กษ.ร่วมมช.เปิดคก.พัฒนา
ผลิตภัณฑ์ฯOTOPเกษตรแปรรูป
กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกองส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน มอบหมายให้ศูนย์นวัตกรรมอาหารและบรรจุภัณฑ์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (Food Innovation and Packaging Center, FIN) ในฐานะที่ปรึกษาดำเนินงานโครงการฯ จัดงานแถลงข่าวเปิดตัว “โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์และมาตรฐานการผลิตสินค้า OTOP เกษตรแปรรูป” ประจำปี พ.ศ.2562 โดยได้รับเกียรติจากรองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร นายชาตรี บุญนาค เป็นประธาน ร่วมกับผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชรินทร์ เตชะพันธุ์ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่(มช.) นางอโณทัย นุตะศะริน ผู้อำนวยการกองส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน กรมส่งเสริมการเกษตร ผศ.ดร.ยุทธนา พิมลศิริผล ผู้อำนวยการศูนย์นวัตกรรมอาหารและบรรจุภัณฑ์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่(มช.) หน่วยงานความร่วมมือในการบริหารจัดการโครงการ ทีมที่ปรึกษา และผู้แทนผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการ ณ โรงแรม อมารี ดอนเมือง แอร์พอร์ต กรุงเทพฯ
นายชาตรี บุญนาค รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า โครงการฯ ดังกล่าว มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทักษะการบริหารจัดการ การผลิต การตลาด กระบวนการผลิตสินค้าหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ของผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนที่จดทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร ที่มีพื้นฐานจากการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรให้มีคุณภาพและได้รับการรับรองมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์และตราสินค้าที่เหมาะสม โดยผ่านการวิเคราะห์ศักยภาพและจัดทำแผนพัฒนากิจการ การพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ใหม่
นางอโณทัย นุตะศะริน ผอ.กองส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน กรมส่งเสริมการเกษตร
การยกระดับมาตรฐานกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์ใหม่ โดยการนำเทคโนโลยีที่มีความทันสมัย และนวัตกรรมมาช่วยในการผลิตอย่างเหมาะสม สู่การยกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์ และเชื่อมโยงทดสอบตลาดผลิตภัณฑ์ เพิ่มขีดความสามารถและการแข่งขันของผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนของประเทศไทย
ผศ.ดร.ชรินทร์ เตชะพันธุ์ รองอธิการบดี มช.
ผศ.ดร.ยุทธนา พิมลศิริผล ผอ.ศูนย์นวัตกรรมอาหารและบรรจุภัณฑ์ มช.
โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์และมาตรฐานการผลิตสินค้า OTOP เกษตรแปรรูป ให้ความสำคัญต่อการพัฒนากิจการของผู้ประกอบการชุมชน โดยได้คัดเลือกผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน จำนวน 102 กลุ่ม จาก 77 จังหวัดทั่วประเทศเข้าร่วมโครงการฯตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด เพื่อพัฒนาศักยภาพวิสาหกิจชุมชนของตนเองให้มีความพร้อมสามารถแข่งขันได้ในตลาด ส่งเสริมการนำวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นมาต่อยอด นำไปสู่การสร้างอัตลักษณ์และจุดเด่นของผลิตภัณฑ์ชุมชน ก่อให้เกิดการสร้างงาน สร้างรายได้ วิสาหกิจชุมชนมีความเข้มแข็งและสามารถพึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน
ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลในการแก้ปัญหา ความยากจนในท้องถิ่น ยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชน เพื่อกระตุ้นการพัฒนาทางเศรษฐกิจทั้งในระดับจังหวัดและระดับประเทศต่อไป
ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่นำมาแสดง
แผนภาพการบูรณาการความเชื่อมโยงของหน่วยงานร่วมดำเนินโครงการ