นิสิตปริญญาเอก หลักสูตรพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต มจร จัดกิจกรรมสติเสวนาในหัวข้อ “แผ่นดินไหว ใจไม่หวั่นไหว”

นิสิตปริญญาเอก หลักสูตรพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสตินวัตกรรมและสันติศึกษา รุ่นที่ ๙ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร) ได้จัดกิจกรรมสติเสวนาในหัวข้อ “แผ่นดินไหว ใจไม่หวั่นไหว” ในการนี้พระเมธีวัชรบัณฑิต ศ.ดร. ผู้รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) เปิดเผยว่า คณาจารย์ และนิสิตหลักสูตรสตินวัตกรรมและสันติศึกษา มจร พร้อมด้วยบริษัทสมุนไพรปัญจศรี จำกัด ได้มอบกัปปิยภัณฑ์ (งวด 2) จำนวน 150,000 บาท รวมงวดแรกเป็นเงิน 250,000 บาท ให้แก่องค์การพระนิสิตเมียนมา IBSC นำโดย ดร.พระเนมินดะ และพระสงฆ์พร้อมด้วยแม่ชีชาวพม่า เพื่อนำไปช่วยเหลือดูแลค่าอาหารและน้ำดื่มให้แก่พระสงฆ์และแม่ชีในวัดวาอารามต่างๆ ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์แผ่นดินไหว และเตรียมมอบงวดที่ 3 จำนวนอีก 250,000 บาท ภายในวันที่ 15 เมษายนนี้

จากนั้นพระเมธีวัชรบัณฑิต ศ.ดร. ได้กล่าวปาฐกถาธรรม โดยได้สะท้อนประเด็นสำคัญว่า กฎของธรรมชาติไม่สามารถควบคุมได้โดยเฉพาะแผ่นดินไหว จึงต้องกลับมาบริหารจัดการชีวิตเราเอง โดยมุมของพระพุทธศาสนามองถึงความตายเป็นสิ่งที่มนุษย์ต้องเผชิญ จึงต้องใส่ใจเรื่อง Mindful EARTHQUAKE เราเห็นโอกาสของการสั่นหวั่นของโลก โดยโลกมี ๓ โลก คือ โอกาสโลกเป็นแผ่นดิน มวลสัตว์ และปรุงแต่ง ซึ่งแผ่นดินไหวจะสนใจมุมมองเกี่ยวกับสัมมาทิฐิหรือมิจฉาทิฐิในการมอง จะมีวิธีการมองต่อสถานการณ์แผ่นดินไหวอย่างไร ? จะมองแบบสัมมาหรือมองแบบมิจฉา ซึ่งไม่ได้หวั่นไหวเพียงอาคารแต่จิตใจเราหวั่นไหว
ส่งผลจิตใจของเรา “คอนโดร้าวใจร้าว” ไม่กล้าไปพักอาศัยในคอนโดส่งผลต่อสภาพจิตใจ มีความกลัว เกิดความวิตกกังวลส่งผลให้สติสมาธิหลับจึงไม่เกิดปัญญา ซึ่งในหลวงรัชกาลที่ ๙ ทรงเตือนไว้ใน สคส. ๒๕๔๗ สะท้อน
๑)วิกฤตสิ่งแวดล้อม เช่น แผ่นดินไหวเขย่าทั่วโลก โลกร้อนที่ส่งผลต่อมวลมนุษย์ด้านแผ่นดินไหว คือ แผ่นดินไหว
๒)วิกฤตสังคม มองถึงศีลธรรม สังคมขาดศีลธรรม ในพระไตรปิฎกถ้าคนขาดศีลธรรมจะส่งผลต่อสังคม คือ ศีลธรรมไหว
๓)วิกฤตเศรษฐกิจ ส่งผลทั่วโลกในการขึ้นภาษีซึ่งส่งผลต่อทั่วโลก คือ เศรษฐกิจไหว
๔)วิกฤตความขัดแย้งทางการเมือง ซึ่งสถานการณ์ของโลกมีความขัดแย้ง มีการใช้ความรุนแรง มีการทำสงคราม คือ การเมืองไหว

ในพระไตรปิฎกเหตุของแผ่นดินไหว ๘ ประการ ซึ่งจิตของเราส่งผลต่อโลกภายนอกและโรภายใน : โลกอันจิตย่อมนำไป จิตฺเตน นียตี โลโก จึงต้องทำให้จิตมีพลังงานมากที่สุด จึงต้องฝึกจิตอย่างต่อเนื่องเหมือนการดัดลูกศรให้ตรง จะต้องฝึกจิตใจของเราอย่างต่อเนื่องโดยสอดรับกับ ๔ ภาพ ประกอบด้วย ๑)กายภาพ มองถึงความมั่นคงด้านทรัพย์สิน มั่นคงชีวิต มั่นคงครอบครัว มั่นคงสุขภาพ ๒)พฤติภาพ การดูแลตนเองให้สามารถอยู่ร่วมกับสถานการณ์ มองถึง ๓)จิตตภาพ มองถึงอารมณ์ต่างๆ เช่น ความกลัว ๔)ปัญญาภาพ มองถึงการก้าวข้ามปัญหาต่างๆ แต่ต้องมีศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา
สติเป็นแกนกลางในการดูแลด้านกายภาพ พฤติภาพ จิตตภาพ ปัญญาภาพ จึงย้ำว่า “ไม่ต้องนำใครถ้านำใจตนเองไม่ได้” สติจึงสารตั้งต้นในการดำเนินชีวิต สติจึงเป็นมารดาทั้งปวงจึงต้องฝึกใจให้มีความนิ่ง “สิ่งใดพร่องสิ่งนั้นดัง สิ่งใดเต็มสิ่งนั้นเงียบ” จึงต้องโฟกัส : Focus ประเด็นของความไหว คือ แผ่นดินไหว ศีลธรรมไหว เศรษฐกิจไหว การเมืองไหว จึงต้องฝึกใจให้มีพลังผ่านการทดลอง โดยมีเครื่องมือในการวัดก่อนและหลังแผ่นดินไหว ว่าจิตใจเราเป็นอย่างไร ? ไหวภายนอกทำอย่างไรจะไม่ไหวภายในของจิตใจเรา
ผู้ทรงคุณวุฒิที่ร่วมเสวนาได้สะท้อนว่า ทางด้านจิตวิทยาเวลาช่วงที่เราเผชิญกับสถานการณ์รุนแรงทุกคนจะต้องตกใจแต่ต้องมีสติเป็นฐาน โดยยกตัวอย่างนางวิสาขากับบริวารที่เจอพายุใหญ่ต่างคนต่างวิ่งหนี แต่นางวิสาขามีสติไม่วิ่งไปไหน คำถาม วิกฤตแค่ไหนใจไม่หวั่นด้วยสติ ซึ่งบุคคลที่ได้รับผลกระทบทางด้านจิตใจจะมีความวิตกกังวล ซึ่งบางประเทศส่งคนไปรบเยอะที่สุด ส่งผลต่อจิตใจซึ่งผ่านสถานการณ์รุนแรงซึ่งส่งผลต่อสมองอย่างรุนแรงทำให้หลอกหลอนไม่ลืม เมื่อเราเจอสถานการณ์สัญชาตญาณคือต้องรอด ซึ่งเราไม่เคยเจอสถานการณ์แต่สิ่งสำคัญสุดคือ สติ ซึ่งสภาวะจิตพื้นฐานคือ หลับตื่น อารมณ์ สะสมความคิดลบ ส่วนจิตขั้นสูงกว่าเป็นสมาธิสติมีจิตที่สงบ ปล่อยวาง สมดุล ให้อภัย โดยแท้จริงจิตวิทยามาหลังพุทธธรรม ซึ่งในยุโรปจะไม่ขอนับถือศาสนาแต่มุ่งพัฒนาสติพัฒนาจิตใจอย่างต่อเนื่อง ซึ่งการพัฒนาสติสมองส่วนหน้าจะทำงานได้ดีจะไม่ตกใจ ซึ่งถ้ามีสติจะไม่ตกใจสามารถช่วยเหลือตนเองได้และสามารถช่วยเหลือคนอื่นได้


คลื่นสมองจะมีแบบตื่นและหลับ สติเป็นคลื่นสมองที่สูงมากแต่ผ่อนคลาย คนมีสติจะไม่ตกใจเป็นคลื่นที่มีความถี่สูงมากที่แสดงความตื่นตัวและจดจ่อมากขึ้น คนที่มีสติจะสามารถจัดการกับปัญหาได้ดีกว่าคนที่ขาดสติ คำถามคือมีการฝึกสติแค่ไหน ? จะต้องฝึกปฏิบัติสติไปถึง ๑๐,๐๐๐ ชั่วโมงจึงจะสามารถเห็นคลื่นสมองชัดเจนเป็นจิตขั้นสูง ซึ่งช่วงที่การฝึกฏิบัติจะสามารถวัดได้ดี
มนุษย์ทุกคนต้องมีสติไม่ว่าหญิงหรือกาย ซึ่งมนุษย์ควรรับทุกอย่างที่เข้าแต่ต้องมีสติในการตีความผ่านอายตนะ แท้จริงการสั่นไหวมีการเชื่อมโยงกันทั้งโลกไม่ว่าเมียนม่าร์หรือไทย เราจะต้องเท่าทันลมหายใจของตนเอง จะต้องฝึกการซ้อมเพื่อให้ตนเองได้รอดและปลอดภัย จะต้องสร้างสมุทัยที่ดีสู่นิโรธของชีวิต จะต้องฝึกลมหายใจง่ายๆ ช่วยให้รู้ในกิจที่ทำคือสติ จะฝึกอย่างไรให้สามารถไปสู่จิตขั้นสูง จิตพื้นฐานจะเชื่อความคิดตนเองทำอย่างไรจะไม่ยึดติดกับความคิดนั้น ปล่อยวางได้รวดเร็ว
อะไรทำให้เราสั่นสะเทือนถ้าเราต้องเจอคนต้องสูญเสียเราจะต้องฟังอย่างเดียวเพื่อรับรู้ความรู้สึกจากภายในของบุคคลที่สูญเสีย คือ จะรู้เท่าทันจิตใจของเรา โดยรู้เท่าและรู้ทัน ซึ่งจิตอย่าให้มันหลงอารมณ์ชอบไม่ชอบจะต้องอยู่เหนืออารมณ์ ไม่หลงความคิด