สจล. เปิดศูนย์วิจัยนวัตกรรมด้านเซมิคอนดักเตอร์ “KAISEM”
สจล. เปิดศูนย์วิจัยนวัตกรรมด้านเซมิคอนดักเตอร์ “KAISEM” ครบวงจรแห่งแรกในไทย จับมือบริษัทเอกชนระดับโลก ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมเป้าหมายในการพัฒนาประเทศ
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ฉลองการก้าวเข้าสู่ปีที่ 65 ด้วยการเปิดตัว ศูนย์ KMITL Academy of Innovative Semiconductor Manufacturing (KAISEM) ซึ่งเป็นศูนย์วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเซมิคอนดักเตอร์ที่ครบวงจรแห่งแรกในประเทศ ศูนย์ KAISEM จะทำหน้าที่เป็นห้องปฏิบัติการกลาง (central laboratory) ที่รวบรวมผู้เชี่ยวชาญจากหลายสาขามาร่วมมือกันในการวิจัย และพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อเสริมสร้างศักยภาพให้กับอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์เซมิคอนดักเตอร์ของไทย ซึ่งเป็นหัวใจของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ยุคใหม่ โดยศูนย์ KAISEM จะเป็นศูนย์กลางในการศึกษาและพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมด้านเซมิคอนดักเตอร์ และกระบวนการผลิตอิเล็กทรอนิกส์ ตั้งเป้าหมายเป็น the Word Master of Innovation อย่างยั่งยืน
รองศาสตราจารย์ ดร.คมสัน มาลีสี อธิการบดี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) กล่าวว่า ตลอด 64 ปีที่ผ่านมา สจล. ได้สร้างชื่อเสียงในด้านการศึกษาและการพัฒนาบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญในเทคโนโลยีต่างๆ โดยเฉพาะในสาขาวิศวกรรมศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับเซมิคอนดักเตอร์ เช่น วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ วิศวกรรมระบบการผลิต และวิศวกรรมวัสดุ ในปีนี้ สจล. ได้ก่อตั้งศูนย์ KMITL Academy of Innovative Semiconductor Manufacturing (KAISEM) เพื่อเป็นศูนย์กลางในการพัฒนาหลักสูตรเฉพาะทางและเตรียมความพร้อมให้นักศึกษาในการก้าวสู่อนาคตที่เต็มไปด้วยความท้าทายของอุตสาหกรรมเชมิคอนตักเตอร์
สจล. มีประวัติการวิจัยที่ยาวนานในด้านเชมิคอนดักเตอร์ ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบบวงจรรวม การพัฒนาอุปกรณ์เซมิคอนตักเตอร์ หรือการออกแบบแผ่นวงจรพิมพ์ (PCB) ที่ประยุกต์ใช้งานในด้านต่าง ๆ นอกจากนี้ สจล. ยังมีความร่วมมือกับภาคเอกชน มหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยชั้นนำจากทั่วโลก เช่น ไต้หวัน ญี่ปุ่น และเยอรมนี ซึ่งความร่วมมือเหล่านี้จะยิ่งเสริมสร้างศักยภาพในการวิจัยของศูนย์ KAISEM และทำให้สจล. เป็นผู้นำระดับโลกในด้านเทคโนโลยีเซมิคอนดักเตอร์ พร้อมทั้งเชื่อมโยงภาคการศึกษาและอุตสาหกรมเพื่อให้บริการวิชาการที่ครอบคลุมและตอบสนองต่อความต้องการของอุตสาหกรรมอย่างมีประสิทธิภาพ
รองศาสตราจารย์ ดร.สมยศ เกียรติวนิชวิไล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล. กล่าวว่า ทางคณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล. ได้ดำเนินการพัฒนาและปรับปรุงหลักสูตรและวิธีการเรียนการสอนให้ทันสมัยและสอดคล้องกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะหลักสูตรภาควิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ที่มุ่งผลิตบุคลากรคุณภาพสำหรับตำแหน่งงานด้านเซมิคอนดักเตอร์ ผ่านความร่วมมือกับบริษัทชั้นนำกว่า 11 องค์กร ซึ่งทำให้คณะมีห้องปฏิบัติการด้านเซมิคอนดักเตอร์และสมาร์ทอิเล็กทรอนิกส์ที่ทันสมัย สนับสนุนการเป็นศูนย์กลางในการผลิตบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับเซมิคอนดักเตอร์ในประเทศไทย นอกจากนี้ คณะยังได้เสนอแนวทางการเรียนไปพร้อมกับการทำงาน (WIL) ซึ่งช่วยให้บุคลากรพร้อมเข้าสู่ตลาดงานได้ทันทีและลดระยะเวลาในการรอให้กับภาคอุตสาหกรรม
ภายในงานการเปิดศูนย์ KAISEM ได้มีการลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MOU) ระหว่างสถาบันฯ โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ และ บริษัท National Instruments ซึ่งเป็นบริษัทด้านเซมิคอนดักเตอร์ ชั้นนำระดับโลกที่มีความเชี่ยวชาญด้านระบบทดสอบและวัดผลอัตโนมัติ และมีการให้บริการในหลายอุตสาหกรรม เช่น ยานยนต์ อากาศยานอิเล็กทรอนิกส์ และโทรคมนาคม มายกระดับการเรียนการสอนและการวิจัยของคณะ ให้ก้าวสู่ระดับสากล
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิภู ศรีสืบสาย รักษาการแทนคณบดีวิทยาลัยเทคโนโลยีและนวัตกรรมวัสดุ สจล. กล่าวว่า สจล. เป็นผู้นำในด้านวิศวกรรมวัสดุ (Material Engineering) ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญในการสร้างกระบวนการผลิตที่มีประสิทธิภาพ ศูนย์ KAISEM มุ่งเน้นการรวบรวมนักวิจัยและผู้เชี่ยวชาญด้านวัสดุศาสตร์ เพื่อเสริมสร้างการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีวัสดุศาสตร์ที่มีความทันสมัยและประสิทธิภาพสูง ศูนย์ KAISEM จะเป็นศูนย์กลางในการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีด้านวัสดุศาสตร์ โดยเฉพาะการปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิต เชมิคอนดักเตอร์และ PCB ศูนย์ KAISEM จะมุ่งเน้นการพัฒนาวัสดุที่สามารถตอบสนองความต้องการของอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ในระดับโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยการรวมความเชี่ยวชาญจากนักวิจัยและผู้เชี่ยวชาญด้านวัสดุศาสตร์ของ สจล. และพันธมิตร ศูนย์ KAISEM จะช่วยเพิ่มความสามารถในการพัฒนาเทคโนโลยีเซมิคอนดักเตอร์และเสริมกระบวนการผลิตให้มีความทันสมัยและแข่งขันได้ในตลาดโลกอย่างยั่งยืน
รองศาสตราจารย์ ดร.ฉัตรพล ภคศิริ รักษาการแทนคณบดีวิทยาลัยนวัตกรรมการผลิตขั้นสูง สจล. กล่าวว่า สจล. ให้ความสำคัญกับการสร้างนวัตกรรมและการให้บริการวิชาการที่ได้รับการยอมรับจากภาครัฐและเอกชนมาอย่างยาวนาน การเปิดศูนย์ KAISEM จะตอบสนองความต้องการในการทดลองกระบวนการผลิตเทคโนโลยีใหม่ๆ ด้วยบริการออกแบบเทคโนโลยีการผลิตแบบ pilot ก่อนการลงทุนในระดับใหญ่ พร้อมกับการวิจัยและพัฒนาสำหรับการผลิตเซมิคอนดักเตอร์ ศูนย์ KAISEM ยังจะเป็นศูนย์ทดสอบมาตรฐานอุปกรณ์เซมิคอนดักเตอร์และเป็นศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญในการสร้างงานวิจัยขั้นสูงเกี่ยวกับเทคโนโลยีเซมิคอนดักเตอร์และ PCB โดยการร่วมมือกับมหาวิทยาลัยต่างประเทศ เช่น ไต้หวัน ญี่ปุ่น เยอรมัน เพื่อยกระดับเทคโนโลยีเซมิคอนดักเตอร์ของประเทศไทยให้เป็นรับในระดับโลก
นอกจากนี้ ยังมีภารกิจในการให้บริการด้านวิชาการ การเรียนการสอน และการฝึกครบถ้วนและสมบูรณ์
การก้าวเข้าสู่ปีที่ 65 ของ สจล. ไม่เพียงแต่เป็นการเฉลิมฉลองความสำเร็จที่ผ่านมา แต่ยังเป็นการเตรียมความพร้อมสำหรับอนาคตที่เต็มไปด้วยโอกาสและความท้าทาย ศูนย์ KAISEM เป็นสัญลักษณ์ของความมุ่งมั่นในการพัฒนาเทคโนโลยีเซมิคอนดักเตอร์ และเป็นการยืนยันถึงบทบาทของ สจล. ในการเป็น World Master of Innovation พร้อมนำประเทศไทยเข้าสู่ยุคใหม่ของนวัตกรรมและเทคโนโลยี
ติดตามความเคลื่อนไหวอื่น ๆ ที่น่าสนใจได้ทาง https://www.facebook.com/kmitlofficial และเว็บไซต์ https://www.kmitl.ac.th และติดตามรายละเอียดหลักสูตรที่เปิดสอนได้ที่ https://curriculum.kmitl.ac.th/ หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02-329-8000