อว. พร้อมผลักดัน Uninet จับมือHUAWEI ถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาการศึกษา

อว. พร้อมผลักดัน : Uninet จับมือกับ HUAWEI ถ่ายทอดองค์ความรู้ทางด้านเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาการศึกษา
19 กันยายน 2565 นายเอกพงศ์ มุสิกะเจริญ รองผู้อำนวยการสำนักงานบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา (UniNet) ร่วมเป็นวิทยากรบรรยายภายในงาน HUAWEI CONNECT Bangkok 2022 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ความร่วมมือในครั้งนี้เพื่อเสริมกำลังความแกร่งของการศึกษาไทยเพื่อเพิ่มความเท่าเทียมกันและลดความเลื่อมล้ำของการศึกษา ช่วยให้นักเรียนนักศึกษาในระดับโรงเรียนประถม มัธยมและอุดมศึกษา ได้เข้าถึงระบบการศึกษาอย่างเสมอภาคและไร้ความเหลื่อมล้ำ

นายเอกพงศ์ มุสิกะเจริญ กล่าวว่า ปัญหาระดับโลกและภูมิภาคที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา ไม่ว่าจะเรื่องการขาดแคลนทรัพยากรแรงงาน (กำลังคน) ทักษะความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เราต่างตระหนักและพร้อมจะร่วมกันแก้ไขปัญหานี้ ซึ่งขณะนี้ได้เป็นปัญหาของทุกๆ ประเทศรวมถึงประเทศไทยและกลุ่มประเทศใน APAC เช่นเดียวกัน ทุกประเทศต่างช่วยกันออกแบบระบบการศึกษาและการฝึกอบรมเพื่อให้คนหรือแรงงานสอดคล้องและตอบโจทย์ตลาดแรงงานที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

อีกทั้ง Application ที่เกี่ยวข้องกับ Digital Technologies ต่างๆ ถูกพัฒนาออกมาใช้งานอย่างแพร่หลายเป็นอย่างมาก เช่น Cloud Computing, IoT, and AI ดังนั้นการศึกษาเกี่ยวข้องกับ Digitalization กลายเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่กลับถูกเร่งให้เกิดการเรียนรู้อย่างเร่งด่วน ช่องทางหรือวิธีการเรียนรู้หรือการศึกษามีหลากหลายเพิ่มมากขึ้นไม่ใช่แค่เพียงในห้องเรียนเพียงอย่างเดียว ประสบการณ์การเรียนรู้กลายเป็นสิ่งจำเป็นนอกจากการเรียนในตำราหรือทฤษฎี การเรียนรู้ที่ไหนก็ได้ เวลาไหนก็ได้ กลายเป็นสิ่งที่ทุกคนไม่ว่าจะเป็นนักเรียนหรือนักศึกษา แม้กระทั่งคนทั่วไป

รองฯ เอกพงศ์ กล่าวอีกว่า องค์กรที่เกี่ยวข้องกับภาคการศึกษาไม่ว่าจะเป็นกระทรวง มหาวิทยาลัย หรือโรงเรียนก็ตาม ต่างกำลังเผชิญความท้าทายนี้ การมีโครงสร้างเครือข่ายทางด้านเทคโนโลยีและการสื่อสารที่แข็งแรง รวดเร็ว ทันสมัยและมีเสถียรภาพ ทั้งภายในมหาวิทยาลัยและระหว่างมหาวิทยาลัย รวมทั้งนวัตกรรมการสอนที่ทันสมัย การทำวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์ผ่านระบบคลาว์ด (Cloud-based) นั้นจะสามารถช่วยให้มหาวิทยาลัยต่างๆ สร้างเป็นมหาวิทยาลัยที่ชาญฉลาด (Smart Campus) พัฒนาและยกระดับมาตราฐานการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ หน้าที่ของ Uninet ในปัจจุบันและ Vision ในอนาคตที่สอดคล้องต่อระบบการศึกษาในอนาคตเพื่อตอบสนองตลาดแรงงานที่คลาดแคลนและมุ่งเน้นทาง skills-based มากกว่า degree-based รวมถึงการมีฐานข้อมูลมหาศาล (Big Data) เพื่อใช้ในการวิเคราะห์ วางแผน ออกแบบ และเตรียมบุคลากรเพื่อลดช่องว่างการขาดแคลนตลาดแรงงานทั้งในประเทศและภูมิภาค โครงสร้างพื้นฐานถือว่าเป็นสิ่งจำเป็นที่สุดเพื่อรองรับเทคโนโลยี่สมัยใหม่, แอปพลิเคชั่นต่างๆ และการสร้างสิ่งแวดล้อมทางการศึกษาเพื่อการวิจัยและเรียนรู้ โดย Uninet ได้เริ่มทำการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานซึ่งโครงสร้างนี้สามารถรองรับเทคโนโลยีในอนาคตได้อีก 10 ปีข้างหน้า

“เพื่อพัฒนาประเทศและระบบทางการศึกษาให้ทันสมัยและสอดคล้องกับนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของชาติ Uninet ภูมิใจที่เป็นฟันเฟืองที่สำคัญในการพัฒนาระบบการศึกษาและพัฒนาบุคคลกร เพิ่มความเท่าเทียมกันและลดความเลื่อมล้ำทางการศึกษา และเร่งให้ประเทศไทยก้าวเข้าสู่ Education 4.0 อย่างเต็มรูปแบบ” รองผู้อำนวยการ Uninet กล่าวในตอนท้าย