“DIPROM” ผลักดัน Soft Power ไทย หนุนนักเขียนบทละครหน้าใหม่สู่อุตสาหกรรมสร้างสรรค์
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือดีพร้อม ร่วม “สานฝันปั้นนักเขียนบทสร้างสรรค์โตไวอย่างมืออาชีพ” กับกิจกรรมส่งเสริมอุตสาหกรรมดีพร้อมผ่านบทละครเชิงสร้างสรรค์ DIPROM Creative Drama Script – DCS 2023 พัฒนาและผลักดันนักเขียนบทละครหน้าใหม่ให้ก้าวสู่อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ของไทย (Creative Economy) ได้อย่างมืออาชีพ ปิดท้ายกิจกรรมและมอบรางวัลสุดยอดนักเขียนบทละครโทรทัศน์ เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2566 ณ SCG Home Experience ชั้น 1 Crystal Design Center (CDC)
นายวัชรุน จุ้ยจำลอง รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า Soft Power และอุตสาหกรรม สร้างสรรค์ของไทย (Creative Economy) ถือเป็นยุทธศาสตร์หนึ่งในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและเป็น หนึ่งในฟันเฟืองสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและขยายศักยภาพสู่ระดับสากล บทละครโทรทัศน์ถือเป็น Soft Power ที่มีบทบาทสำคัญในการช่วยผลักดันอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ของไทย เพราะภาพยนตร์ ละคร หรือซีรีส์สามารถเข้าถึงมวลชนกลุ่มใหญ่ของสังคมได้ สามารถผลักดันสินค้าไทย สร้างกระแสนิยมการบริโภคสินค้าไทย หรือสร้างแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เป็นการสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ รวมถึงสร้างคุณค่าทางสังคมได้เป็นอย่างมาก
นายวัชรุน จุ้ยจำลอง กล่าวต่อว่า จากกิจกรรมที่ผ่านมา มีผู้สนใจสมัครเข้าร่วมกิจกรรมอย่างล้นหลาม และผ่านการคัดเลือกอย่างเข้มข้นเหลือเพียง 26 คน ซึ่งทั้ง 26 คนนี้จะต้องผ่านการอบรมองค์ความรู้จากผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์และมีชื่อเสียงในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ด้านการเขียนบทละครโทรทัศน์และการผลิตละครโทรทัศน์, ภาพยนตร์, ซิทคอม, ซีรี่ส์ แบบครบวงจร อาทิ คุณอุ่นเอื้องอรุณ นักเขียนบทละครโทรทัศน์
ชื่อดัง คุณส้วม สุขพัฒน์ นักแสดงและนักเขียนบทละครซีรีส์ คุณท๊อป ณฐกร ผู้กำกับและนักแสดง รวมถึงวิทยากรพิเศษที่ให้เกียรติมาร่วมให้ความรู้อีกหลายท่าน และผู้เข้าร่วมกิจกรรมยังได้ไปศึกษาดูงานในสถานที่ถ่ายทำจริง และชุมชนดีพร้อมเพื่อสร้างแรงบันดาลใจและสร้างแนวคิดเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ และยังมีกิจกรรมให้คำปรึกษาแนะนำเชิงลึกากผู้เชี่ยวชาญผู้ทรงคุณวุฒิในด้านต่างๆ และผู้เข้าร่วมกิจกรรมก็จะได้นำเอาองค์ความรู้ ประสบการณ์ดังกล่าวมาเขียนเค้าโครงบทละครที่แฝงด้วยแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ โดยสอดแทรกเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับชุมชนดีพร้อม ไม่ว่าจะเป็นด้านโครงสร้างสังคม เศรษฐกิจในชุมชน วัฒนธรรม วิถีชีวิตความเป็นอยู่ อาหาร ผลิตภัณฑ์ชุมชน ฯลฯ ซึ่งสามารถสะท้อนให้เกิดการสร้างกระแสนิยม และผลักดันให้มีการบริโภคสินค้าไทยได้
นอกจากนี้ ยังได้จัดการประกวดเค้าโครงบทละครจากผู้เข้าร่วมกิจกรรมทั้ง 26 คน และทำการคัดเลือก
สุดยอดนักเขียนบทละครโทรทัศน์โดยกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิผู้มีประสบการณ์ด้านการเขียนบทและด้านอุตสาหกรรมบันเทิงมาอย่างมากมาย โดยผลงานที่ได้รับรางวัลชนะเลิศจะได้จัดทำเป็นภาพยนตร์ตัวอย่าง (Trailer) พร้อมทั้งได้รับโล่และเงินรางวัลด้วย ซึ่งการคัดเลือกดังกล่าวจัดขึ้นเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2566 โดยผลการประกวดมีดังนี้
ชญาดา โชติศรีศุภรัตน์ รางวัลชนะเลิศ
จากบทละครโทรทัศน์เชิงสร้างสรรค์ เรื่อง วันที่รักปักษ์ใจ ได้รับโล่และเงินรางวัลมูลค่า 10,000 บาท
นภสร ลิ้มไชยาวัฒน์ รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1
จากบทละครโทรทัศน์เชิงสร้างสรรค์ เรื่อง โชคดีอายุ 40 ได้รับโล่รางวัลและเงินรางวัลมูลค่า 5,000 บาท
อภิสรา เกิดชูชื่น รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2
จากบทละครโทรทัศน์เชิงสร้างสรรค์ เรื่อง สายบัวเลข 4 สตรีวิทย์ ได้รับโล่รางวัลและเงินรางวัลมูลค่า 3,000 บาท
คิรากร สุนทรโชติ รางวัลชมเชย
จากบทละครโทรทัศน์เชิงสร้างสรรค์ เรื่อง ธันวาอาคม ได้รับโล่รางวัล
กาญจน์รวี แสนประเสริฐ รางวัลชมเชย
จากบทละครโทรทัศน์เชิงสร้างสรรค์ เรื่อง ดอนข่าที่ดีพร้อม ได้รับโล่รางวัล ในพิธีปิดและมอบรางวัลครั้งนี้ ยังจัดให้มีการแบ่งปันประสบการณ์การทำงาน จากผู้กำกับ/ผู้จัดรุ่นใหม่มากฝีมือ อย่าง คุณบีบี-เอกนรีวชิรบรรจง จากบริษัท แอค-อาร์ต เจเนเรชั่น จำกัด ที่ประสบความสำเร็จจากละครกรงกรรมและมนต์รักหนองผักกะแยง ซึ่งจะมาร่วมแชร์ประสบการณ์การทำงานในกองถ่ายทำละคร ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อผู้เข้าร่วมกิจกรรมต่อไปในอนาคต
ทั้งนี้ ดีพร้อม มุ่งมั่นส่งเสริมอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ในทุกมิติ การใช้ Soft power เพื่อผลักดันกระแส
นิยมบริโภคไทยไปสู่ระดับสากล จะช่วยพัฒนาเศรษฐกิจไทยตั้งแต่ฐานราก สร้างความเติบโตเข้มแข็งให้แก่เศรษฐกิจไทยต่อไปในอนาคต นายวัชรุน จุ้ยจำลอง กล่าวทิ้งท้าย