กระทรวงอว.ชู 3 เป้าหมาย
มุ่งสร้างโอกาสเท่าเทียม
กระทรวง อว.เป็นความหวังของประเทศ เป็นกระทรวงแห่งปัญญา กระทรวงแห่งโอกาส กระทรวงแห่งอนาคต มหาวิทยาลัยต้องเป็น “Future changer” ด้วย “การปรับบทบาทมหาวิทยาลัย” และ “การเติมเต็มศักยภาพมหาวิทยาลัย”ให้บุคลากรได้ใช้ความสามารถตอบโจทย์ประเทศ
รศ.นพ.สรนิต ศิลธรรม ปลัดกระทรวงฯ
ศ.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ(วช.)
ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเดินทางเข้าปฏิบัติงานอย่างเป็นทางการ ณ อาคารพระจอมเกล้ากระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม(อว.) ถนนโยธี กรุงเทพฯ ทั้งนี้ได้ถวายสักการะพระบรมราชานุสารีย์พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและไหว้ศาลพระภูมิ ณ กรมวิทยาศาสตร์บริการ จากนั้นเป็นประธานการประชุมคณะผู้บริหาร อว.ครั้งที่ 1/2562 เพื่อหารือและวางกรอบการทำงานกับผู้บริหารกระทรวงโดยมี รศ.นพ.สรนิต ศิลธรรม ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม, ศ.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ(วช.)และผู้บริหารและข้าราชการระดับสูงอว. เข้าร่วมประชุมฯ
ดร.สุวิทย์ ได้ให้ความสำคัญกับการทำงานของอว. เพื่อตอบโจทย์ความคาดหวังจากประชาชน สังคม ให้ประเทศไทยพ้นกับดักสำคัญคือกับดักรายได้ปานกลาง กับดักความเหลื่อมล้ำ กับดักโอกาสทางการศึกษา และกับดักความขัดแย้งที่รุนแรง ความท้าทายของอว. คือ “สร้างโอกาสให้เกิดความเท่าเทียม” มุ่งเน้น “เรียนรู้ตลอดชีวิต”
อว. มีเป้าหมาย 3 ข้อ เพื่อให้เกิด Talent +Research = Innovation คือ
1.ด้านการอุดมศีกษามุ่งลดความเหลื่อมล้ำลดช่องว่างทางสังคม การเรียนรู้ตลอดชีวิต ทุกคน คือ “Smart citizen” ผลผลิตจากสถาบันการอุดมศึกษาคือ คุณภาพสามารถทำงานแข่งขันกับโลก => สร้าง Talent
2.ด้านการสร้างและพัฒนาองค์ความรู้ บูรณาการ 3 ศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์) เพื่อให้เกิด Value-based Economy แปลงงานวิจัยเป็นขีดควมสามารถ ความสงบสุขและนวัตกรรม (นวัตกรรมสังคม/นวัตกรรมแกจน) => สร้าง Research
3.ด้านนวัตกรรมซึ่งแปลงเป็นมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์คุณค่าทางสังคม เกิด “Innovation Nation” นวัตกรรมต้องกินได้ เป็น inclusive innovation เน้น local start up => สร้าง Innovation
ให้น้อมนำพระราโชบายด้านการศึกษาในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 10มาใช้ “…การศึกษา คือ ความมั่นคงของประเทศการศึกษาต้องสร้างให้คนไทยมีทัศนคติที่ดีและถูกต้องมีพื้นฐานชีวิตที่มั่นคงเข้มแข็ง มีอาชีพมีงานทำและมีความเป็นพลเมืองดี มีระเบียบวินัย…”
มหาวิทยาลัยต้องเป็น “Future changer” กลไกดำเนินการคือ “การปรับบทบาทมหาวิทยาลัย” และ “การเติมเต็มศักยภาพมหาวิทยาลัย” ให้บุคลากรได้ใช้ความสามารถตอบโจทย์ประเทศสัญญาประชาคม 7 ข้อ คือ
1) อว. จะเน้นการส่งเสริมสนับสนุน และกำกับดูแล
2 ลดทอนบทบาทการบังคับและสั่งการ
3) ยกเลิกแก้ไขกฎระเบียบที่ล้สมัย ไม่ตอบโจทย์ประเทศ และเป็นอุปสรรคต่อการขับเคลื่อนภารกิจ
4) เน้นการทำงานเชิงภารกิจเป็นหลัก และเน้นการทำงานเชิงผลลัพธ์ ผลสัมฤทธิ์ ที่จับต้องได้เป็นสำคัญ
5) ทำงานในเชิงระบบ เชิงบูรณาการให้มากขึ้น
6 เน้นการทำงานที่คล่องตัวขนาดกะทัดรัดประสิทธิภาพสูง “Free Flow Talent” ไปสู่การทำงานระหว่างหน่วยงานใน อว. /ระหว่างกระทรวงอื่นๆ /เอกชน
7) ทำงานรวดเร็ว แข่งกับเวลา เน้นการทำงานที่เน้นผลสัมฤทธิ์และจะไม่มีที่ว่างสำหรับฝันเล็ก ๆ “No Room for Small Dream”