วช.ร่วม จุฬาฯ-เครือข่าย วิจัยด้านน้ำ เพิ่มน้ำต้นทุนลดการใช้น้ำในพื้นที่ EEC, พื้นที่ชลประทาน -พื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา
วช. จุฬาฯ และเครือข่ายวิจัยกว่า 8 แห่ง ร่วมทำงานวิจัยกว่า 20 โครงการโดยเน้นผลวิจัยไปสู่การใช้ ประโยชน์ของหน่วยงานปฏิบัติ คาดแล้วเสร็จภายในกลางปี 2565 ผลงานวิจัยเล็งเพิ่มแหล่งน้ำต้นทุนของเขื่อนหลักอย่างมีประสิทธิภาพขึ้นร้อยละ 85 จากเดิมร้อยละ 65 สำหรับในพื้นที่ชลประทานภาคกลางตอนบนพัฒนาการบริการจัดการน้ำเชิงพื้นที่โดยใช้เทคโนโลยีและการมีส่วนร่วมที่ได้รับการยอมรับจากทุกภาคส่วนรวมถึงการปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้น้ำทุกภาคส่วน ให้เกิดการประหยัดการใช้น้ำลงอย่างน้อยร้อยละ 15 ในพื้นที่ EEC และพื้นที่ชลประทานภาคกลางตอนบน
ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เป็นประธานการประชุม Kick-off แผนงานยุทธศาสตร์เป้าหมาย (Spearhead) แผนงานยุทธศาสตร์เป้าหมายด้านสังคม แผนงานการบริหารจัดการน้ำปีที่ 2 โดยทาง วช. สนับสนุนงบประมาณวิจัยแบบบูรณาการที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ บน “แผนงาน
ยุทธศาสตร์เป้าหมาย โครงการวิจัยเข็มมุ่ง ด้านสังคม การบริหารจัดการน้ำ” ซึ่งเป็นการให้ทุนแบบใหม่ภายใต้ การบริหารงานวิจัยแบบใหม่ เพื่อให้เกิดสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมให้ประเทศมีทรัพยากรน้ำทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ ที่สามารถรองรับการเติบโตในอนาคด ด้วยการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพและยั่งยืน โดยมุ่งเน้นแผนงานวิจัยและนวัตกรรมที่สำคัญและเป็นรูปธรรม มีเป้าหมายที่ชัดเจนและวัดผลได้ด้วยตัวชี้วัด ที่สะท้อนการดำเนินงานตามแผนงาน
ปัจจุบัน การดำเนินงานเข้าสู่ปีที่ 2 โดยในปีที่ 1 ได้เน้นการพัฒนาแบบจำลอง และฐานข้อมูลในพื้นที่ ส่วนการดำเนินงานในปีที่ 2 จะพัฒนาด้านเทคโนโลยีสมัยใหม่ต่อเนื่อง พร้อมกับขยายผลและเชื่อมโยงงานวิจัยด้านเศรษฐศาสตร์ สังคม กฎหมาย และการจัดสรรงบประมาณ ซึ่งได้ออกแบบโจทย์วิจัยร่วมกับหน่วยงานเชิงนโยบาย หน่วยงานปฏิบัติ ทั้งในส่วนกลางและในพื้นที่ เพื่อให้เกิดการกำหนดโจทย์วิจัยที่ตรงตามความต้องการและนำไปสู่การใช้ประโยชน์อย่างมีประสิทธิภาพ
สำหรับการดำเนินงานในครั้งนี้สำนักงานการวิจัยแห่งชาติร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดำเนินการส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยในแผนงานยุทธศาสตร์เป้าหมายด้านสังคม แผนงานการบริหารจัดการน้ำปีที่ 2
โดยมีแผนงานวิจัย 4 กลุ่ม ประกอบด้วย
กลุ่มที่ 1: การพัฒนากระบวนการบริหารจัดการน้ำเชิงพื้นที่เพื่อรองรับการพัฒนาพื้นที่ EC อย่างเต็มรูปแบบ
กลุ่มที่ 2: โครงการพัฒนาเทโนโลยีและเครือข่ายองค์กรการบริหารจัดการน้ำซลประทานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในเขตพื้นที่ชลประทานท่อทองแดง จังหวัดกำแพงเพชร
กลุ่มที่ 3: การพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนของเขื่อนหลักและการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในพื้นที่ราบภาคกลาง
กลุ่มที่ 4: งานสนับสนุนการขับเคลื่อนสู่นโยบายการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของชาติ
การดำเนินงานเข้าสู่ปีที่ 2 จะดำเนินการวิจัยในระยะเวลา 12 เตือน มีจำนวน 20 โครงการที่ได้รับทุนวิจัย จากเครือข่ายวิชาการทั้งมหาวิทยาลัย หน่วยงานวิจัย และภาคเอกชน ได้แก่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ มหาวิทยาลัยบูรพา สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย บริษัท สร้างสรรค์ปัญญา จำกัด บริษัท คลิกเกอร์แล็บ จำกัด และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
“การพัฒนาผลงานวิจัย การพัฒนานักวิจัย และการพัฒนาเครือข่ายวิจัยจากแผนงานวิจัยฯในครั้งนี้จะนำไปสู่การสนับสนุนหน่วยงานปฏิบัติ ภาคเอกชนและภาคประชาชนให้บรรลุเป้าหมายของยุทธศาสตร์ และก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติและประชาชน อย่างยั่งยืนต่อไป” ดร.วิภารัตน์ กล่าว
สำหรับในช่วงบ่าย รองศาสตราจารย์ ดร.สุจริต คูณธนกุลวงศ์ ประธานคณะกรรมการอำนวยการแผนงานยุทธศาสตร์เป้าหมาย (Spearhead) ด้านสังคมแผนงานบริหารจัตการน้ำและผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พงษ์ศักดิ์ สุทธินนท์ ผู้อำนวยการหน่วยบริหารจัดการและส่งมอบผลลัพธ์ (ODU) ได้ร่วมจัดประชุมเครือข่ายนักวิจัยทั้ง 20 โครงการจาก 8 หน่วยงาน เพื่อเชื่อมโยงผลลัพธ์ของแต่ละโครงการทั้ง 4 กลุ่มให้เชื่อม
และสอบรับกัน
รวมถึงแนวทางการนำผลงานวิจัยไปใช้ให้เกิดประโยชน์กับหน่วยงานเพื่อสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมที่ยั่งยืนของประเทศไทย หน่วยบริหารจัดการและส่งมอบผลลัพธ์ (ODU) แผนงานยุทธศาสตร์เป้าหมาย (Spearhead) ด้านสังคมแผนงานบริหารจัดการน้ำ