เปิดมุมมองจาก 3 กูรูนักบริหาร
AECกับความท้าทายโลจิสติกส์
ประตูเออีซีเปิดนับจากวันที่ 1 มค.59 บริษัท สยามกลการอุตสาหกรรม และรถฟอร์คลิฟท์ ยูนิแคริเออร์ ร่วมกับพันธมิตร เปิดเวที ฝ่าพายุเศรษฐกิจสู่ AEC กับความท้าทายของโลจิสติกส์ คลังสินค้าและการกระจายสินค้า ( Strategies to AEC With Challenges on Industrial Logistics, Warehousing & Distribution) เพื่อเพิ่มศักยภาพของธุรกิจอุตสาหกรรมไทย ณ โรงแรมบางแสน เฮอริเทจ จังหวัดชลบุรี พร้อมเปิดมุมมองที่น่าสนใจกับ 3 นักบริหาร คุณประธานวงศ์ พรประภา ,คุณสุภาพ ตั้งตรัยรัตนกุล และ คุณดุสิต ปั้นมณี
คุณประธานวงศ์ พรประภา กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทสยามกลการอุตสาหกรรม จำกัด กล่าวว่า ความสำเร็จของแบรนด์และองค์กรในยุคเศรษฐกิจดิจิตอล นอกจากกลยุทธ์การตลาดที่เฉียบคมแล้ว ยังต้องมีการบริหารจัดการด้านโลจิสติกส์ที่ชาญฉลาด ซึ่งถือเป็นกลไกสำคัญอย่างหนึ่งที่จะทำให้การบริหารจัดการตลาดและผลิตภัณฑ์จากสายการผลิตส่งถึงซัพพลายเชนสู่มือผู้บริโภค มีประสิทธิภาพมากขึ้น คงคุณภาพที่ดีของผลิตภัณฑ์ ประหยัดต้นทุน เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการ รวมทั้งโอกาสในการขยายธุรกิจไปสู่ตลาดสากล และตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค
ทั้งนี้ปัจจุบันการคิดค้นนวัตกรรมและเทคโนโลยีสำหรับโลจิสติกส์อัจฉริยะ ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในโลจิสติกส์อันเป็นส่วนหนึ่งของการตลาดยุคใหม่ เช่น ระบบการจัดการคลังสินค้าอัจฉริยะ (Intelligent Warehouse) มีระบบสารสนเทศสินค้าที่จัดเก็บในคลังสินค้าแบบ Real-Time และแม่นยำ ทั้งการรับเข้า เบิกสินค้าออก ตรวจสอบปริมาณและตำแหน่งจัดเก็บสินค้าได้ถูกต้อง รวดเร็ว, ระบบป้อนสินค้าเข้าไลน์การผลิต
คุณประธานวงศ์มองว่า สภาวะเศรษฐกิจของไทยได้ผ่านจุดต่ำสุดมาแล้วและมีแนวโน้มจะกระเตื้องขึ้นจากมาตรการปฏิรูปเศรษฐกิจ โครงการลงทุนของภาครัฐและเอกชน พื้นที่ตลาดที่กว้างขึ้น ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีและผู้ผลิตควรใช้เวลาในช่วงนี้ หันมาให้ความสนใจยกระดับพัฒนาระบบโลจิสติกส์ เน้นสร้างประสิทธิภาพอย่างยั่งยืน ความได้เปรียบและแนวทางการจัดการคลังสินค้าและการกระจายสินค้าที่มีมาตรฐานสากล ทันสมัย มุ่งตอบโจทย์ตลาดและพฤติกรรมผู้บริโภคที่ต้องการผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัย มีสุขอนามัย คุณภาพดี ราคาสมเหตุสมผล และส่งตรงตามเวลาได้อย่างรวดเร็ว
ด้านคุณสุภาพ ตั้งตรัยรัตนกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัทกรุงเทพคลังเอกสาร จำกัด (KDC) เสนอแนะการฝ่าพายุเศรษฐกิจ บริหารต้นทุนโลจิสติกส์และคลังสินค้าสีเขียวในยุคเปิดตลาด AEC (Cost Efficiency & Green Logistics Warehouse) โดยกล่าวว่า วิธีการและปัจจัยที่ช่วยพลิกฟื้นธุรกิจ ให้เกิดความก้าวหน้ายั่งยืนได้ในสภาวะที่เศรษฐกิจแผ่ว 1.ต้องสร้างความแตกต่างจากคู่แข่ง 2. ตอบให้ได้ว่าธุรกิจของเราช่วยลูกค้าด้านไหน 3. กำหนดทิศทางและเป้าหมาย สินค้าที่บริษัทมีความถนัด และทำรายได้ ทำกำไรดี คืออะไรบ้าง
4. อย่าแข่งขันในด้านราคาเพียงอย่างเดียว ต้องแข่งขันที่การบริการที่ดีและแปลกใหม่ด้วย ทำยังไงให้ลูกค้าได้สินค้าที่รวดเร็ว ครบถ้วน ถูกต้อง และต้องเป็นประโยชน์กับลูกค้า 5. วิเคราะห์เจาะลึกให้รู้จักลูกค้าเป้าหมายคือใคร เพราะไม่ใช่ทุกคนที่จะเป็นลูกค้าของเรา 6.วิเคราะห์พฤติกรรมของลูกค้า และดีไซน์วิธีการนำเสนอออกมาตอบสนองความต้องการของลูกค้าวันนี้และอนาคต เพื่อโน้มน้าวให้อยู่กับเราให้นานที่สุด 7. วิเคราะห์สำรวจองค์กร อะไรที่ไม่สำคัญ ต้องตัดทิ้งให้หมด 8.อย่าลงทุนทำอะไรที่เราไม่มีความรู้และประสบการณ์ และไม่มีฐานลูกค้า
“โลจิสติกส์ไม่ได้เป็นเพียงส่วนสนับสนุนการตลาด การผลิตและองค์กรเท่านั้น แต่ยังสามารถเป็นตัวนำให้เกิดโอกาสใหม่ๆทางธูรกิจด้วย โลกการค้าวันนี้และอนาคตมีการรวมกลุ่มประเทศเป็นประชาคมทั่วในหลายภูมิภาคโลก และมีกฎระเบียบมากขึ้น มาตรฐานข้อกำหนดเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม นับเป็นยุคที่ธุรกิจโลจิสติกส์บูมเพื่อสนองความต้องการรองรับการค้าที่มีความหลากหลายของธุรกิจ,ผลิตภัณฑ์และบริการ ดั้งนั้นเกณฑ์มาตรฐานโลจิสติกส์ของไทยในวันข้างหน้าจะมีผลบังคับใช้เพื่อให้สอดคล้องกับต่างประเทศ โดยมุ่งเป้าหมายในเรื่องการลดคาร์บอนไดออกไซด์ ลดต้นทุน และสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ จะเป็นนวัตกรรมที่หลายองค์กรต้องนำมาปฏิบัติ โดยเฉพาะมาตรฐานวิชาชีพบุคคลากรด้านโลจิสติกส์ ที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัย บริษัทที่จะเป็นมืออาชีพด้านโลจิสติกส์ จะต้องได้รับใบอนุญาต คล้ายกับสภาวิศวกร สภาบัญชี สภาสถาปนิก บุคคลากรต้องได้รับการรับรองผ่านการฝึกอบรม และการทดสอบ
ขณะนี้ประเทศไทยเรากำลังดำเนินการทำในระดับซุปเปอร์ไวเซอร์ และกำลังจะร่างในระดับผู้จัดการ จนถึง ซีแอลโอ (CLO:Chief Logistics Officer) เมื่อมาตรฐานวิชาชีพบุคคลากรโลจิสติกส์นี้เกิดขึ้น จะสามารถการันตีคุณภาพและเสริมสร้างความมั่นคงในวิชาชีพโลจิสติกส์ของคนไทยและสามารถยกระดับมาตรฐานวงการอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ให้สูงขึ้น โดยการรับรองของกระทรวงแรงงาน และในอนาคตจะครอบคลุมทั้งหมดทุกวิชาชีพ”
คุณดุสิต ปั้นมณี ผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการ ศูนย์กระจายสินค้าเทสโก้-โลตัส ผู้เชี่ยวชาญมากประสบการณ์ในงานคลังสินค้าและศูนย์กระจายสินค้าขนาดใหญ่ มากว่า 25 ปี ร่วมแบ่งปันองค์ความรู้ ในหัวข้อ การออกแบบระบบความปลอดภัยในงานโลจิสติกส์ (Workforce Design for Safety in Warehouse Distribution Center and Transportation) กล่าวว่า การออกแบบและจัดระบบในคลังสินค้าคำนึงถึงความปลอดภัยและประสิทธิภาพเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด เช่น ศูนย์กระจายสินค้าของเทสโก้โลตัส ทั่วประเทศไทย เน้นความปลอดภัยต่อตัวพนักงาน ปลอดภัยต่ออุปกรณ์ ไม่ว่าจะเป็นรถฟอร์คลิฟท์ เครื่องจักรจำนวนมหาศาลที่วิ่งอยู่ภายในคลังสินค้า เพราะอุบัติเหตุเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา สถิติที่ผ่านมาพบว่า เครื่องจักรและอุปกรณ์ทำให้เกิดอุบัติเหตุ เพียงระดับไม่เกิน 18% แต่อีก 82% ของอุบัติเหตุเกิดจากพฤติกรรมของคน ดังนั้นการฝึกอบรมทักษะและให้ความรู้พนักงาน จึงเป็นการป้องกันและเสริมความปลอดภัยได้ดี
ขณะเดียวกันการดีไซน์จัดผังสถานที่ในคลังสินค้าก็เป็นสิ่งสำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพและความคล่องตัวในการหมุนเวียนเคลื่อนไหวทำกิจกรรมในคลังสินค้า ตั้งแต่ บริหารจัดการระบบรถเข้า-ออก เช่นภายในศูนย์กระจายสินค้าเทสโก้โลตัส ภาคอิสาน ที่มีรถเข้าออกอย่างน้อยวันละ 300 – 700 คัน และมีการรับส่งสินค้าตลอด 24 ชั่วโมง จำนวนกว่า 4 แสนกล่อง โดยทางเข้าและทางออกถูกออกแบบให้แยกการเดินรถอย่างชัดเจน เพื่อลดความคับคั่งการจราจรและลดอุบัติเหตุ ส่วนการรับสินค้านั้นจะมีการวางแผนร่วมกันกับผู้ค้า ผู้ผลิต เพื่อทำให้ระบบซัพพลายเชนต้นทางจนถึงปลายทางมีประสิทธิภาพมากที่สุด โดยมีการนัดหมายคิวเวลาล่วงหน้าเพื่อให้ทางคลังสินค้าสามารถบริหารเวลาและได้ทราบปริมาณสินค้าว่ามีจำนวนเท่าไหร่ เพื่อประเมินและเตรียมพื้นที่สำหรับจัดเก็บสินค้า นอกจากนี้ ยังต้องมีการตรวจสอบตั้งแต่ความปลอดภัยของคนขับ ตรวจใบนำส่งสินค้า ตรวจสอบสินค้าที่มาส่งถูกต้องและตรงกับใบส่งสินค้า
นอกจากนี้ศูนย์กระจายสินค้าเทสโก้ โลตัส ยังมีระบบตรวจสอบวิกฤติความปลอดภัย (Safety Critical Red Audit) ปีละ 4 ครั้ง หัวข้อหลักที่ตรวจสอบอย่างเข้มงวด คือ การชำรุดของระบบชั้นวางสินค้าในคลัง (Rack) และการแก้ไขสถานการณ์ที่ไม่ปลอดภัยของสินค้าที่อยู่บนชั้นวางสินค้าในคลัง (Rack) หรือบนทางเท้า ใบอนุญาตการขับขี่รถยกและรถลาก พฤติกรรมที่ไม่ปลอดภัยต่อการขับขี่ และสภาพรถยก รถลากที่นำมาปฏิบัติงานเหล่านี้ช่วยให้ผู้บริหารศูนย์กระจายสินค้า ได้สำรวจตรวจสอบล่วงหน้าถึงจุดอันตรายหรือจุดเสี่ยงที่อาจนำไปสู่การเกิดอุบัติเหตุที่ร้ายแรงต่อพนักงานและความเสียหายต่อสินค้า และช่วยกันยกระดับมาตรฐานความปลอดภัย โดยทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้ร่วมมือกันอีกด้วย
ด้านการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ในการคลังสินค้า ทุกขั้นตอนต้องมีการตรวจสอบความปลอดภัย ด้วยหลักการที่ว่า No Safety No Work ตั้งแต่ การขับขี่รถภายในคลังสินค้า พนักงานที่ขับต้องผ่านการอบรมที่มีมาตรฐาน มีการสอบทฤษฎีและปฏิบัติ ตามแต่ละประเภทการใช้งาน อาทิ ประเภทรถฟอร์คลิฟท์ หรือรถยก( Forklift), Reach Truck,ขับขี่รถลาก (PE & OP) และรถเข็นไฟฟ้า Hand Jack Electric ปัจจุบันพนักงานขับรถ ร้อยละ 80 ของเทสโก้ โลตัส เป็นผู้หญิงขับส่วนใหญ่ สถิติที่น่าสนใจจากผลการวิจัยพบว่า ผู้หญิงมีความละเอียด มีความนุ่มนวลในการควบคุมเครื่องจักรมากกว่าผู้ชาย ทำให้ลดอุบัติเหตุและความเสียหาย
นับว่า กูรูทั้ง 3 ท่านได้ให้ข้อคิดดี ๆ ในการบริหารจัดการด้านโลจิสติกส์ที่ภาคธุรกิจที่เกี่ยวข้องสามารถนำไปใช้เตรียมพร้อมรับมือในขณะก้าวย่างสู่ AEC ได้
นอกจากนี้งานสัมนาที่เปี่ยมสาระความรู้ครั้งนี้ยังเป็นโอกาสได้อัพเดทกับนิทรรศการเทคโนโลยีใหม่ๆโดยแบรนด์และองค์กรชั้นนำของไทยและของโลก อาทิ สมาคมการส่งเสริมการค้าฮ่องกง (HongKong Trade Development Council),รถฟอร์คลิฟท์ ยูนิแคริเออร์ (UniCarriers) โดย บริษัท สยามกลการอุตสาหกรรม จำกัด, หลักสูตรอบรมขับรถยกและความปลอดภัยในการขับรถยกโดย บริษัท พี.พี.เอ็น.โปรเฟสชั่นแนล โอเปอร์เรเตอร์ เซอร์วิส จำกัด,อุปกรณ์เสริม อะไหล่และแบตเตอรี่สำหรับรถฟอร์คลิฟท์ โดย บริษัท ไวส์ เอนเตอร์ไพรส์ จำกัด, ชั้นวางสินค้าและอุปกรณ์เสริม โดย บริษัท พีค สตอเรจ (ประเทศไทย) จำกัด,
ระบบสายพานลำเลียง บริษัท Interroll (Thailand) Co., Ltd., น้ำมันหล่อลื่นโมบิล โดย บริษัท สุไทโย ลู้ปดิสทริบิวเตอร์ จำกัด, อุปกรณ์และระบบ GPS ติดตามตำแหน่ง โดย บริษัท ฟอร์ท แทร็กกิ้ง ซีสเต็ม จำกัด, ยางตัน ยางลม KOMACHI สำหรับรถฟอร์คลิฟท์ โดย บริษัท วีเอส อุตสาหกรรมยาง จำกัด, แบตเตอรี่สำหรับรถฟอร์คลิฟท์และยานยนต์อุตสาหกรรม โดย บริษัท ยีเอส ยัวซ่า สยามเซลล์ จำกัด,
พร้อมนิทรรศการจาก โรงแรม Siam@Siam Design Hotel Pattaya, สนามกอล์ฟสยามคันทรีคลับ …