TCAS63 ต้องส่อง! เลือกเรียนวิทย์ยุคนี้ มีชัยไปกว่าครึ่ง เรียนสนุก งานเยอะ ทำธุรกิจได้
ขึ้นชื่อว่า “วิทยาศาสตร์” แล้ว หลายต่อหลายคนมักมองว่า โอกาสในการทำงานนั้นยิ่งห่างไกล เพราะยังคงมีภาพจำฝังใจว่า จบไปแล้วต้องเป็นนักวิทยาศาสตร์ ที่จำกัดพื้นที่การทำงานแต่ในห้องแล็บ แต่ในความเป็นจริง ห้องแล็บเป็นเพียงกระบวนการทำงานขั้นหนึ่งเท่านั้น ที่ช่วยให้เราสามารถค้นหาคำตอบ หรือเข้าใกล้สิ่งที่อยากรู้ได้อย่างตรงไปตรงมา
และในปัจจุบัน การเปลี่ยนผ่านของเทคโนโลยีและเทรนด์โลก ได้ชี้ให้เห็นถึงโอกาสของการทำงานในบริบทอื่นที่กว้างขึ้น และทำให้ “เด็กวิทย์” สามารถทรานฟอร์มสู่ เจ้าของธุรกิจ โปรแกรมมิ่ง หรืออื่น ๆ ได้อย่างประสบความสำเร็จ ซึ่งตัวอย่างของความสำเร็จจะฉายภาพให้เราเห็นอย่างไรบ้างนั้น ติดตามได้จาก 3 ศิษย์เก่า จาก “คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์” หรือ“SCI-TU” ดังต่อไปนี้
“ถ้าหลักสูตรตอบโจทย์ความต้องการของตลาด การหางานก็ไม่ใช่เรื่องยาก” นพรุจ พิสุทธิ์จรุงใจ (ตี๋) รุ่นพี่จากสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ เล่าว่า การเรียนที่ SCI-TU จะเรียกว่าเป็นจุดเปลี่ยนของชีวิตผมเลยก็ว่าได้ หากย้อนกลับไปสมัยมัธยมปลายผมเป็นเด็กสายศิลป์-คำนวณคนหนึ่งที่มีความสนใจด้านคอมพิวเตอร์ แต่พอหาข้อมูลเรียนต่อก็เจอว่า 95% ของคณะวิทย์ก็จะรับแต่เด็กสายวิทย์-คณิตเท่านั้น โชคดีที่หลักสูตรวิทยาการคอมพิวเตอร์ มธ. เปิดกว้างให้เด็กสายศิลป์-คำนวณ สมัครเรียนได้ แถมเนื้อหาที่เรียนก็น่าสนใจ มีการบอกถึงอาชีพหลังเรียนจบที่หลากหลาย และสามารถนำไปต่อยอดได้อีกมาก จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้ผมเลือกเรียนที่นี่
ถามว่าเรียนวิทย์หางานยากไหม ก็ต้องถามต่อว่าเนื้อหาหลักสูตรตอบโจทย์ความต้องการของตลาดหรือเปล่า อย่างที่ SCI-TU ต้องยอมรับเลยว่าแต่ละวิชาเป็นหลักสูตรที่ทันสมัย และเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ลองปฏิบัติในหลายๆ รูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการทำโปรเจคในรายวิชาที้ต้องมีการออกไปศึกษาความต้องการกับผู้ใช้จริง การออกไปฝึกงานในองค์กรชั้นนำต่างๆ การเข้าร่วมการแข่งขันต่างๆ เพื่อฝึกฝีมือให้คล่องก่อนออกไปทำงานจริง ซึ่งล้วนแต่เป็นทักษะที่หลายๆ องค์กรต้องการ ทำให้ผมเองได้งานทำตั้งแต่ยังเรียนไม่จบด้วยซ้ำ โดยปัจจุบันผมทำงานเป็น Software Engineer อยู่ที่ Refinitiv Thailand มีหน้าที่เกี่ยวกับการพัฒนา Software ของบริษัทที่ให้บริการข้อมูลด้านการเงินและการจัดการความเสี่ยงที่มีผู้ใช้ทั่วโลก ซึ่งพอได้เข้ามาทำงานจริงๆ แล้ว ก็พบว่าสิ่งที่เรียนมามีส่วนช่วยผมในการทำงานอย่างมาก ทำให้เข้าใจงานได้อย่างรวดเร็ว และแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้จริง
“ผมอยากจะฝากถึงน้อง ๆ ที่กำลังจะเลือกเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัย ว่าให้เลือกจากสาขาที่ชอบ ในมหาวิทยาลัยที่ใช่ เลือกหลักสูตรที่ตอบรับกับตลาดแรงงาน เก็บเกี่ยวสิ่งต่าง ๆ ให้ได้มากที่สุดเพราะ 4 ปีในรั้วมหาวิทยาลัยผ่านไปเร็วมาก เพื่ออนาคตการทำงานที่ดีของน้อง ๆ เองครับ”
“เรียนวิทย์ให้มากกว่าความรู้ ต่อยอดสู่การสร้างธุรกิจ” พีรศุทธ์ บัณฑราภิวัฒน์ (เพชร) รุ่นพี่จากสาขาวิชาเคมี เล่าว่า ในตลาดแรงงานล้วนยังต้องการผู้ที่เรียนจบด้านวิทยาศาสตร์อีกเป็นจำนวนมากทั้งในและต่างประเทศ อย่างสายงานเคมีที่ผมจบมา สามารถทำงานได้หลากหลายมากๆ ทั้งทำงานวิจัย ทำงานภาคอุตสาหกรรม และภาคธุรกิจ ซึ่งในการหางานนั้นต้องมีครบทั้งความรู้ ประสบการณ์ การฝึกงาน หรือทำงานระหว่างเรียน การสร้างผลงานต่างๆ ก็จะเป็นโปรไฟล์ในการช่วยให้ได้งานที่อยากทำง่ายยิ่งขึ้น ในส่วนของผมนั้นได้มีโอกาสไปทำงานในแล็บร่วมกับอาจารย์พิเศษที่มาสอนในสาขาตั้งแต่ตอนปี 4 เทอม 2 จึงได้เก็บประสบการณ์มาทำงานต่อเป็น Quality Control ในส่วนของสินค้าอุปโภคและบริโภค โดยได้นำความรู้เรื่องของการทำแล็บ เคมีวิเคราะห์ เคมีอินทรีย์ มาประยุกต์ใช้ในงานที่ทำอย่างเต็มที่
ผมได้เก็บเกี่ยวประสบการณ์จากการเรียน และใช้ต่อยอดในการทำงานมาเรื่อยๆ จนมีโอกาสเปิดบริษัทของตัวเองคือ บริษัท นิชิกิ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด เกี่ยวกับการนำเข้าวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตเครื่องสำอาง ทุกอย่างที่ทำให้เกิดบริษัทนี้เริ่มมาจากที่ SCI TU ด้วยการเรียนการสอนที่เด่นทั้งเนื้อหาและการนำไปประยุกต์ใช้ รวมถึงจุดเด่นอย่างการผสมผสานความรู้แขนงอื่นๆ เข้าด้วยกัน เช่น สังคมและการปกครอง ศาสนา ภาษาไทย ที่นำไปปรับใช้ได้จริงในการทำงานได้ เป็นการลดจุดอ่อนและเสริมทักษะให้กับเด็กวิทย์ในด้านของการสื่อสาร การเรียนรู้การทำงานร่วมกับผู้อื่น การบริหารจัดการคนและงานให้ออกมาดี เพราะที่นี่ให้ความรู้ที่มากกว่าเรื่องวิทย์ ทำให้ผมต่อยอดสู่การสร้างธุรกิจ เป็นผู้ประกอบการได้
“วิทยาศาสตร์สอนให้ทำงานอย่างเป็นระบบ ธรรมศาสตร์สอนให้จบไปทำงานอย่างเสียสละ” ดร.พัณณ์ชิตา เวชสาร (แนน) รุ่นพี่จากสาขาเทคโนโลยีชีวภาพ เล่าว่า ปัจจุบันทุกภาคส่วนยังขาดแคลนบุคลากรที่มีความรู้ และความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านวิทยาศาสตร์เป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเรียนจบวิทยาศาสตร์สาขาไหน หากเรารู้จักประยุกต์ใช้ความรู้ ความสามารถที่มีได้อย่างสร้างสรรค์ หรือมีประสบการณ์ในรั้วมหาวิทยาลัยที่น่าสนใจ การเป็นนักศึกษาจบใหม่ก็อาจไม่ใช่อุปสรรคในการหางาน โดยเฉพาะนักศึกษาที่จบจากรั้ว SCI-TU ซึ่งนอกจากจะมีหลักสูตรที่พัฒนาให้ตอบรับกับความต้องการของตลาดแรงงานอยู่เสมอ อาจารย์ผู้สอนทุกท่านก็ยังมีความเชี่ยวชาญเป็นอย่างมาก มีห้องปฏิบัติการที่ทันสมัย รวมถึงเครือข่ายร่วมกับภาครัฐ ภาคเอกชน และมหาวิทยาลัยคู่สัญญา ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนหรือการส่งนักศึกษาฝึกงานทั้งในและต่างประเทศ เพื่อเปิดประสบการณ์ใหม่ให้เตรียมความพร้อมก่อนเริ่มชีวิตการทำงานในอนาคต
“ปัจจุบันเราทำงานเป็นนักวิชาการเกษตรชำนาญการ และหัวหน้าหน่วยวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพข้าว ศูนย์วิจัยข้าวอุบลราชธานี กรมการข้าว ซึ่งเราสามารถนำความรู้จาก SCI TU มาพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมได้เยอะมาก ต้องขอบคุณการเรียนวิทยาศาสตร์ที่สอนให้รู้จักคิดอย่างมีเหตุผลและทำงานเป็นระบบ รวมถึง DNA ของธรรมศาสตร์ ที่สอนให้รักประชาชนและทำงานด้วยอุดมการณ์ที่เสียสละ ทำให้ปัจจุบันเรามีความสุขกับการทำงาน ที่ได้ใช้ความรู้ ความสามารถอย่างเต็มศักยภาพ เพื่อพัฒนาตัวเองและช่วยเหลือผู้อื่นต่อไป”
สำหรับน้อง ๆ TCAS63 ที่สนใจศึกษาต่อคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (SCI-TU) สามารถติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://www.facebook.com/ScienceThammasat และ https://sci.tu.ac.th หรือติดต่อฝ่ายประชาสัมพันธ์ โทร. 02-564-4440-59 ต่อ 2010
#วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี #ธรรมศาสตร์ #วิดยามธ #SCITU #หางาน #JobFair #Opportunity #TCAS63 #DEK63 #JCCOTH