เรื่องจริงต้องรู้…/ช. พิทักษ์.. “Sunisa Lee” นักยิมนาสติกเหรียญทองโอลิมปิกเชื้อสายม้ง

มหกรรมกีฬาโอลิมปิกกรุงโตเกียว 2020 จบแล้ว แต่จะยังไม่อยากเขียนเรื่องราวการจบของมหกรรมยิ่งใหญ่ครั้งนี้ ทั้งนี้ก่อนอื่นอยากอ่านบทวิจารณ์ที่สื่อชั้นนำแสดงความเห็น คือ อยากดูมีการพบข้อด้อยอะไร มีหรือไม่มีข้อด้อย?.

เพราะเห็นแต่คำชม ๆ การจัดครั้งนี้ทำได้ยิ่งใหญ่ตระการตา และให้รสชาติ จนคนชมแทบลืมเป็นการแข่งกีฬาในภาวะโรคระบาดใหญ่ สนามไม่มีคนดู ทั้งนักกีฬาและผู้เกี่ยวข้องต่างต้องระมัดระวังการติดเชื้อ จนแทบไม่ได้รับรู้การได้เข้าร่วม .
เมื่อต้องรอ ผู้เขียนจึงค้นหาหัวข้ออีกเรื่องที่จะเขียน ซึ่งไม่ยากเพราะมีหลากหลาย แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นผู้เขียนไม่ต้องเสียเวลานาน เพราะก่อนหน้าได้ชมลีลาการเล่นยิมนาสติกของนักแข่งชาวอเมริกันเชื้อสายม้ง

เป็นการแข่งรอบตัดสินที่ต้องขับเคี่ยวกับคู่แข่งฝีมือไม่ห่าง แข่ง ๆ ๆ ๆ จนภาพที่ปรากฎจะไม่หลุดจากความทรงจำของผู้รักกีฬายิมนาสติก เช่นเดียวกับการตัดสิน ซึ่งปกติจะรวดเร็ว แต่คราวนี้ต้องรอหลายนาทีกว่าผลจะออกมา .
ผู้เขียนรักยิมนาสติกเพราะทราบดีต้องใช้เวลาฝึกฝนนาน และอย่างทุ่มเทสุดหัวใจ ผลที่ได้นอกจากการเป็นนักกีฬาที่สามารถเข้าแข่งระดับโลก ยังจะได้เรือนร่างที่แข่งแกร่งบึกบึน อีกทั้งยังเป็นเรือนร่างที่สวยงาม เดินไปไหนคนต้องมอง

(https://hilight.kapook.com/view/215293)
เรือนร่างเป็นสมบัติ ประจำตัวทรงคุณค่าของนักยิมนาสติก แต่ไม่ใช่เท่านั้นมันสมองและจิตใจยังเยี่ยมเช่นกัน มีเกร็ดเกี่ยวกับชัยชนะครั้งล่าสุดของสุนิสา นั่นคือก่อนจบเธอเกิดอาการ twisties หมายถึงเธอลืมไปชั่วขณะท่าที่กำลังแสดงขณะนั้น.
เคราะห์ดีเป็นการลืมชั่วขณะ และหลังจากนั้นเธอยังสามารถประคองการแสดงจนถึงท่าสุดท้าย..
แต่ไม่ใช่เพราะยิมนาสติกเท่านั้นที่ผู้เขียนสนใจนักกีฬาเหรียญทองโอลิมปิกหญิงคนนี้ ผู้เขียนยังสนใจเพราะเธอเป็นชาวอเมริกันเชื้อสายม้ง คือเป็น HmongAmerican เคยเห็นหรือไม่คนที่มีเชื้อสายแบบนี้ .

(https://usagym.org/pages/athletes/athleteListDetail.html?id=467541)
ม้งที่เดิมคนไทยเรียกกะเหรี่ยง และคนตะวันตกเรียก karen ก่อนขยับมาเรียกแม้ว และต่อมาเรียกม้งตามที่ชาวม้งเรียกตัวเอง ด้วยชาวชาติพันธ์นี้มองคำว่ากะเหรี่ยงและแม้วเป็นคำดูถูก
แล้วสุนิสาเป็นม้งอเมริกันได้อย่างไร เรื่องนี้ต้องย้อนประวัติศาสตร์กลับถึงสมัยสงครามเวียดนามทศวรรษ 1960 ถึงกลางทศวรรษ 1970 สงครามนี้มีสมรภูมิใหญ่อยู่ในลาวตอนเหนือ ซึ่งเป็นถิ่นพำนักของชาวม้งมาตั้งแต่โบราณกาล..
เป็นสมรภูมิใหญ่เพราะกองทัพสหรัฐฯต้องขับเคี่ยวกับกองกำลังเวียดนามผสมลาวที่ไม่ยอมแพ้ ทั้งทิ้งระเบิด ทั้งส่งทหารรับจ้าง ซึ่งนอกจากทหารไทยแล้ว ยังมีชาวม้งที่สมัคร ในจำนวนนี้เป็นหัวหน้ากองกำลังที่มีชื่อเรียก นายพลวังเปา ..

(https://topwar.ru/uploads/posts/2019-05/1556924286_vp.jpg)
ซึ่งก็สู้แบบไม่ยอมแพ้เช่นกัน สงครามยุติด้วยความพ่ายแพ้ของสหรัฐฯ ทำให้พวกที่เข้าไปช่วยรบต้องถอนกำลังออกจากสมรภูมิเช่นกัน ถอนไปไหน? ถอนมาที่ไทย จำได้มาอยู่สวนลุมพินีในกรุงเทพฯ ซึ่งสหรัฐฯจัดพื้นที่ให้ผู้ที่จะอพยพไปสหรัฐฯ..
และที่สวนลุมฯนี่เอง ที่ทำให้เธอได้ชื่อสุนิสา จากการที่สุนิสา สุขบุญสังข์ นักร้องไทยกำลังเป็นนักร้องดัง และแม่เธอชื่นชม สุนิสา ลีเกิดวันที่ 9 มีนาคม 2003 หรือ 2546 ดังนั้นตอนนี้เธอจึงอายุเพียง 18 ปี และยังจะมีอะไรรอให้ทำอีกเยอะ..
โดยเฉพาะการล่าเหรียญทองโอลิมปิกครั้งต่อ ๆ ไป ซึ่งที่ยอดนักยิมนาสติกหญิงคนนี้หมายตาได้แก่ เหรียญทองที่การแข่งโอลิมปิกกรุงปารีสในอีก 3 ปี ..
แต่เหตุผลสำคัญที่สุดที่ทำให้ผู้เขียนต้องเขียนถึงเธอก็คือ เธอเป็นผู้อพยพที่สามารถสร้างตัวเองให้มีหลักมีฐานมั่นคง และมีชื่อเสียง ประวัติบุคคลเหล่านี้ในสหรัฐฯล้วนน่าสนใจ และยิ่งสมควรสนใจถ้าเป็นชาวม้ง ชาวชนเผ่าเล็ก ๆจากดินแดนไกลโพ้น..
พื้นที่เกิดของสุนิสาคือ เมือง Saint Paul มลรัฐ Minnesota ซึ่งมลรัฐภาคกลางแห่งนี้กำลังเป็นถิ่นชาวม้งที่อพยพจากลาว โดยยังเป็นมลรัฐที่มีความสำคัญทางเกษตรกรรม เช่นเดียวกับเซนต์ พอลที่เป็นเมืองหลวง . .


และอยู่ติดมินนิอาโพลิส มหานครสำคัญทางเศรษฐกิจ และการอยู่ติดกันทำให้เมืองและมหานครคู่นี้ถูกเรียก twin cities หรือเมืองแฝด โดยมีพื้นที่ใหญ่อันดับ 13 ของสหรัฐฯ และมีประชากร 3.5 ล้านคน ..
คงอยากรู้ใช่หรือไม่ลีลาชีวิตของเธอ? สุนิสามีลีลาชีวิตที่เดินตามความยุ่งยากและอุปสรรคหลากชนิด ความยุ่งยากแรกคือ การที่เธอต้องฟันฝ่าด่านนักยิมนาสติกหญิงที่ครองพื้นที่ก่อนเธอ ซึ่งล้วนมีฝีมือเยี่ยม .
โดยเฉพาะคนสุดท้าย Simone Biles นักยิมนาสติกผิวสีที่ครองเหรียญรางวัลนานาชาติมากถึง 32 เหรียญ ทั้งโอลิมปิกและการแข่งระดับสากลรายการอื่น ไบลส์เป็นข่าวหลังเธอประกาศถอนตัวออกจากการแข่งโอลิมปิกครั้งล่า.

การถอนตัวที่เปิดทางให้สุนิสาขึ้นแทน โดยไบลส์ให้เหตุผลเธอมีอาการ twisties โดยคราวนี้กระทบทุกท่าแข่ง ไม่ใช่เฉพาะท่าบนพื้น และนอกจากจะต้องฝ่าด่านคู่แข่งฝีมือเยี่ยมแล้ว สุนิสายังมีดวงชะตาที่ผูกโยงกับอุบัติเหตุ.
ทั้งนี้อุบัติเหตุที่สะเทือนใจเธอที่สุดคือ การที่พ่อเธอตกบันไดปีน จนต้องกลายเป็นคนพิการนั่งรถเข็น พ่อเธอ John Lee ชาวม้งอเมริกันเช่นกัน ที่เป็นกำลังใจให้เธอและช่วยเหลือเธอมาตลอด ตั้งแต่เธอเริ่มฝึกเป็นนักยิมนาสติกตอนอายุ 6 ขวบ .

พ่อเธอบอกเธอให้ไป ๆ ๆ ๆ ไปแข่งชิงเหรียญรางวัล ดังนั้นเธอจึงได้มาแข่งโอลิมปิกเพื่อชิงเหรียญ มาแข่งทั้ง ๆ ที่กลางปีที่แล้วข้อเท้าซ้ายเธอบิดเบี้ยว หลังเธอตกจากบาร์คู่ ทำให้ต้องหยุดพักนาน 3 เดือน ..
แต่ไม่ใช่เท่านั้น เพราะในช่วงเดียวกันสุนิสายังต้องสูญเสียคุณอาผู้ชายและคุณอาผู้หญิงที่เธอรัก จากการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 และเธอยังสะเทือนใจอีกครั้งตอนลงแข่งโอลิมปิกครั้งล่า .
สะเทือนใจจากการที่การแข่งไม่อนุญาติให้กองเชียร์เข้าไปเชียร์ในสนาม ทำให้เธอต้องแข่งท่ามกลางความเงียบเหงา โชคยังมีอยู่บ้างจากการที่คุณพ่อเธอสามารถเชียร์ เพราะเป็นครูฝึกประจำตัว
ยัง ๆ ๆไม่หมดเพราะเธอยังต้องเผชิญกับแรงกดดันที่เป็นการคาดหวังขั้นสูงสุด มีการคาดหวังสุนิสาจะต้องเป็นผู้ชนะเลิศการแข่งยิมนาสติก เพื่อจำนวนเหรียญทองจะได้ช่วยทีมชาติสหรัฐฯผงาด ซึ่งก็ผงาดตามที่คาด ..
โดยสามารถคว้าเหรียญรางวัลได้มากกว่าทีมชาติจีนที่ได้เหรียญรางวัลมากอันดับ 2 สุนิสาเพิ่งเรียนจบมัธยม และเพิ่งเข้าศึกษาต่อที่ Auburn University มหาวิทยาลัยดีที่สุดอันดับที่ 97 แห่งสหรัฐฯ ตั้งอยู่ที่มลรัฐอะแลบามา ทางตอนใต้สหรัฐฯ

(https://www.al.com/coronavirus/2020/09/auburn-universitys-covid-19-case-count-rises-to-517.html)
โดยเธอยังไม่ตัดสินใจจะเรียนสาขาวิฃาอะไร แต่น่าจะเป็นพลศึกษาที่พ่วงยิมนสาติก จากการที่ออเบิร์นมีทีมยิมนาสติกชั้นเลิศ และเธอคุ้นเคยกับ Jeff Graba ผู้ฝึกสอนยิมนาสติก .. เนื่องจากเป็นคู่แฝด Jess Graba ครูฝึกประจำตัวเธอ
สุนิสาเรียกมหาวิทยาลัยออเบิร์น home หมายถึงเป็นบ้านที่เธออาศัย วันที่เธอเข้าเรียนมหาวิทยาลัยจัดพิธีต้อนรับเอิกเกริก มีการคาดการณ์ต่อไปมหาวิทยาลัยนี้จะเป็นบ้านเธอไปตลอด
สาวเก่งเชื้อสายม้งคนนี้จะอยู่ในความทรงจำของชาวอพยพในสหรัฐฯ ชาวม้งและชาวยิมนาสติกทั่วโลก คาดว่า คลิปการเล่นนาทีท้าย ๆ ในโอลิมปิกครั้งล่า น่าจะเป็นคลิปยิมนาสติกวิเศษสุด ที่จะมีการเผยแพร่ทางออนไลน์ตลอดไป .

(https://accesswdun.com/article/2021/7/1025752)
จนกลายเป็นแรงบันดาลใจให้เด็กสาวทั้งหลายหันมาเล่นกีฬาประเภทนี้ เป็นนักกีฬายิมนาสติกไม่ได้เหรียญไม่เป็นไร เพราะได้เรือนร่างสวยเลอค่าแล้ว..