เมืองไทยประกันชีวิต ขยายเพิ่ม 3 โรงพยาบาลคู่สัญญา บริการ Telemedicine ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
นายสาระ ล่ำซำ กรรมการผู้จัดการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า จากที่บริษัทฯ ได้จับมือกับโรงพยาบาลคู่สัญญา ให้บริการพบแพทย์และได้รับยาตามคำสั่งการรักษาของแพทย์ ผ่านทางโทรเวชกรรม (Telemedicine) สำหรับผู้เอาประกันภัยมีโรคเรื้อรังและจำเป็นต้องมีการติดตามรักษาอาการอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นการให้ความช่วยเหลือ อำนวยความสะดวก และลดความเสี่ยงจากการเดินทางออกจากบ้านให้แก่ผู้เอาประกันภัยในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) นั้น
ล่าสุดได้มีโรงพยาบาลคู่สัญญาเข้าร่วมให้บริการดังกล่าวเพิ่มเติมอีก จำนวน 3 แห่ง ประกอบด้วย โรงพยาบาลมหาชัย 2 โรงพยาบาลนวมินทร์ 9 และ โรงพยาบาลกรุงเทพหาดใหญ่ โดยสามารถรับบริการ Telemedicine สำหรับผู้ป่วยเรื้อรัง ได้ตามช่องทาง ดังนี้
- โรงพยาบาลมหาชัย 2 ผ่านแอปพลิเคชัน Line Official : @mahachai2hospital
- โรงพยาบาลนวมินทร์ 9 โทร. 083-948-9042
- โรงพยาบาลกรุงเทพหาดใหญ่ โทร. 1719 หรือ 074-272-800
ทั้งนี้ผู้เอาประกันภัยที่เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังและมีความประสงค์ใช้บริการ Telemedicine นี้ จะต้องเป็นผู้ป่วยเดิมที่มีประวัติการรักษาในโรงพยาบาลที่ให้บริการตามที่กำหนด และเป็นโรคเรื้อรังที่จำเป็นต้องมีการติดตามและต้องได้รับยาต่อเนื่อง เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง เป็นต้น โดยบริการดังกล่าวจะครอบคลุมการพบแพทย์ และการสั่งยา ทั้งนี้สามารถใช้บริการได้ทั้งผู้เอาประกันภัยรายบุคคลและรายกลุ่ม ระยะเวลาให้บริการโครงการดังกล่าวเริ่มตั้งแต่วันที่ 15 เมษายน – 31 พฤษภาคม 2563 (เงื่อนไขเป็นไปตามที่โรงพยาบาลและกรมธรรม์กำหนด)
“เรายังคงเดินหน้าขยายบริการพิเศษดังกล่าวไปยังโรงพยาบาลคู่สัญญาอื่น ๆ เพิ่มเติมอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้เอาประกันภัยในช่วงที่สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ยังไม่คลี่คลาย รวมถึงมองหาบริการที่จะมาช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ลูกค้าในด้านต่างๆ เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าในปัจจุบันอีกด้วย” นายสาระ กล่าว
สำหรับผู้เอาประกันภัยที่ต้องการสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถติดต่อได้ที่ เมืองไทยประกันชีวิต โทร. 1766 หรือติดต่อโรงพยาบาลคู่สัญญาที่เข้าร่วมโครงการได้โดยตรง
หมายเหตุ : เงื่อนไขเป็นไปตามที่โรงพยาบาลและกรมธรรม์กำหนด