ชวนSMEsช้อปผลงานวิจัย
งาน “Technology Show”
กระทรวงวิทย์ โดยสวทช.ร่วมหน่วยงานวิจัยและภาคการศึกษา 9 แห่ง จัดงาน “โครงการขับเคลื่อนผลงานวิจัยสู่เชิงพาณิชย์ ปี 2558/2” เพื่อให้ภาคเอกชนที่สนใจช้อปผลงานวิจัย ไปต่อยอดหรือผลิตสินค้าที่แปลกใหม่ขายได้เลย ค่าใช้จ่ายซื้อสิทธิ์นำไปใช้ประมาณ 3 หมื่นบาท ขายได้ค่อยคืนกำไร2% กลับหมุนเวียนเป็นทุนวิจัยต่อ จัดแสดง 82 ผลงานในงาน “Technology Show ” 15 ก.ย. 2558 นี้ ณ โรงแรมสุโกศล
ดร. พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประธานในงานแถลงข่าวเปิดเผยว่า “รัฐบาลให้ความสำคัญกับสร้างความเข้มแข็งทางด้านสังคมและเศรษฐกิจ การสร้างนวัตกรรมที่เป็นของตนเองผ่านทางการวิจัยพัฒนาทั้งภายในองค์กรเองหรือสถาบันวิจัยต่างๆ เป็นหนทางเดียวที่จะเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศได้อย่างมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน โดยการสร้างสังคมให้เป็นสังคมพื้นฐานองค์ความรู้ถือเป็นนโยบายหลักของกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ รวมทั้งการสนับสนุนการผลักดันผลงานเหล่านั้นให้จับต้องได้ ส่งเสริมการถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ภาคเอกชนเพื่อผลิตเป็นสินค้าและบริการที่เกื้อหนุนเศรษฐกิจ และเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยเฉพาะในสาขาที่ประเทศไทยมีศักยภาพสูง ได้แก่ อาหารและการเกษตร อุตสาหกรรมการผลิตและบริการ รวมทั้งด้านและสุขภาพและสมุนไพร เป็นต้น”
“โครงการขับเคลื่อนผลงานวิจัยสู่เชิงพาณิชย์ เป็นโครงการที่ภาครัฐผลักดันและสนับสนุนให้เอกชนให้ความสำคัญและสนใจลงทุนใการวิจัยและพัฒนามากขึ้น เป็นโอกาสที่ SME ที่ไม่ได้มีทีมวิจัยพัฒนาเป็นของตนเอง จะสามารถเข้ามาเลือกใช้ประโยชน์จากงานวิจัยที่ตอบโจทย์กับธุรกิจของตนได้ อีกทั้งยังเป็นการกระตุ้นให้นักวิจัยเข้าใจและเข้าถึงความต้องการของภาคเอกชนได้อย่างแท้จริง ทำให้สามารถพัฒนานวัตกรรมเพื่อเพิ่มศักยภาพให้ภาคอุตสาหกรรมได้ เมื่อภาคเอกชนเห็นความสำคัญจะส่งผลให้มูลค่าการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาของประเทศเพิ่มมากขึ้น ลดการนำเข้าหรือการใช้งานเทคโนโลยีจากต่างประเทศ และต้นทุนของการผลิตเองจะถูกลงตามเช่นกัน ตลอดจนเศรษฐกิจของประเทศจะสามารถก้าวต่อไปได้อย่างมั่นคงในท้ายที่สุด”
ทั้งนี้ค่าใช้จ่ายในการซื้อสิทธิ์นำผลงานวิจัยไปใช้มีมูลค่าประมาณ 3 หมื่นบาทและหากงบประมาณไม่พอ ยังมีรายการสนับสนุนด้านการเงินอีกหลายอย่าง อาทิ คูปองนวัตกรรมสนับสนุนอีกไม่เกิน 1.5 ล้านบาทหรือโครงการเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำของสวทช.เพื่อช่วยสร้างโรงงานผลิตและดำเนินการเพื่อนำสินค้าออกสู่ตลาด หลังจากขายสินค้าได้แล้ว ค่อยคืนกำไรจากยอดขายที่ 2% ตามกรอบเวลาที่ตกลงกัน เพื่อกลับหมุนเวียนสู่หน่วยงานวิจัยเพื่อใช้เป็นทุนสำหรับวิจัยต่อไป”
นายวิเชียร เชิดชูตระกูลทอง รองเลขาธิการสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวถึง นโยบายของสภาอุตสาหกรรมฯ ในการเพิ่มศักยภาพผู้ประกอบการไทยด้วยเทคโนโลยี
“สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรที่มุ่งเน้นการสนับสนุนและเสริมสร้างการพัฒนาศักยภาพและเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรม ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคอย่างบูรณาการ จึงได้มีความร่วมมือกับภาครัฐและเอกชนดำเนินโครงการต่างๆ มากมาย อีกทั้งเป็นตัวแทนภาคอุตสาหกรรมเสนอแนวทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และอุตสาหกรรม เพื่อผลักดันให้เป็นนโยบายของรัฐบาลในการพัฒนาและยกระดับการผลิตของภาคอุตสาหกรรม พร้อมทั้งพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือของสมาชิกรวมถึงหน่วยงานภาครัฐ เพื่อสร้างความเป็นเอกภาพและความสมานฉันท์ในการร่วมกันขับเคลื่อนเศรษฐกิจจากภาคอุตสาหกรรมให้มีขีดความสามารถการแข่งขันได้ในระดับสากล
สภาอุตสาหกรรมฯ ตระหนักถึงความสำคัญของการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม ซึ่งเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์กร ที่มุ่งเน้นการสนับสนุนและเสริมสร้างการพัฒนาศักยภาพและเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรม ในส่วนของนโยบายก็ได้มีการกำหนดให้ “การเพิ่มขีดความสามารถของภาคอุตสาหกรรม ด้วยเทคโนโลยี และนวัตกรรม” เป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์ของสภาอุตสาหกรรมฯ ซึ่งในการนี้ สภาอุตสาหกรรมฯ ก็ได้มีความร่วมมือกับ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ในการดำเนินงาน “โครงการขับเคลื่อนผลงานวิจัยสู่เชิงพาณิชย์” ซึ่งเป็นโครงการที่มีวัตถุประสงค์หลักในการนำผลงานวิจัย เทคโนโลยี และนวัตกรรม ของหน่วยงานภาครัฐและมหาวิทยาลัย มาสู่ภาคอุตสาหกรรมเพื่อต่อยอดเชิงพาณิชย์อย่างเป็นรูปธรรม
โดยเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนสามารถนำผลงานวิจัย เทคโนโลยี และนวัตกรรม มาพัฒนาต่อยอดได้ในราคาถูก เพื่อนำไปสู่การผลิต จำหน่ายและ/หรือการประกอบการแบบไม่สงวนสิทธิ (Non-exclusive) ซึ่งจะสร้างประโยชน์ให้แก่นักวิจัยและผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรม โดย สถาบันวิจัยพัฒนาและนวัตกรรมเพื่ออุตสาหกรรม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ทำหน้าที่เป็นหน่วยงานอำนวยความสะดวก รวบรวม และกระจายข้อมูลต่างๆ ให้เกิดการเชื่อมโยงผลงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้แก่ผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมได้ใช้เทคโนโลยีดังกล่าว ซึ่งผลการดำเนินงาน “โครงการขับเคลื่อนผลงานวิจัยสู่เชิงพาณิชย์” ในระยะที่ 1 ที่ผ่านมานั้น มีจำนวนผลงานเทคโนโลยีที่เข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น จำนวน 11 ผลงาน และมีกำหนดการ สมัครขอรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีวันสุดท้ายเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2558 ที่ผ่านมา รวมผู้ประกอบการภาคเอกชนขอรับเทคโนโลยี จำนวน 6 ราย สำหรับในระยะที่ 2 นี้ มีจำนวนผลงานเทคโนโลยีที่เข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น จำนวน 82 ผลงาน ซึ่งสภาอุตสาหกรรมฯ คาดหวังว่าจะกระตุ้นและขยายการใช้ประโยชน์จากผลงานวิจัย เทคโนโลยี และนวัตกรรมเหล่านี้สู่ภาคอุตสาหกรรมในวงกว้างขึ้น”
ด้านประวิทย์ ประกฤตศรี ประธานคณะกรรมการนวัตกรรมและการวิจัย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กล่าวว่า หอการค้าไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ให้ความสาคัญกับการสร้างความสามารถในการแข่งขันให้ผู้ประกอบการในปี พ.ศ. 2558-2559 จึงได้กาหนดวิสัยทัศน์ “การเป็นสถาบันหลักทางธุรกิจ ที่มีองค์ความรู้ มีเครือข่าย และความร่วมมือที่เข้มแข็งที่สุดของประเทศ โดยมีเป้าประสงค์ให้ประเทศไทย มีศักยภาพและแสวงหาโอกาส ให้สามารถแข่งขันได้ ในตลาดโลกอย่างยั่งยืน” พร้อมกาหนดพันธกิจเพื่อมุ่งไปสู่เป้าหมาย 3 เสาหลักได้แก่
1. Competitiveness Enhancement ด้านการพัฒนา เพิ่มพูนทักษะความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการทุกภาคส่วน โดยเฉพาะ SMEs อาทิ กิจกรรม ด้านพัฒนาธุรกิจเกษตรและอาหาร, โครงการอบรมและสัมมนา “SMEs…วิธีทาเงิน, SMEs…On Site Visit, SMEs Pro-active, โครงการสุดยอด SMEs จังหวัด, โครงการลงบัญชีสาหรับธุรกิจ SMEs, โครงการสนับสนุนผู้ประกอบการด้านการงินการลงทุน, โครงการศูนย์ THAILAND SMEs CENTER และแสดงสินค้าและจับคู่ธุรกิจ ASEAN SMEs Expo ฯลฯ
นอกจากนั้นยังมีโครงการและแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมไทยด้วยการวิจัย อาทิ
– โครงการคูปองนวัตกรรมฯ ระยะที่ 2 ซึ่งหอการค้าไทยกาหนดเป้าหมายผู้ประกอบการเข้าร่วมไม่น้อยกว่า 100 รายในปี 2558 -2559
– ผลักดันให้เกิดโครงการ Bio-based Industry เพื่อมุ่งเน้นสร้างความเข้มแข็งให้กับห่วงโซ่อุตสาหกรรมเกษตร วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาจุดที่จะใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมเข้าไปเพิ่มมูลค่าทั้งในแง่การเพิ่มประสิทธิภาพ ลดต้นทุน เพิ่มคุณภาพและเพิ่มความหลากหลายให้กับผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรของไทยให้มีมูลค่าเพิ่มสูงขื้น
– โครงการ Innovative Packaging for SMEs กาหนดเป้าหมายผู้ประกอบการเข้าร่วมไม่น้อยกว่า 2,500 รายในปี 2558 -2559
– โครงการศูนย์ปรึกษาการประหยัดพลังงาน ซึ่งได้จัดตั้งมาเป็นปีที่ 7 โดยมีสมาชิกเข้าร่วมกิจกรรมกว่า 2,000 บริษัท พร้อมจัดอบรมสัมมนาการประหยัดพลังงาน การให้คาปรึกษาเชิงลึกด้านพลังงาน เป็นต้น
– โครงการจัดตั้งสถาบัน THAILAND SMEs CENTER BY THAI CHAMBER OF COMMERCE เพื่อรองรับการให้บริการและให้คาปรึกษาเพื่อยกระดับศักยภาพของภาคการค้า บริการ และอุตสาหกรรม
– การผลักดันการทาการเกษตรสมัยใหม่ (Modern Farming) และการรวมแปลงการผลิตขนาดใหญ่เพื่อใช้เครื่องจักรในการบริหารจัดการ (Mechanization) เพื่อเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุน
2. Connectivity and Collaboration ด้านการพัฒนาเครือข่าย และความร่วมมือกับภาครัฐและเอกชน ทั้งในประเทศระดับภูมิภาค และระดับโลก อาทิกิจกรรม งานสัมมนา AEC and SMEs Challenges: Next Steps (Phase 6), งานสัมมนา ASEAN Business Forum 2015, โครงการสร้างศักยภาพให้กับ YEC หอการค้า (โครงการ SEED: รุ่น2), การเดินทางเยือนต่างประเทศและการส่งเสริมการค้าและความร่วมและความร่วมมือกับภาครัฐ โครงการจัดทาฐานข้อมูลงานวิจัย นักวิจัย หรือ ผู้เชี่ยวชาญ และ กลุ่มผู้ประกอบการ SME และการนางานวิจัยไปประยุกค์ใช้เพื่อให้เกิดการนางานวิจัยไปใช้งานให้ได้จริง
3. Good Governance & Corporate Social Responsibility ด้านการลดความเหลื่อมล้าเสริม สร้างธรรมาภิบาล และความรับผิดชอบในการดาเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน อาทิ โครงการประกาศเกียรติคุณจรรยาบรรณดีเด่นประจาปี (ปีที่ 13), วันต่อต้านคอร์รัปชัน, การปรับปรุงสัญลักษณ์ Q-MARK เป็นต้น
ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล ผู้อำนวยการศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวถึงภาพรวมการจัดงานว่า “โครงการขับเคลื่อนผลงานวิจัยสู่เชิงพาณิชย์ ได้ดำเนินการต่อกันมาเป็นปีที่ 2 สิ่งที่พิเศษเพิ่มจากปีที่แล้วคือ เรามีหน่วยงานพันธมิตรมาช่วยกันเพิ่มขึ้นอีก 8 หน่วยงาน ได้แก่ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย หรือ วว. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยนเรศวร มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และมหาวิทยาลัยแม่โจ้ รวมทั้ง สวทช. เองด้วย ทั้งสิ้นเป็น 9 หน่วยงาน พร้อมที่จะร่วมกันนำเสนอผลงานวิจัยมากถึงจำนวน 82 ผลงาน ครอบคลุมกลุ่มอุตสาหกรรมมากขึ้น ได้แก่ อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม โดยเฉพาะกลุ่มผุ้สูงอายุ อุตสาหกรรมเครื่องมือและอุปกรณ์การแพทย์ อุตสาหกรรมการเกษตรทั้งก่อนและหลังเก็บเกี่ยว อุตสาหกรรมเวชสำอางค์และสมุนไพร และอื่นๆ เช่น เทคโนโลยีในด้านความมั่นคง และการประหยัดพลังงาน”
ผลงานวิจัยทั้งหมดจะจัดบรรยายและแสดงในงาน Technology Show ซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 15 กันยายน 2558 ณ โรงแรมสุโกศล ถนนศรีอยุธยา กรุงเทพฯ ตั้งแต่เวลา 8.30 – 17.00 น. เพื่อให้ผู้สนใจโดยเฉพาะบริษัทภาคเอกชน ได้รับฟังข้อมูลงานวิจัยในกลุ่มต่างๆ รวมทั้งรายละเอียดในการถ่ายทอดเทคโนโลยี
สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมและลงทะเบียนเข้าร่วมงานล่วงหน้าได้ที่ www.nstda.or.th/nstda-services หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทรศัพท์ 0-2564-8000