วศ.เสริมกิจกรรมทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการทดสอบเหล็ก-เหล็กกล้า
กรมวิทยศาสตร์บริการ (วศ.) โดยกลุ่มทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ กองความสามารถห้องปฏิบัติการและรับรองผลิตภัณฑ์ (ชน.สผ.) กรมวิทยาศาสตร์บริการ ดำเนินกิจกรรมทดสอบความชำนาญ (proficiency testing, PT) ห้องปฏิบัติการ ทดสอบเหล็กและเหล็กกล้า ประจำปี 2564 รายการ Steel bar: Maximum force, Yield force, Yield strength, Tensile strength, Elongation and Reduction of area ได้เริ่มจัดส่งตัวอย่างวันที่ 9 กรกฎาคม 2564 ให้แก่ ห้องปฏิบัติการที่สมัครเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 25 ห้องปฏิบัติการ โดยห้องปฏิบัติการต้องทดสอบคุณสมบัติการทนต่อแรงที่กระทำต่อตัวอย่างเหล็กเส้นและหาค่า Diameter, Maximum force, Yield force, Yield strength, Tensile strength, Elongation and Reduction of area ของตัวอย่างโลหะที่ทางผู้จัดเตรียมสำหรับการทดสอบ และส่งผลกลับมายังกลุ่มทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการของกรมวิทยาศาสตร์บริการ ภายในวันที่ 29 กรกฎาคม 2564 เพื่อประเมินผลทางสถิติเปรียบเทียบผลการวัดระหว่างห้องปฏิบัติการ
คุณสมบัติในการรับแรงดึงของเหล็กเส้นที่ใช้ในคอนกรีตเสริมเหล็ก จัดเป็นคุณสมบัติทางกลที่สำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากว่าเหล็กเส้นที่ใช้ในโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กจำเป็นต้องมีคุณสมบัติในการทนแรงทั้งแรงดึงและแรงกดจึงจำเป็นต้องรู้คุณสมบัติในการทนแรงของวัสดุ การตรวจวัดหาคุณสมบัติการทนแรงดึงด้วยเครื่องทดสอบแรงดึง หรือ เครื่องทดสอบแรงดึงวัสดุแบบเอนกประสงค์ (Tensile testing machine หรือ Universal testing machine) เป็นเครื่องมือสำหรับใช้ดึงวัสดุต่างๆเพื่อทดสอบแรงที่กระทำต่อวัตถุจนทำให้วัตถุที่นำมาทดสอบเกิดการเปลี่ยนรูป และขาดในที่สุด เพื่อนำแรงที่ได้จากการวัดมาคำนวณหาค่า Maximum force, Yield force, Yield strength, Tensile strength, Elongation and Reduction of area ในการทดสอบหาคุณสมบัติการทนแรงดึง มีประโยชน์มากมายในอุตสาหกรรมการผลิตต่างๆมากมาย เช่น อุตสาหรรมด้านการผลิตเหล็กและเหล็กกล้า อุตสาหกรรมด้านผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง และงานด้านวิศวกรรมในสาขาต่างๆ ฯลฯ
การจัดกิจกรรมนี้ เพื่อสร้างความเข้มแข็งและสร้างความมั่นใจในด้านการทดสอบคุณสมบัติทางกายภาพของเหล็กเส้นด้วยกิจกรรมทดสอบความชำนาญ ให้แก่ห้องปฏิบัติการทดสอบในอุตสาหรรมเหล็กและเหล็กกล้า ซึ่งมีประโยชน์ของการเข้าร่วมกิจกรรมทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ สร้างความมั่นใจในผลการทดสอบว่ามีความแม่นยำ ถูกต้อง อีกทั้งยืนยันสมรรถนะและความสามารถของห้องปฏิบัติการทดสอบ และชี้บ่งปัญหาภายในห้องปฏิบัติการ นำไปสู่การปรับปรุงพัฒนาความสามารถของห้องปฏิบัติการ เช่น ปัญหาจากกระบวนการวัดหรือทดสอบ การใช้เครื่องมือ หรือความสามารถของบุคลากร เป็นต้น
ทั้งนี้ วศ. ส่งเสริมให้ห้องปฏิบัติการใช้ประโยชน์ในการจัดการความเสี่ยง และเป็นเครื่องมือสำหรับปรับปรุงประสิทธิภาพและบริหารความเสี่ยงของห้องปฏิบัติการ พร้อมใช้ประกอบการยื่นขอการรับรองตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025 และเพิ่มความมั่นใจให้กับลูกค้าของห้องปฏิบัติการและยกระดับคุณภาพสินค้าให้สามารถแข่งขันได้ในระดับสากล