สมศ. ยุคใหม่พร้อมหนุนไทยสู่ 4.0
ด้วยประเมินคุณภาพภายนอกแนวใหม่
สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) หรือสมศ. จึงนำนโยบายรัฐบาลที่มุ่งปฏิรูปการศึกษา และการขับเคลื่อนประเทศไปสู่ไทยแลนด์ 4.0 เพื่อความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน สู่การปฏิบัติ โดยได้ปรับเปลี่ยนการบริหารจัดการองค์กรสู่องค์กรอัจฉริยะ โดยนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อการประเมินคุณภาพภายนอก หรือที่เรียกว่า Automated QA มาใช้รองรับและสนับสนุนการทำงาน ทุกส่วนงานภายในองค์กร รวมถึงทุกขั้นตอนของการประเมินคุณภาพภายนอก
สมศ. ก้าวสู่องค์กรอัจฉริยะ ภายใต้วิสัยทัศน์ของผู้บริหารองค์กรยุคใหม่ เรียบง่ายด้วยใจพอเพียงกับความต้องการ ลดงานด้วยเทคโนโลยี ยืดหยุ่นทุกคน เชื่อมโยงทุกอย่าง ร่วมมือสู่มาตรฐานการศึกษา อย่างเป็นสุขและยั่งยืน ด้วย เป้าหมายที่แน่วแน่และความคาดหวังที่ สมศ. เป็นองค์กรยุคใหม่ที่ได้รับการยอมรับ จากทุกภาคส่วน ทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาติ ด้วยการนำเทคโนโลยีมาบริหารจัดการข้อมูลการประเมินคุณภาพภายนอก ในรูปแบบ Big data ที่นำมาใช้วิเคราะห์ข้อมูล ที่สามารถพยากรณ์แนวโน้มในเรื่องต่างๆได้ เช่น สาขาที่ต้องการศึกษาต่อในอนาคต ความสนใจในอาชีพซึ่งจะเป็นข้อมูลสนับสนุนให้รัฐบาลวางแผน การทำแผนยุทธศาสตร์การศึกษาชาติ
รองศาตราจารย์ ดร.ณมน จีรังสุวรรณ ผู้อำนวยการสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา(องค์การมหาชน) กล่าวว่า “สมศ. ยุคใหม่ เปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิง เช่น ลดภาระเอกสารมากมาย มีระบบเทคโนโลยีที่เรียกว่า Automated QA หรือ AQA ซึ่งสถานศึกษาทำรายงาน SAR ส่งต้นสังกัด สมศ ใช้ระบบ AQA ดึงข้อมูลจากระบบของต้นสังกัด CHE QA Online ซึ่งในระยะต่อไป สมศ จะพัฒนาระบบอัจฉริยะ ครู ผู้เรียน ผู้เกี่ยวข้องกับการศึกษา จะไม่มีรู้สึกว่าโดนเก็บข้อมูลเพื่อการประเมิน
เพราะระบบอัจฉริยะจะสอดคล้องกับชีวิตประจำวันด้วยทุกกิจกรรมการเรียนรู้ การค้นคว้าจะถูกรวบรวมด้วย Big data Big data คือข้อมูลมหาศาล ในรูปแบบของ Text เสียง ภาพนิ่ง วิดีโอ รวมทั้งการประชุมและ conference ต่างๆ และต่อด้วยการวิเคราะห์แบบ Learner Analytics และทำการประมวลผลในรายงานผลการประเมินคุณภาพภายนอกที่แสดงผลแบบ xxx (แดชบอล) ทั้งทำนายผลอนาคต เชื่อมโยง ตอบโจทย์ การศึกษาไทย”
สำหรับจุดเปลี่ยนของการประเมินคุณภาพภายนอกแนวใหม่ รอบสี่ มีทั้งสิ้น 12 ประการ ได้แก่
1. ลดภาระงานด้านเอกสาร ลดเอกสารสำหรับการประเมินไม่ซ้ำซ้อนกับการประกันคุณภาพภายใน
2. เพิ่มระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ด้วยระบบ Automated QA
3. เชื่อมโยงกับการประกันคุณภาพภายใน ตามพ.ร.บ.ที่ได้กำหนดไว้ เพื่อยกระดับการศึกษาของชาติ
4. ลดจำนวนการประเมิน (IQA + EQA) ซึ่งเป็นการลดการประเมินภายในจากต้นสังกัด
5. การประเมินเชิงคุณภาพ ไม่ใช่การประเมินเชิงปริมาณที่เน้นแต่ตัวเลขและสถิติเท่านั้น
6. Expert Judgment ซึ่งเป็นผู้ประเมินที่อาศัยผู้เชี่ยวชาญในการประเมินคุณภาพการศึกษาด้วยประสบการณ์
7. Holistic Approach การประเมินคุณภาพการศึกษาเชิงภาพรวมไม่เจาะจงไปที่ประเด็นเดียวเท่านั้น
8. เน้นการประเมินเพื่อการพัฒนา ไม่ใช่การประเมินเพื่อรับรองว่ารับรองหรือไม่รับรอง แต่เป็นการประเมินเพื่อการพัฒนานำไปสู่การยกระดับมาตรฐานการศึกษาของชาติ
9. การวิเคราะห์การประเมินแบบ 3 ฝ่าย คือ สถานศึกษา ต้นสังกัด และรัฐบาล ซึ่งเป็นการวิเคราะห์ที่สอดคล้องกับความต้องการและความจำเป็นทั้ง 3 ฝ่าย
10. การประเมิน 2 ระยะ ระยะแรกเป็นการประเมินโดย สมศ. ระยะที่สอง เป็นการติดตามเพื่อพัฒนาโดยต้นสังกัด
11. คณะผู้ประเมิน ประกอบไปด้วย 1. ผู้ทรงคุณวุฒิของสมศ.ที่มีความเชี่ยวชาญ 2. ผู้มีประสบการณ์จากหน่วยงานต้นสังกัด 3. ผู้มีประสบการณ์ด้านการบริหารสถานศึกษา
12. จำนวนวันในการประเมิน ซึ่งในบางส่วนของสถานศึกษาไม่ต้องมีการตรวจเยี่ยม , มีการตรวจเยี่ยม 1-2 วัน หรือมีการตรวจเยี่ยม 3 วัน ตามคณะผู้ประเมินพิจารณา
รองศาตราจารย์ ดร.ณมนกล่าวต่อว่า จุดมุ่งหมายกรอบแนวทางการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ ได้แก่ แนวทางสำหรับการประเมินคุณภาพภายนอกตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในกฏหมาย ติดตามและตรวจสอบคุณภาพการจัดการศึกษาของสถาบันการศึกษา โดยคำนึงถึงบริบทของสถานศึกษามาตรฐานการศึกษาชาติ และมาตรฐานระดับสากล ประเมินผลรายงานผลคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของชาติต่อรัฐบาลอย่างต่อเนื่องทุกปี เพื่อให้เกิดการยกระดับคุณภาพการศึกษาของประเทศ
สำหรับคณาจารย์ นักเรียน นิสิต นักศึกษา หรือประชาชนทั่วไป สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สํานักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) โทรศัพท์ 02-216-3955 หรือเข้าไปที่เว็บไซต์ www.onesqa.or.th เฟสบุ๊คเพจ https://www.facebook.com/onesqa/ หรือ Line Official ที่ @onesqa