการอุ่นหมึก แล้วควบแน่นไอหมึกเพื่อ ฉีดเป็นหยดหมึกบนกระดาษ
อีกกลไกคือ หัวฉีดหมึกแรงดันสูง (Piezo Electronic) ซึ่งใช้ในเครื่องอิงค์เจ็ทพรินเตอร์ EPSON นั่นเอง ในการทำงาน หัวพิมพ์พ่นน้ำหมึกทำงานด้วยการสั่นสะเทือนของผลึก Piezo Electric Crystals ซึ่งเมื่อได้รับกระแสไฟฟ้าจะสั่นสะเทือนและพ่นน้ำหมึกออกมา ลักษณะคล้ายกับการบีบขวดให้น้ำหมึกพุ่งออกมาจากขวด ความร้อนจะน้อยกว่าระบบการพิมพ์แบบ Thermal จึงทำให้หัวพิมพ์ทนทานกว่า ถ้าใช้งานสม่ำเสมอเหมือนๆกัน
เมื่อเปรียบเทียบการพิมพ์แบบ Thermal กับการพิมพ์ Piezo Electronic ของเอปสัน พบว่า ระบบการพิมพ์ใช้ Piezo Electronic เหนือกว่า 3 อย่างคือ ได้คุณภาพงานพิมพ์และความแม่นยำขึ้น เนื่องจากสามารถฉีดพ่นหยดหมึกได้หลายขนาด นอกจากนี้ขณะทำงาน พรินเตอร์จะปล่อยความร้อนต่ำ จึงช่วยประหยัดพลังงานและทำให้สามารถใช้งานร่วมกับหมึกและกระดาษพิมพ์ได้หลากหลาย และด้านคุณภาพคงทน ทำให้เอปสันใส่หัวพิมพ์ไว้ในพรินเตอร์ แทนที่จะเป็นหมึกพิมพ์ ซึ่งช่วยให้จำหน่ายหมึกพิมพ์ได้ในราคาถูกลง รวมทั้งหาซื้อและรีไซเคิลได้ง่ายกว่า คุณสมบัติข้อนี้ทำให้ เอปสันสร้างสรรค์พรินเตอร์อิงค์แท็งค์ของตัวเองขึ้นมาและมีชื่อเสียงในตลาดอย่างมาก
ปัจจุบันเอปสันพัฒนาเครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ทที่ใช้งานได้หลากหลายทั้งพิมพ์ภาพ เอกสาร พิมพ์ฉลาก พิมพ์สติกเกอร์ติดรถยนต์ เครื่องพิมพ์ลายผ้า และแม้แต่เครื่องพิมพ์ที่มีความเร็วสูงสุดพิมพ์ได้ 100 แผ่นต่อนาที โดยที่ผ่านมา เอปสันขายเครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ทไปแล้วมากกว่า 20 ล้านเครื่องทั่วโลก
ขอบคุณภาพประกอบและข้อมูลบางส่วนจาก-https://www.epson.co.th- https://news.thaiware.com