โชว์ผลวิจัยเทคโนฯคอมพ์
ประชุมวิชาการเนคเทค58
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) จัดงานประชุมวิชาการและนิทรรศการเนคเทค ปี2558 (NECTEC ACE 2015) ภายใต้แนวคิด เนคเทค: พลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจนวัตกรรม หรือ NECTEC: A Driving Force to an Innovation Economy เป็น เวทีทางวิชาการ นำเสนอความก้าวหน้าผลงานวิจัยด้านเทคโนโลยี อิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ วันพุธที่16 ก.ย. 58 ณ โรงแรมฮอลิเดย์อินน์
ภายในงานจะมีการนำเสนอผลงานวิจัยพัฒนา เทคโนโลยี องค์ความรู้ และนวัตกรรมที่เนคเทคและพันธมิตรคิดค้นขึ้น ในการนำไปใช้เป็นพื้นฐานหรือพัฒนาต่อยอด เพื่อช่วยส่งเสริม ผลักดันให้เกิดการเติบโตของการดำเนินธุรกิจ สร้างมูลค่าเพิ่ม สร้างรายได้ รวมถึงเกิดผลลัพธ์ในเชิงการกระตุ้นเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ทั้งในด้านอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ การเกษตร การแพทย์ อุตสาหกรรมบริการ และกลุ่มผู้ด้อยโอกาส ใน
ภายในงานท่านจะได้พบกับหัวข้อสัมมนาที่น่าสนใจ อาทิ
-ทางรอดวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมสำหรับการพิมพ์ไทยด้วยเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์แบบพิมพ์ได้ (the survival of SME with thai printed electronics technology
เป็นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการพิมพ์ที่ใช้อยู่ในอุตสาหกรรมการพิมพ์ปัจจุบัน มาใช้สร้างวงจรและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ โดยใช้พลาสติกนำไฟฟ้าหรือโมเลกุลอินทรีย์เพื่อสร้างวงจรหรือเป็นฐานรอง สำหรับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ อันมีผลทำให้เกิดกระบวนการใหม่ในการประกอบอุปกรณ์ รวมไปถึงคุณสมบัติใหม่ ซึ่งทำให้เกิดการประยุกต์ใช้งานได้เพิ่มเติมที่ดีกว่าอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน
-ระบบประเมินพืชทดแทนที่ให้กำไรสูงสุด (agricultural zoning optimization)
ด้วยความสำคัญของภาคเกษตรกรรมที่มีต่อภาคเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ เป็นแหล่งรายได้หลักของคนส่วนใหญ่ซึ่งมีอาชีพทำการเกษตร ทั้งพื้นที่ประมาณครึ่งหนึ่งของประเทศยังเป็นพื้นที่เกษตรกรรมซึ่งเป็นฐานใน การสร้างมูลค่าเพิ่มของภาคอุตสาหกรรมในประเทศที่สำคัญ ประกอบกับ เกษตรกรรายย่อยมักประสบกับปัญหารายได้ต่ำ เนื่องจากความผันผวนทางการตลาด และขาดการวางแผนจัดการการผลิตที่ดี ที่สำคัญคือ ไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจว่าจะเพาะปลูกพืชชนิดใด เมื่อไร และอย่างไร ในขณะที่ภาครัฐเองก็ขาดข้อมูลภาคสนามที่ถูกต้องสมบูรณ์ ทำให้การวางแผนในระดับมหภาคไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง ภาครัฐจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการ พื้นที่เกษตรกรรม (zoning) ด้วยการใช้ประโยชน์ที่ดินของประเทศให้เกิดประโยชน์และมีประสิทธิภาพสูงสุด
สร้างโอกาสทางธุรกิจด้วยการเชื่อมต่อของทุกสิ่งบนเทคโนโลยีกลุ่มเมฆ (create business opportunities with internet of thing cloud platform) Internet of Things หรือ IoT
หัวข้อที่เป็นไฮไลท์ คือ สภาพแวดล้อมอันประกอบด้วยสรรพสิ่งที่สามารถสื่อสารและเชื่อมต่อกันได้ผ่านโพรโทคอลการสื่อสารทั้งแบบใช้สายและไร้สาย ความสามารถในการสื่อสารของสรรพสิ่งนี้จะนำไปสู่นวัตกรรมและบริการใหม่มากมาย
-เทคโนโลยีประมวลผลภาษา อนาคตนวัตกรรมแปลงเสียงพูดเป็นข้อความภาษาไทยที่ไกลกว่าบนสมาร์ทโฟน (the future of thai speech-to-iext innovation – beyond smart phones) : ปัจจุบันเทคโนโลยีแปลงเสียงพูดเป็นข้อความ (speech-to-text) หรือ ที่รู้จักกันโดยทั่วไป คือการพูดแทนการพิมพ์ หรือการสั่งงานด้วยเสียง เริ่มเป็นที่รู้จักและเริ่มมีแอพพลิเคชั่นถึงมือผู้ใช้ทั่วไปเราจะได้ ประโยชน์จากการนำนวัตกรรมแปลงเสียงพูดเป็นข้อความภาษาไทยนี้มาใช้ในรูปแบบ อื่นได้อย่างไรอีกบ้าง มาพบกับเรื่องราวที่น่าสนใจกับนวัตกรรมที่เข้ามาใกล้ตัวทุกคน
-นวัตกรรมเพื่อคุณภาพชีวิต (innovations for better life) : การพัฒนากระบวนการคิดเชิงนวัตกรรมเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้คนในสังคมจากหน่วยงานเอกชน เป็นความท้าทาย โดยเฉพาะในยุค CSR 2.0 หรือ CSV (create shared values) เนื่อง ด้วยการพัฒนานวัตกรรมจะต้องถูกออกแบบเพื่อตอบโจทย์ทั้งทางสังคมและปลูกฝัง คุณค่าเข้าไปในการดำเนินงานของธุรกิจอย่างลงตัว ปัจจุบันทุกบริษัทยัง พยายามทดลองเพื่อหากระบวนการพัฒนาที่เหมาะสมกับวัฒนธรรมของเอกชน และ สังคมไทย การแบ่งปันประสบการณ์กระบวนการคิด น่าจะเป็นการช่วยยกระดับภาพรวมให้การพัฒนานวัตกรรมเพื่อสังคมในประเทศไทย
-ผลงานของท่านผ่านมาตรฐานเว็บไซต์และอุปกรณ์เคลื่อนที่ที่ทุกคนเข้าถึงและใช้งานได้หรือยัง (web accessibility & mobile accessibility standard) : การจัดทำและใช้งานมาตรฐานทางด้าน web accessibility & mobile accessibility เกิดขึ้นจากความตั้งใจร่วมกันของกลุ่มนักเทคโนโลยี ผู้ใช้งาน นักวิจัยนโยบาย และนักธุรกิจ เพื่อจัดการกับความเหลื่อมล้ำนี้
-ไอซีทีเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับชุมชนชายขอบ (life long learning with ICT technology for marginal people) : การลดปัญหาด้านความเหลื่อมล้ำทางเทคโนโลยี โดยเฉพาะในพื้นที่ชนบทที่อยู่ห่างไกลและทุรกันดารที่โครงสร้างพื้นฐานหลัก การเลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสม ซึ่งในพื้นที่ชนบทที่ห่างไกลอย่างชุมชนชายขอบมีความท้าทายในการแก้ไขปัญหา อย่างมาก ทั้งการเข้าถึงพื้นที่ที่ลำบากเนื่องจากลักษณะภูมิประเทศ ลักษณะของประชากรในท้องถิ่น ปัญหาตามแนวชายแดน การศึกษา การสาธารณสุข และความยั่งยืนของโครงการ
นอกจากนี้ยังมีกลุ่มนิทรรศการผลงานวิจัยที่หลากหลายพร้อมสู่การถ่ายทอดและนำไปใช้งานได้จริง อาทิ
นวัตกรรมเศรษฐกิจ ผลงานวิจัยและพัฒนาที่ช่วยสร้างมูลค่า เพิ่มทางเศรษฐกิจของประเทศ
นวัตกรรมเพื่อสังคม ผลงานวิจัยและพัฒนาที่ช่วยยกระดับ ความเป็นอยู่ และคุณภาพชีวิตทให้ดีขึ้น
ผลงานโครงการต่อกล้า ผลงานทางด้านไอทีที่ต่อยอดพัฒนา โปรแกรมซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ของนักเรียน นักศึกษา และ บุคคลทั่วไป ติดอาวุธด้านการตลาด พร้อมสู่การใช้งานจริง
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : งานประชาสัมพันธ์เนคเทค
โทร ๐๒ ๕๖๔ ๖๙๐๐ ต่อ ๒๓๓๕–๒๓๔๐
www.nectec.or.th/ace2