เรื่องจริงต้องรู้…/ช. พิทักษ์ “ตระกูลลียืนยงปกครองสิงคโปร์”
ในหมวดข่าวต่างประเทศต่อไปจะมีคอลัมน์ “เรื่องจริงต้องรู้…” โดย ช. พิทักษ์ มาให้สาระความรู้ในด้านต่าง ๆ เป็นประจำทุกวันศุกร์ คาดว่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านไม่มากก็น้อย ซึ่งในตอนแรก ประเดิมด้วยหัวข้อ “ตระกูลลียืนยงปกครองสิงคโปร์”
การเลือกตั้งสิงคโปร์ผ่านไปแล้วเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม หรือสัปดาห์ที่แล้ว คงไม่ต้องคาดการณ์พรรคไหนจะชนะ เพราะถึงอย่างไรพรรคของตระกูลลีก็ต้องชนะ พรรคที่มีลี กวน ยู อดีตนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ก่อตั้ง
และปัจจุบันมีลี เซียน ลุง บุตรชาย เป็นผู้สืบทอด พรรคดังกล่าวคือ People’s Actions Party (PAP) หรือกิจสังคม โดยชนะด้วยจำนวนที่นั่ง 85 ที่นั่ง เทียบกับกลุ่มพรรคฝ่ายค้านที่ได้เพียง 10 ที่นั่ง
(https://www.mmtimes.com/opinion/16513-the-jewel-in-the-pap-s-election-triumph.html)
ดังนั้นจึงยังเป็นการชนะแบบถล่มถลายเหมือนที่เคยชนะก่อนหน้ารวมทั้งหมด 13 ครั้ง หรือนับตั้งแต่ปี 1965 ซึ่งปีนี้สิงคโปร์ถูกมาเลเซียขับไล่ออกจากการเป็นประเทศเดียวกัน ทำให้ต้องก่อตั้งประเทศและจัดตั้งรัฐบาลปกครองตัวเอง
ซึ่งทั้งการก่อตั้งและจัดตั้งมีนายลีเป็นเสาหลักดำเนินการ อย่างไรก็ดี การชนะของพรรคกิจสังคมครั้งนี้หาใช่แบบถล่มถลายอย่างที่ทุกคนเคยเรียก แต่มีหลายคนเรียกเป็นชัยชนะแบบ
historic leap หรือกระโดดข้ามประวัติศาสตร์
คือประวัติศาสตร์การเลือกตั้งสิงคโปร์เคยเป็นอย่างไรลืมได้เลย และที่ต้องลืมก็เพราะครั้งนี้กลุ่มพรรคฝ่ายค้านที่มีทั้งหมด 10 พรรคสามารถยึดที่นั่งได้ 10 ที่จากทั้งหมด 93 ที่ ซึ่งมากที่สุดเท่าที่เคยได้ แถมยังได้คะแนนเสียงเพิ่มถึงร้อยละ 38.8 ตัวเลขอาจดูน้อย
แต่เมื่อเทียบกับครั้งก่อน ๆ ชี้ให้เห็นคะแนนนิยมของกลุ่มพรรคฝ่ายค้านได้เพิ่มอย่างไม่เคยมาก่อน โดยยังมีข้อสังเกตกลุ่มที่มีพรรค Workers’ Party หรีอพรรคแรงงาน เป็นพรรคนำ ยังได้คะแนนเพิ่มจากชุมชนที่มีคนมีฐานะและมีความรู้อาศัย
(https://www.pressreader.com/thailand/bangkok-post/20200712/281487868645926)
รวมทั้งจากคนหนุ่มสาวที่กำลังตื่นตัวอยากเห็นประเทศหลุดพ้นจากการเมืองผูกขาด เป็นการเมืองที่มีการกระจายอำนาจและการเจรจาแก้ไขปัญหา
กลุ่มพรรคฝ่ายค้านมีนาย Pritam Singh พริธัม ซิงห์ หัวหน้าพรรคแรงงงาน และนาย Tan Cheng Bock ตัน เช็ง บ๊อค หัวหน้าพรรค New Party หรือพรรคใหม่ ร่วมกันเป็นผู้นำ จุดเด่นคือ การมีผู้ลงสมัครที่เป็นสตรีถึง 40 คน
ในจำนวนนี้ที่สร้างสีสันและช่วยทำให้การเลือกตั้งมีชีวิตชีวาคือ Nicole Siah นิโคล เซียะ วัย 33 ปี อาชีพนักโฆษณา และสังกัดพรรคแรงงาน เธอนำความรุดหน้าด้านเทคโนโลยีมาใช้ในการหาเสียง จนมีคนติดตามเธอมากมาย
(https://www.asiaone.com/singapore/ge2020-nicole-seah-back-politics-because-her-daughter)
โดยเฉพาะการฟังเธอกล่าวสุนทรพจน์ตลอดวันตลอดคืนในช่วงนั้น การทำเช่นนี้ทำให้เกิดการหาเสียงแบบใช้วิทยาการสมัยใหม่ ซึ่งต่อ ๆ ไปจะถูกใช้ทั่วโลก รวมทั้งการลงคะแนนเสียง ที่ผู้ลงคะแนนไม่ต้องออกจากบ้าน ลงคะแนนเสียงจากบ้าน
ซึ่งจะช่วยประหยัดค่าคูหาลงบัตรและค่าดำเนินการจำนวนเงินมหาศาล อีกทั้งยังจะทำให้ผลการลงคะแนนสามารถได้รับการประกาศแบบทันควัน ไม่ต้องรอก่อนเที่ยงคืนและเป็นทางการวันรุ่งขึ้นอย่างที่ต้องรอ
ก่อนลงสมัครเลือกตั้งนิโคลมีผลงานช่วยเหลือคนยากไร้และสตรีด้อยโอกาส โดยเธอทำตั้งแต่ยังเรียนมัธยม ตัวจุดชนวนคือ การได้พบหญิงยากจนไม่มีเงินซื้อข้าว แถมการมีชีวิตยังต้องพึ่งสวัสดิการรัฐ ดูแล้วอาจคิดว่า เธอเป็นผู้หญิงจริงจังใบหน้าเครียด
ไม่ใช่เช่นนั้น เธอเป็นผู้หญิงอารมณ์ดีใบหน้ายิ้มแย้ม มีการประเมินเธอจะช่วยสิงคโปร์ให้เกิดการเมืองแบบ personality politics หรือการเมืองแบบเน้นตัวบุคคล ไม่ใช่นโยบาย ซึ่งจะทำให้การเมืองสิงคโปร์หลุดพ้นจากการผูกขาด
เปลี่ยนเป็นการร่วมแสดงความเห็นและร่วมดำเนินการ แน่นอน ถ้่่าเป็นเช่นนี้สิงคโปร์คงยังจะเจริญรุดหน้าต่อ ๆ ไป แต่การประเมินจากบางกระแสชี้ให้เห็นอาจไม่เป็นเช่นนั้น มีผู้ที่เชื่อว่า ถึงอย่างไรทายาทตระกูลลีคงจะครองอำนาจปกครองสิงคโปร์ต่อ ๆ ไปอย่างไม่มีสิ้นสุด
(https://statestimesreview.com/2018/06/21/lee-hsien-yang-fired-and-exiled-from-singapore/)
ดูจากผลการเลือกตั้งครั้งล่าสุด ซึ่งถึงแม้ประเทศเกาะแห่งนี้จะต้องเผชิญปัญหาเศรษฐกิจถดถอยถึงร้อยละ 41.2 ไตรมาสที่ผ่านมา หรือรุนแรงที่สุดในรอบ 10 ปี ปกติการเลือกตั้งถ้าเกิดในช่วงเศรษฐกิจไม่ดี ชัยชนะมักเป็นของฝ่ายค้าน หรือฝ่ายค้านขยับตัวขึ้นเป็นคู่แข่งสำคัญ
แต่ที่เกิดกับสิงคโปร์ไม่ใช่เช่นนั้น นอกจากนี้ การเลือกตั้งยังถูกจัดในช่วงที่สิงคโปร์ต้องประสบภาวะวิกฤตการระบาดของเชื้อโควิด 19 ขนาดหนัก จำนวนผู้ติดโรคมีถึง 46,629 ราย เทียบกับจำนวนประชากรเพียง 5.7 ล้านคน
สาเหตุการระบาดเกิดจากการขาดการดูแลเอาใจใส่หอพักแรงงานต่างชาติ ปล่อยให้พวกนี้อยู่อย่างแออัด ปกติสิงคโปร์มีชื่อเสียงด้านการบริการจัดการไม่ว่าเรื่องใด แต่ความล้มเหลวเรื่องนี้ทำให้ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก
ยิ่งกว่านั้น การระบาดยังทำให้ประเทศต้องประสบปัญหาหนักขึ้น คือนอกจากปัญหาการระบาดในต่างประเทศที่ริดรอนรายได้การค้าและธุรกิจ ยังต้องเผชิญกับการต้องใช้จ่ายในการเยียวยา ที่ผ่านมาสิงคโปร์ได้ดำเนินมาตราการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบแล้วสามครั้ง
แต่ก็ยังไม่ได้ผล ถ้าปัญหานับวันหนักขึ้นคงต้องเยียวยาไม่มีสิ้นสุด และนี่เองที่ยังเชื่อกันว่า ถึงอย่างตระกูลลีคงจะครองอำนาจต่อ เพราะดูแล้ว สิงคโปร์คงไม่มีใครหรือคนกลุ่มไหนที่มีความสามารถพอที่จะรับภาระการเยียวยา
จริงอยู่ตอนนี้ทายาทตระกูลกำลังมีเรื่องทะเลาะกัน จากปัญหามรดกนานลี กวน ยู ซึ่งส่วนหนึ่งคือ บ้านพัก โดยนายลีเขียนในพินัยกรรมให้รื้อ เพราะไม่อยากให้เป็นอนุสรสถาน แต่ก็มีทายาทคนที่ไม่ต้องการให้รื้อ ยัง ๆ ๆ ไม่มีทายาทคนไหนโผล่เล่นการเมือง
แต่คงอีกไม่นาน เพราะต้องมีการเรียกร้อง อีกทั้งทายาทตระกูลนี้ทั้งชายหญิงล้วนมีระดับการศึกษาไม่แพ้พ่อและปู่ คือต่างสำเร็จโรงเรียนมัธยมชั้นเลิศ และสุดท้ายสำเร็จมหาวิทยาลัยระดับสูงสุดของโลก
คนไทยควรสนใจสิงคโปร์เพราะมีตัวอย่างที่น่าศึกษาหลายตัวอย่าง เช่นการไต่เต้าจากเมืองท่าเรือเต็มไปด้วยกุ๊ยและอันธพาล จนกลายเป็นประเทศเจริญสุด ๆ เกือบทุกด้าน รวมทั้งมีมหาเศรษฐีระดับพันล้านเหรียญสหรัฐฯมากกว่า 200,000 คน
(https://vulcanpost.com/614516/18-richest-people-in-singapore-forbes/)
สิงคโปร์ทำได้อย่างไรต้องอ่าน”สิงคโปร์จากเมืองกุ๊ยสู่ประเทศเจริญสุด ๆ”วันศุกร์หน้า