พลัสฯชู Waste Management มาตรการดูแลโครงการที่พักอาศัย จัดการขยะเต็มรูปแบบ ตอบรับ New Normal หลังยุคโควิด-19
พลัส พร็อพเพอร์ตี้ ชู Waste Management มาตรการดูแลโครงการที่พักอาศัย จัดการขยะเต็มรูปแบบ ตอบรับ New Normal หลังยุคโควิด-19 ปี 63 ตั้งเป้าหมายการลดขยะที่ 100 ตันต่อปี หรือเทียบเท่าการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนมอนออกไซด์เฉลี่ย 75,000 กิโลคาร์บอน
นางสาวนฤมล อาภรณ์ธนกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการฝ่ายบริหารอาคารที่พักอาศัย บริษัท พลัส พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด ผู้เชี่ยวชาญที่พร้อมตอบโจทย์ทุกบริการด้านอสังหาริมทรัพย์ เปิดเผยว่า ผลจากการระบาดของโควิด-19 ทำให้เกิดการล็อคดาวน์เมืองเพื่อการเว้นระยะห่างทางสังคม หรือ Social Distancing และหลายหน่วยงานต้องปรับการทำงานเป็นรูปแบบของการทำงานจากที่บ้าน หรือ Work From Home (WFH) ซึ่งการทำงานจากที่บ้านนั้นถือเป็นการช่วยหยุดการแพร่กระจายเชื้อโรคที่ได้ผลดี แต่ในอีกมุมหนึ่งที่พลัสฯ ได้ทำการเก็บข้อมูลจากครัวเรือนในโครงการที่พลัสฯ บริหารจัดการกว่า 200 โครงการทั่วประเทศ พบว่าในช่วง WFH มีขยะจาก Food Delivery เพิ่มขึ้นกว่า 45% พลัสฯ ในฐานะที่ได้ให้ความสำคัญกับการจัดการขยะมาอย่างต่อเนื่อง จึงได้ถือโอกาสนี้ในการนำข้อมูลที่ได้เก็บรวบรวมในแต่ละโครงการ ติดตามผลและนำไปวิเคราะห์ต่อยอดเพื่อผลักดันให้เป็นมาตรการจัดการขยะในโครงการอย่างบูรณาการและเป็นรูปธรรม โดยตั้งเป้าหมายให้พนักงานและลูกบ้านเข้ามามีส่วนร่วมในทุกกระบวนการเพื่อให้เกิดความเข้าใจและกลายเป็น New Normal ที่จะส่งผลดีต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมในระยะยาว
จากจุดเริ่มต้นที่พลัส พร็อพเพอร์ตี้ ได้ร่วมกับแสนสิริในการบริหารจัดการโครงการที่พักอาศัยใน T77 Community ให้เป็นกรีนคอมมูนิตี้ที่เป็นต้นแบบการคัดแยกขยะอย่างปลอดภัยและยั่งยืน พลัสฯ จะเดินหน้าต่อยอดงานบริหารจัดการโครงการที่พักอาศัย หรือ PLUS Living Management ให้การดำเนินการด้าน Waste Management เป็นหนึ่งในมาตรฐานการดูแล เพื่อสร้างคอมมูนิตี้ที่ดีและน่าอยู่และสอดรับกับ New Normal ของสังคมหลังยุคโควิด-19 สู่ทุกโครงการที่พลัสฯบริหารต่อไป
โดยพลัสฯ มีแผนการเดินหน้าต่อยอด Waste Management สู่การดำเนินการอย่างเต็มรูปแบบอย่างบูรณาการ ตั้งแต่ 1.ให้ความรู้เรื่องการจัดการขยะ ทั้งในส่วนของพนักงานที่ได้รับการฝึกอบรมจากหลักสูตรเฉพาะด้าน Waste Management ผ่านสถาบัน PLUS Eduplex เพื่อให้พนักงานมีความรู้ความเข้าใจเรื่องการจัดการขยะประเภทต่างๆ อย่างถูกต้องเหมาะสม โดยมีการเชิญวิทยากรผู้เชี่ยวชาญจากหน่วยงานภายนอกเข้ามาให้ความรู้ เช่น กรมควบคุมมลพิษ ให้ความรู้เรื่องขยะอันตราย การเก็บคัดแยก การจัดการ สอดรับกับสถานการณ์โควิด-19 ที่มีจำนวนขยะอันตรายหรือขยะติดเชื้อเพิ่มขึ้นเช่นจากหน้ากากอนามัย และได้เชิญผู้เชี่ยวชาญอย่างอินโดรามา เวนเจอร์ส มาร่วมจัดเวิร์คช้อปกับพนักงาน และถ่ายทอดความรู้ด้านการรีไซเคิล ตลอดจนประยุกต์ใช้ประโยชน์จากขวด PET มาเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เพื่อให้เกิดความร่วมมือกันทุกฝ่ายในการจัดการขยะ นำไปสู่ขั้นตอนการจัดการและรีไซเคิลให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
2.ขยายการดำเนินการสู่ทุกโครงการที่พลัสฯบริหาร มีมาตรการจัดการขยะที่เป็นมาตรฐานเดียวกันในทุกโครงการ ตั้งแต่การมีจุดคัดแยกขยะ การจัดการขยะและการเก็บข้อมูลเพื่อติดตามผลและนำมาวิเคราะห์วางแผนเพื่อพัฒนาต่อยอดอีกในอนาคต โดยที่ผ่านมาพลัสฯมีการนำแอปพลิเคชั่นด้านการเก็บแยกแลกขยะมาใช้ในโครงการ เพื่อตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคในยุคนี้ เช่น Gebb และ Recycle Day และต่อไปจะพัฒนาระบบการจัดเก็บเพื่อเป็นฐานข้อมูล Big Data สำหรับการวิเคราะห์พัฒนาแผนอย่างต่อเนื่อง 3.กระตุ้นและสร้างการมีส่วนร่วม โดยการจัดกิจกรรมสำหรับลูกบ้านในโครงการต่างๆ ที่อยู่ภายใต้การดูแลของพลัสฯ เพื่อส่งเสริมความสำคัญเรื่อง Waste Management เพราะทุกครอบครัวในโครงการถือเป็นจุดเริ่มต้นของหน่วยครัวเรือน ที่สามารถมีส่วนร่วมช่วยเปลี่ยนแปลงและรักษาสิ่งแวดล้อมของโลกเราให้ดีขึ้นได้ จึงจัดกิจกรรมที่ช่วยให้ความรู้และส่งเสริมการคัดแยกแลกขยะของลูกบ้าน
“การเริ่มต้นการลดขยะอย่างยั่งยืนนั้นต้องเริ่มจากหน่วยสังคมเล็กๆ นั่นคือในครัวเรือน หากเราสามารถสร้าง Mindset ให้กับสมาชิกในครอบครัว ด้วยการให้ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องและมีสื่อในการถ่ายทอดความรู้ที่เข้าใจง่ายและจับต้องได้ เพื่อจะขยายไปสู่สังคมในวงกว้าง และเมื่อทุกคนเห็นว่าสิ่งที่เปลี่ยนไปมีประโยชน์อย่างแท้จริง พฤติกรรมของคนในสังคมจะค่อยๆ เปลี่ยนไป จนกลายเป็นชีวิตวิถีใหม่หรือ New Normal ซึ่งพลัสฯ ในฐานะที่ดูแลครอบครัวใหญ่กว่า 200 โครงการ ได้ดำเนินนโยบายด้าน Waste Management มาต่อเนื่อง สามารถพิสูจน์แล้วว่าโครงการที่พลัสฯ ดำเนินการสามารถช่วยลดปริมาณขยะในโครงการลงได้อย่างต่อเนื่อง และในปีนี้เราตั้งเป้าหมายการลดขยะที่ 100 ตันต่อปี หรือเทียบเท่าการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนมอนออกไซด์เฉลี่ย 75,000 กิโลคาร์บอน” นางสาวนฤมล กล่าว