TCMA ชูต้นแบบนิเวศนวัตกรรม PPP-Saraburi Sandbox ในเวที COP28
สมาคมอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ไทย (TCMA) เข้าร่วมการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ครั้งที่ 28 (COP28) ณ เมืองดูไบ ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ประกาศความสำเร็จการสนับสนุนเป้าหมายลดการปล่อยคาร์บอน แปลงโรดแมป 2050 Net Zero Cement and Concrete สู่การปฏิบัติการเปลี่ยนผ่าน ริเริ่มพัฒนานิเวศนวัตกรรมดำเนินงาน Public-Private-People Partnership สระบุรี แซนด์บ๊อกซ์ ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในทุกระดับ เป็นที่ยอมรับของภาครัฐไทย และองค์กรซีเมนต์และคอนกรีตระดับโลก และเป็นไปในทิศทางเดียวกับประเทศชั้นนำอื่นๆ ในเวที COP28
TCMA ผนึกภาครัฐ และ GCCA ในเวที COP 28
ดร.ชนะ ภูมี นายกสมาคมอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ไทย (TCMA) เปิดเผยว่า TCMA เป็นหนึ่ง
ในภาคเอกชนไทย ที่ร่วมนำเสนอความก้าวหน้าใน Thailand Innovation Zone และ GCCA Pavilion ในการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ครั้งที่ 28 (COP28) ณ เมืองดูไบ ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ซึ่งประเทศสมาชิกได้ร่วมกันทบทวนสถานการณ์และการดำเนินงานระดับโลก (Global Stocktake) เพื่อจะบรรลุเป้าหมายหลักของข้อตกลงปารีส ในการควบคุมการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกไม่ให้เกิน 1.5 องศาเซลเซียสในสิ้นศตวรรษนี้
“ในการเข้าร่วมประชุม COP28 นี้ TCMA ร่วมกับกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งเป็นหน่วยงานประสานงานกลางของประเทศด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) หน่วยประสานงานกลางของประเทศด้านการพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จัดแสดงความก้าวหน้าดำเนินงานของอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ ที่ร่วมกับหน่วยงานต่างๆ มุ่งสู่การลดการปล่อยคาร์บอนอย่างต่อเนื่อง ภายใต้ 2050 Net Zero Cement and Concrete Roadmap การนำโรดแมปสู่การปฏิบัติการเปลี่ยนผ่าน ในคูหานิทรรศการของประเทศไทย Thailand Innovation Zone พร้อมร่วมเวทีสนทนาแลกเปลี่ยนการดำเนินงาน ภายใต้แนวคิด ‘Climate Partnership Determination’ นอกจากนี้ TCMA ได้ร่วมกับ Global Cement and Concrete Association (GCCA) องค์กรด้านซีเมนต์และคอนกรีตระดับโลก นำเสนอความก้าวหน้าดำเนินงาน ‘Decarbonization Action’ และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ทำงานร่วมกับประเทศสมาชิกในระดับโลก”
ชูต้นแบบนิเวศนวัตกรรมเชิงพื้นที่ PPP-Saraburi Sandbox
TCMA นำ 2050 Net Zero Cement and Concrete Roadmap มาสู่การปฏิบัติการเปลี่ยนผ่าน เพื่อบรรลุเป้าหมาย Net Zero 2050 มีการจัดทำแผนการดำเนินงานที่ลงรายละเอียด และพัฒนานิเวศนวัตกรรมดำเนินงานบูรณาการความร่วมมือเชิงพื้นที่ในจังหวัดสระบุรี ภายใต้ Public-Private-People Partnership (PPP)-Saraburi Sandbox: A Low Carbon City สร้างสระบุรีเป็นต้นแบบเมืองคาร์บอนต่ำแห่งแรกในไทย
ดร. ชนะฯ กล่าวว่า “PPP-Saraburi Sandbox เป็นการพัฒนารูปแบบความร่วมมือทำงานในเชิงพื้นที่ (Area Base) โดยใช้แนวทาง 3C คือ Communication-Collaboration-Conclusion step-by-step และ 3P คือ Public-Private-People Partnership นำโดยผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี บูรณาการความร่วมมือและร่วมกันกำกับดูแล ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในทุกระดับ ทั้งภาครัฐ-ภาคเอกชน-ภาคประชาสังคม ทำงานเชื่อมโยงระหว่างอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง ผ่านโครงการต้นแบบ ที่สอดคล้องกับ Thailand NDC แผนลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ ครอบคลุมมิติด้านนโยบาย/ กฎหมาย/กฎระเบียบ (Policy/ Law/ Regulation) ด้านแหล่งทุน (Climate Funding) ด้านเทคโนโลยี (Technology) และด้านการกำกับดูแล (Governance) การดำเนินงานด้วยวิธีนี้ จะทำให้โครงการที่ทำด้านลดก๊าซเรือนกระจกมีความชัดเจนและวัดผลได้ ซึ่งได้รับความชื่นชมและความสนใจเป็นอย่างมาก ทั้งจากภาครัฐและสมาชิก GCCA ที่เข้าร่วมประชุม COP28”
โครงการภายใต้ PPP-Saraburi Sandbox ครอบคลุม:-
- การเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสะอาด (Accelerating Energy Transition) เช่น การจัดหาพื้นที่ผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบทุ่นลอยน้ำ (Solar Floating) และระบบผลิตไฟฟ้าจากไฮโดรเจน การพัฒนาสร้างระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ (Grid Modernization) และ
การส่งเสริมปลูกพืชพลังงาน เช่น หญ้าเนเปียร์ - การยกระดับเป็นอุตสาหกรรมสีเขียว (Fostering Green Industry & Green Product)
ด้วยการศึกษาเทคโนโลยีดักจับคาร์บอน และส่งเสริมการใช้ปูนซีเมนต์คาร์บอนต่ำ หรือปูนซีเมนต์ไฮดรอลิก รวมถึงการพัฒนาปูนซีเมนต์ที่ผลิตจากนวัตกรรมใหม่ที่ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก - การจัดการวัสดุเหลือใช้ (Turning Waste to Value) ด้วยการนำวัสดุเหลือใช้มาเป็นวัตถุดิบทดแทน หรือใช้เป็นเชื้อเพลิงทดแทนตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy: CE)
- การทำเกษตรกรรมคาร์บอนต่ำ (Promoting Green Agriculture) ด้วยการปลูกพืชพลังงานตามโมเดล BCG เช่น การทำนาเปียกสลับแห้ง ลดการใช้น้ำ และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
- การเพิ่มพื้นที่สีเขียว (Increasing Green Space) สนับสนุนการปลูกป่าชุมชนเพิ่ม 38 แห่งทั่วจังหวัด ช่วยดูดซับคาร์บอน ต่อยอดสู่การซื้อขายคาร์บอนเครดิต และสร้างรายได้ให้ชุมชน