วิจัยเพื่อคนไทย…งานวิจัย “โรคไวรัสทิลาเปียเลค”สู่การสร้างวัคซีนป้องกัน-ควบคุมโรคในปลานิลอย่างยั่งยืน

งานวิจัย “โรคไวรัสทิลาเปียเลค” สู่การสร้างวัคซีนเพื่อป้องกันและควบคุมโรคอย่างยั่งยืน


ปลานิล นับว่าเป็นสัตว์เศษรฐกิจของหลายประเทศทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย ซึ่งในประเทศไทยปลานิลถือว่ามีมูลค่าการเลี้ยงสูง และสร้างรายได้ให้กับประเทศถึงปีละประมาณ 10,000 ล้านบาทแต่ในหลายปีที่ผ่านมา ปลานิลถูกคุกคามด้วยไวรัสอุบัติใหม่ที่ชื่อว่าทิลาเปียเลค (Tilapia Lake Virus) หรือ TiLV จากการพบว่าในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ปลานิลในหลายประเทศทั่วโลกได้เกิดการติดเชื้อ และตายเป็นจำนวนมาก


ปัญหาดังกล่าวจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ทาให้นักวิจัยไทยนำโดย รศ.ดร.น.สพ.วิน สุรเชษฐพงษ์ จากคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้เริ่มศึกษาวิจัยถึงต้นตอของปัญหา เพื่อหาแนวทางในการป้องกัน และรับมือกับปัญหาที่เกิดขึ้น โดยได้รับการสนับสนุนจากหลายหน่วยงาน รวมถึงสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ(วช.)