วศ. เสริมหลักสูตร ISO/IEC 17043 สร้างผู้จัดโปรแกรมทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการมาตรฐานสากล

วศ. เสริมหลักสูตร ISO/IEC 17043 สร้างผู้จัดโปรแกรมทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการตามมาตรฐานสากล

กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) จัดฝึกอบรมเรื่อง “ข้อกำหนดการเป็นผู้จัดโปรแกรมทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการตามมาตรฐาน ISO/IEC 17043”เพื่อเป็นแนวทางสำหรับผู้จัดโปรแกรมทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ ตามมาตรฐานสากล โดยมี นางจันทรัตน์ วรสรรพวิทย์ หัวหน้ากลุ่มรับรองระบบงานห้องปฏิบัติการ 3 เป็นวิทยากรหลักสูตรออนไลน์ผ่านโปรแกรม ZOOM ในวันที่ 3-4 สิงหาคม 2564 มีบุคคลากร กองความสามารถห้องปฏิบัติการและรับรองผลิตภัณฑ์ และผู้เข้าร่วมอบรมทั้งหมดกว่า 60 หน่วยงาน
การดำเนินงานที่สำคัญ เพื่อให้ห้องปฏิบัติการที่เข้าร่วมโปรแกรมการทดสอบความชํานาญฯ และหน่วยงานที่ดำเนินการจัดโปรแกรมการทดสอบความชํานาญฯ เข้าใจ ISO/IEC 17043 : 2010 Conformity assessment – General requirements for proficiency testing ที่เป็นมาตรฐานสากล ว่าด้วยข้อกําหนดสําหรับการเป็นผู้จัดกิจกรรมทดสอบความชํานาญห้องปฏิบัติการ ซึ่งหน่วยรับรองฯ ใช้เป็นข้อกำหนดให้หน่วยตรวจใช้เป็นเกณฑ์สำหรับการตรวจประเมิน เพื่อการรับรองและการดําเนินงานของผู้จัดโปรแกรมการทดสอบความชํานาญห้องปฏิบัติการ (Proficiency Testing Provider, PT Provider)

ซึ่งการเข้าร่วมกิจกรรมการทดสอบความชํานาญเป็นกิจกรรมหนึ่งที่สําคัญในการประกันคุณภาพผลการทดสอบของห้องปฏิบัติการ และใช้สําหรับการเฝ้าระวังสมรรถนะในการดําเนินงานอย่างต่อเนื่องของห้องปฏิบัติการ ผู้จัดโปรแกรมการทดสอบความชํานาญห้องปฏิบัติการ เป็นผู้รับผิดชอบในการดําเนินการต่างๆ และประสานงานกับห้องปฏิบัติการ ตั้งแต่การจัดโปรแกรมการทดสอบความชํานาญจนถึงการประเมินผลการเข้าร่วมโปรแกรมของห้องปฏิบัติการ ผู้จัดโปรแกรมการทดสอบความชํานาญฯ ต้องมีความสามารถในการดําเนินงานที่ถูกต้องและเป็นไปตามมาตรฐานสากล เพื่อให้เป็นที่ยอมรับของห้องปฏิบัติการที่เข้าร่วมโปรแกรมการทดสอบความชํานาญฯ และเพื่อรองรับภาคการผลิตและบริการ ที่ต้องการขยายขอบข่ายกิจกรรมการทดสอบความชํานาญสาขาต่างๆ เพิ่มมากขึ้น
ทั้งนี้ วศ. มุ่งส่งเสริมให้ห้องปฏิบัติการที่เข้าร่วมโปรแกรมการทดสอบความชํานาญฯ และหน่วยงานที่ดำเนินการจัดโปรแกรมการทดสอบความชํานาญฯ เข้าใจ ISO/IEC 17043 : 2010 Conformity assessment – General requirements for proficiency testing ที่เป็นมาตรฐานสากล ว่าด้วยข้อกําหนดสําหรับการเป็นผู้จัดกิจกรรมทดสอบความชํานาญห้องปฏิบัติการต่อไป