เรื่องจริงต้องรู้/ช. พิทักษ์.. “เมียนมา ใกล้ล่มสลาย”
ใกล้ ๆ ๆ ๆ เข้ามาแล้วการล่มสลายของเมียนมา อาณาจักร 1,200 ปีบนพื้นที่เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ หรืออาเซียน โดยการจะล่มสลายเกิดจากการปฏิวัติครั้งล่าสุดวันที่ 1 เดือนที่แล้ว
(https://www.bbc.com/news/world-asia-56062955)
ซึ่งจะทำให้เมียนมากลายเป็นประเทศร้าง ถนนไม่มีคนเดิน ไม่มีรถวิ่ง จากการไม่มีรัฐบาลปกครอง ไม่มีกองทัพดูแล ไม่มีระบบรัฐการคอยจัดการงานแผ่นดิน
ส่วนทำไมไม่มี ๆ เพราะประเทศไม่มีเงินจัดทำงบประมาณ โดยขณะนี้อาจกล่าวได้ว่า รัฐบาลเมียนมาไม่มีเงินในมือ เงินสำรองทั้งหมดที่ฝากในต่างประเทศล้วนถูกแช่แข็ง จำนวนถ้ารู้คงตกใจ
คือที่โดนสหรัฐฯออกคำสั่งไม่ให้เคลื่อนย้ายมีจำนวน 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือ 31,000 ล้านบาท จากทั้งหมด 5,700 ล้านเหรียญ หรือ 177,002 ล้านบาท
ซึ่งก็มีเค้าจะถูกรัฐบาลประเทศอื่นสั่งไม่ให้่เคลื่อนย้ายเช่นกัน ยังไม่พูดถึงเงินฝากในต่างประเทศของบรรดานายพล จำนวนประเมินไม่ได้เพราะมีมากมาย
แต่เชื่อว่าคงทำให้คนในเครื่องแบบเหล่านี้เป็นกลุ่มคนที่มั่งคั่งที่สุดในเอเซีย หรือบางทีอาจติดอันดับต้น ๆ ของโลก
(https://voaburmese.files.wordpress.com/2010/07/ap050327010117.jpg)
และนี่เองที่เป็นสาเหตุทำให้บรรดานายพลเมียนมาไม่เคยแตกคอกัน ต่างอยู่กันอย่างสมัครสมานสามัคคี ทั้ง ๆ ที่ปกติแล้วประเทศที่มีทหารปกครอง และเป็นทหารที่ทำปฏิวัติ พวกนี้ถึงระยะหนึ่งจะต้องทะเลาะและแยกทาง
แต่นี่ผ่านมา 59 ปีนับตั้งแต่การปฏิวัติครั้งแรกปี 2505 ทหารเมียนมายังรวมตัวเหนียวแน่น จนยากที่ขบวนการต่อต้านจะทำลาย น่าสังเกตการปฏิวัติเมียนมาครั้งล่าสุดไม่มีประเทศมหาอำนาจหรือองค์กรโลกเข้าไปแทรกแซง
คือนอกจากการประนาม ไม่มี ๆ แห่งไหนเสนอหน้าขอเข้าไปจัดการปัญหา และสาเหตุก็คือ ทุกแห่งต่างมองความวุ่นวายจะต้องเกิดแล้วเกิดอีกอย่างไม่มีวันยุติ
ส่วนจีนที่ควรเสนอหน้าเพราะมีผลประโยชน์มาก นอกจากจะไม่แทรกแซง หลังวันปฏิวัติยังร่วมลงนามในเอกสารประนามขององค์การสหประชาชาติ การประนามที่ยังทำอย่างต่อเนื่องทุกครั้งที่มีการฆ่าหมู่ผู้ประท้วง
จากนี้เมียนมาน่าจะเป็นประเทศร้าง จากการที่ประชาชนต้องอพยพหนีความอดหยาก ก่อนหน้ามีการระดมซื้ออาหารเพื่อกักตุน จนสินค้าอุปโภคบริโภคไม่มีจำหน่าย อีกทั้งฤดูทำนาปีนี้แน่นอนแล้วว่า
จะไม่มีชาวนาปลูกข้าว เพราะทราบดีปลูกแล้วจะไม่มีใครซื้อ เนื่องจากคนเมียนมาต่างตกงาน ซึ่งนอกจากข้ารัฐการ ยังมีแรงงานภาคเอกชน ๆ ที่เป็นผู้ผลิตสินค้่าส่งออก ในจำนวนนี้เป็นเสื้อผ้าชั้นสูงที่ติดแบรนด์
(https://www.theguardian.com/world/2017/feb/05/child-labour-myanmar-high-street-brands)
บรรดาแบรนด์ดังพากันไปผลิตที่นี่ เพราะคนเมียนมาถนัดภาษาต่างประเทศ อีกทั้งยังมีค่าแรงแสนถูก เฉลี่ยแล้วคนทำงานประเทศนี้มีรายได้ 545,000 จัตต่อเดือน หรือราว 12,000 บาท ซึ่งอยู่ได้สบาย
แต่ตอนนี้ไม่เหลือ รวมทั้งแรงงานผลิตสินค้าอื่น เนื่องจากผู้ประกอบการกลัวผลิตแล้ว ประเทศจะถูกผู้ซื้อทั่วโลกรุมประนามด้วยการไม่ซื้อ แถมผู้ผลิตเองยังอาจถูกประนามด้วย
น่าสนใจทำไมเมียนมาถึงได้ตกต่ำขนาดนี้ ทั้ง ๆ ที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นประเทศอู้ฟู่ทรัพย์สมบัติ และมีชื่อเสียงระบือไกลในฐานะประเทศน่าอยู่ที่เต็มไปด้วยคนเก่ง ซึ่งในที่นี้คือ นักศึกษา
(https://www.mmtimes.com/news/parents-criticise-plan-longer-school-year.html)
เพราะไม่ว่าจะไปเรียนมหาวิทยาลัยชั้นดีประเทศไหน ต่างรู้กันเป็นนักศึกษาที่่เรียนเก่งที่สุด และนอกจากเรียนเก่ง ยังทำงานเก่ง หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 องค์กรระหว่างประเทศต่างต้องการคนงานที่ช่ำชองโลก
และเชี่ยวฃาญภาษาอังกฤษ ผลคือ คนเมียนมาหรือพม่าในสมัยนั้นพากันโดดเด่นในองค์กรระหว่างประเทศชั้นนำ รวมทั้งองค์การสหประชาชาติ ซึ่งระหว่างพ.ศ. 2504-14 อูถั่นได้เป็นเลขาธิการ
(https://news.un.org/en/spotlight/character-sketches-u-thant-brian-urquhart)
ผลงานใหญ่สุดของเขาคือ การคลายความตึงเครียดยุคสงครามเย็น ทั้งนี้ต้องชื่้นชมอังกฤษที่ปัจจุบันเปลี่ยนมาเรียกตามชื่อทางการสหราชอาณาจักร ประเทศจ้าวอาณานิคมแห่งนี้ไปปกครองที่ไหนล้วนชูการศึกษา
อีกทั้งยังวางระเบียบแบบแผนการปกครองท้องถิ่น เมียนมายุคพม่าได้โรงเรียนดี ๆ ได้รัฐบาลท้องถิ่นดี ๆ ด้วยเหตุนี้ แต่ไม่ใช่ยู.เค.ฝ่ายเดียวที่วางรากฐานการศึกษาให้เมียนมา ยังมีหมอสอนศาสนาชาวอเมริกัน
ยุค 100 กว่าปีที่แล้ว องค์กรมิชชันนารีอเมริกันสนใจพื้นที่เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะบริเวณที่มีชนกลุ่มน้อย เนื่องจากพวกนี้ยังไม่มีศาสนา ดังนั้นจึงพากันไปเผยแพร่ศาสนาคริสต์
มีการสร้างโบสถ์ ตามด้วยโรงเรียน โดยโรงเรียนยังขึ้นชื่อเรื่องมาตรฐานการสอน มีการพูดถึงแห่งหนึ่งทางตอนเหนือของเมียนมาว่า เป็นโรงเรียนดีที่สุดในโลก
เพราะอุดมไปด้วยสถานศึกษาที่ให้การศึกษาชั้นดี จึงไม่แปลกใจที่เมียนมาก่อนและหลังได้รับเอกราชจากยู.เค. จะมีคนเก่งคนดีจำนวนมาก แต่ใช่ว่าการมีคนเหล่านี้จำนวนมากจะเป็นเรื่องดีไปทั้งหมด
เพราะธรรมชาติอย่างหนึ่งของมนุษย์คือ การอิจฉาริษยาแก่งแย่งชิงดี คนเก่งคนดีเมียนมายุค 70 กว่าปีก่อนแย่งกันทำดี จนเกิดเหตุการณ์ใหญ่ที่ยังเป็นที่จดจำ
นั่นคือ นายพลอองซานถูกรัวกระสุนเข้าใส่จนเสียชีวิตวันที่ 19 กรกฎาคม 2490 และถึงทุกวันนี้ยังไม่ทราบสาเหตุ แต่เชื่อกันน่าจะเป็นฝีมือกลุ่มนายทหารที่ไม่พอใจผู้ที่ไม่ใช่ทหารขึ้นมาเป็นใหญ่
(https://www.irrawaddy.com/from-the-archive/who-killed-aung-san.html)
แล้วยังมีที่เชื่อเป็นฝีมือองค์การข่าวกรองสหราชอาณาจักร ซึ่งทำเพื่อไม่ให้อองซานทำข้อตกลงปางโหลง ข้อตกลงที่จะทำให้เมียนมาเข้าปกครองรัฐชาติพันธ์หลังได้รับเอกราช
เป็นอันว่า ประเทศนี้ต้องสูญเสียบุคคลที่จะเป็นรากฐานประเทศ และถ้าจะว่าไปเมียนมาได้ล่มสลายตั้งแต่วันนั้น ไม่ต้องรอวันที่ 2 มีนาคม 2505 เมื่อกลุ่มนายทหารนำโดยนายพลเนวินทำปฏิวัติหนแรก
(https://www.newmandala.org/book-review/review-of-general-ne-win-a-political-biography/)
มิหนำซ้ำทำแล้วยังเปลี่ยนระบบเศรษฐกิจให้เป็นสังคมนิยม มีการเข้าฮุบทุกกิจการค้าเอกชน กิจการที่แข็งแกร่งและมีคนดีคนเก่งมากมายเป็นผู้บริหาร พวกนี้ต่างอยู่ไม่ได้ และพากันอพยพไปต่างประเทศ
ดูไว้ ๆ นักเคลื่อนไหวที่ต้องการเปลี่ยนแปลงประเทศไทย ดูไว้เพื่อเป็นข้อพิจารณาทำแล้วไทยจะจบแบบเดียวกับที่จะจบในเมียนมาหรือไม่ โอย! เมียนมาจะล่มสลายแล้ว
…