ไทยเจ้าภาพ ประชุมสุดยอดผู้นำสตรีโลก 2563
ในปี 2563 ประเทศไทยได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพจัด “งานประชุมสุดยอดผู้นำสตรีโลก 2020” (Global Summit of Women 2020) ในระหว่างวันที่ 23-25 เมษายน 2563 ณ โรงแรม Centara Grand และ Bangkok Convention Centre กรุงเทพฯ ภายใต้ Theme: “Women Revolutionizing Economies” พลังสตรีพลิกเศรษฐกิจ โดยการสนับสนุนของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือ สสปน.(ทีเส็บ)และบริษัทเอกชนชั้นนำของประเทศไทย ที่เล็งเห็นถึงความสำคัญและบทบาทของสตรีในเวทีโลก
“การประชุมสุดยอดผู้นำสตรีโลก 2020” “Global Summit of Women” เป็นเวทีระดับโลกที่มีความสำคัญเชื่อมนักธุรกิจ นักวิชาชีพ ผู้บริหารทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคสังคมจากทั่วโลก สร้างเครือข่ายความร่วมมือ และแบ่งปันประสบการณ์เพื่อขยายโอกาสทางธุรกิจและส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจของโลกอย่างยั่งยืน เป็นเวทีระดับโลกเพื่อให้สตรีจากทุกภาคส่วน ทั้งองค์กรของ ภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรที่ไม่แสวงหากำไร มาร่วมประชุมเพื่อส่งเสริมธุรกิจของสตรี และ ขยายโอกาส ทางเศรษฐกิจให้สตรีทั่วโลก โดยผู้บริหารสตรีที่มีบทบาทสำคัญทั้งใน ระดับประเทศ และระดับโลกจะมาแบ่งปันประสบการณ์ ให้มุมมองในมิติต่างๆ นำเสนอ ประเด็นปัญหาและแนวโน้มที่จะส่งผลกระทบทางธุรกิจและเศรษฐกิจในอนาคต แนะแนวทาง การการบริหารและแก้ไขปัญหา
การประชุมในครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก “พล.อ.ประยุทธ์ จันโอชา” นายกรัฐมนตรีกล่าวปาฐกถาพิเศษ พร้อมด้วยรัฐมนตรีหญิงจากประเทศต่างๆ ได้แก่“อาเซียน ทั้งจากกัมพูชา ฟิลิปปินส์ และประเทศในทวีปแอฟริกา อเมริกาใต้ นอกจากนี้ยัง มีผูบ้ริหารสตรีจากบริษัทชั้นนำของโลกรวมถึงของไทยร่วมแสดงพลังสตรี ประชุมหารือ แลกเปลี่ยนแนวคิดและส่งเสริมบทบาทสตรีในภาคธุรกิจ พร้อมกันนี้จะมีการมอบรางวัลผู้นำดีเด่นระดับโลกในการส่งเสริมสตรี
ทั้งนี้การประชุมที่จะจัดขึ้นในเดือนเมษายน 2563 นี้ จะมีผู้นำสตรีจากกว่า 60 ประเทศทั่วโลก กว่า 1,000 คน และวิทยากรผู้บรรยาย ในระดับรัฐมนตรี และนักธุรกิจระดับโลกจากภาคเอกชน และองค์กรชั้นนำเข้าร่วมประชุม
นางสาวไอรีน นาทิวิแดท ประธานจัดการประชุมสุดยอดสตรีโลก กล่าวว่า นอกจากประเทศไทยจะมีความสวยงามติดอันดับโลก ยังโดดเด่นในเรื่องการมีส่วนร่วมของสตรี ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน จากการเป็นแรงงาน ผู้ประกอบการ จนถึง การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างธุรกิจ (Business Model) และในการประชุมที่จะเกิดขึ้นในเดือน เมษายนนี้ นับว่ามีความสำคัญในการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และมุ่งเน้นการส่งเสริมความ เสมอภาคทางเศรษฐกิจให้กับสตรีทั่วโลก
นางกอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ประธาน บริษัทโตชิบาไทยแลนด์ และประธานกรรมการจัดงานของไทย กล่าวว่า ตั้งใจให้การประชุมนี้ มีความพิเศษสมกับเป็นการฉลอง 30 ปีของการประชุมสตรีโลก โดยจะเน้นการประชุมเพื่อสิ่งแวดล้อม Carbon Neutral พร้อมนำเสนอสินค้าชุมชนท้องถิ่นจากทั่วประเทศไทย สร้าง โอกาสให้ชุมชนท้องถิ่นพัฒนาเป็นนักธุรกิจระดับนานาชาติ ทั้งยังเชื่อมั่นว่าในการประชุมครั้งนี้ จะก่อเกิดพลังสตรีไทย ในการเรียนรู้และเติบโตจากสตรีผู้นำจากทั่วโลก พัฒนาเครือข่ายความ เข้มแข็งทางธุรกิจ เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม รวมถึงส่งเสริมความร่วมมือของคนทุกภาค ส่วน สร้างคนรุ่นใหม่ รวมพลังไทย อาเซียน และโลก ที่จะปฏิวัติเศรษฐกิจ เพื่อโลกที่ดีขึ้น
ด้านนางศรีสุดา วนภิญโญศักดิ์ รองผู้ว่าการด้านตลาดยุโรป แอฟริกา ตะวนัออกกลาง และอเมริกา การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) กล่าวว่า การประชุมสุดยอดผู้นำสตรีโลก 2020 เป็น โอกาสอันดียิ่งที่จะเน้นย้าภาพลักษณ์ที่ดีของประเทศไทย และเปิดประสบการณ์การท่องเที่ยว ของประเทศไทย ที่มีความเป็นมิตรกับนักท่องเที่ยวทุกกลุ่ม โดยเฉพาะกลุ่มสตรี ซึ่ง ททท. มี นโยบายการส่งเสริมการท่องเที่ยวในกลุ่มดังกล่าวอย่างจริงจัง เนื่องจากเป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวที่ มีศักยภาพสูง ปัจจุบันสัดส่วนของผู้หญิงทำงานเพิ่มขึ้น มีแนวโน้มรายได้เฉลี่ยสูงกว่าผู้ชาย และ เริ่มมีบทบาทมากขึ้นในต าแหน่งผู้บริหารระดับสูง ผู้หญิงจึงกลายเป็นกลุ่มผู้บริโภคขนาดใหญ่ และเป็นตลาดที่มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง
นางนิชาภา ยศวีร์ รองผู้อำนวยการ สายงานธุรกิจ สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการหรือทีเส็บกล่าวว่า ในนามของหน่วยงานรัฐภายใต้การกำกับดูแลของนายกรัฐมนตรี ทีเส็บร่วมกับททท.และพันธมิตรทุกภาคส่วนจัดการประชุม “Global Summit of Women” ด้วยเล็งเห็นถึงความสำคัญของการร่วมผลักดันให้เกิดการดึงงานระดับโลกเข้าสู่ประเทศไทยตอบสนองนโยบายรัฐบาลตามแผนพัฒนาสตรีฉบับใหม่ ภายใต้ชื่อยุทธศาสตร์การพัฒนาสตรี พ.ศ.2560-2565ซึ่งสอดคล้องกับทิศทางยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (2560-2579) และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (2560-2564) ที่มุ่งเน้นพัฒนาคนให้เป็นศูนย์กลาง โดยการพัฒนาคนในทุกช่วงวัย การมีส่วนร่วมของทุกคนและการเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ