ฉลองโรงไฟฟ้าพลังแสงสำเร็จ
ยันฮี โซล่าฯ-บีกริมฯ-เสนาโซล่าร์
พันธมิตร PESCO ผนึก อิตัลไทยวิศวกรรมและ Solarcon ฉลองความสำเร็จพัฒนาโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ “โครงการโรงพยาบาลยันฮี”, “โครงการบี.กริม ยันฮี โซล่า เพาเวอร์”และ “โครงการบีกริม เสนา โซล่าร์” จำนวน 12 โครงการ บนพื้นที่1,200 ไร่ในจ.นครปฐม และจ.อยุธยา กำลังการผลิต 91.7 เมกะวัตต์ มูลค่าโครงการ 5,000 ล้านบาท สำเร็จในเวลาเพียง 10 เดือน สามารถจำหน่ายไฟฟ้าแล้วเมื่อ 28 ธันวาคม 2558 โดยมีนายเสริมสกุล คล้ายแก้ว ผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ร่วมยินดี ณ รร.สวิสโฮเต็ล ปาร์คนายเลิศ
นายแพทย์สุพจน์ สัมฤทธิวณิชชา ประธานกรรมการบริหาร โรงพยาบาลยันฮี และบริษัทยันฮี โซล่าร์ เพาเวอร์ จำกัด กล่าวในงานฉลองความสำเร็จ “The Power of Alliances ,The Power of Success” ว่า การก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ 106 เมกะวัตต์สำเร็จลุล่วงได้ตามเป้าหมาย จำนวน 12 โครงการ กำลังการผลิต 91.7 เมกะวัตต์(MW) มูลค่าโครงการ 5,000 ล้านบาท บนพื้นที่โครงการ 1,200 ไร่ในพื้นที่จ.นครปฐมและอยุธยา ผลิตกระแสไฟฟ้าจำหน่ายไปยังการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคได้ทันตามกำหนดสัญญาที่กระทรวงพลังงานกำหนดไว้ในวันที่ 31 ธันวาคม 2558 โดยสามารถสร้างเสร็จภายในเวลา 10 เดือนและส่งไฟฟ้าจำหน่ายได้ตามเป้าหมายในวันที่ 28 ธันวาคม 2558 หรือก่อนกำหนดเป็นเวลา 3 วัน ถือเป็นความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่และเป็นประโยชน์สำหรับประเทศไทยที่สำคัญอีกโครงการหนึ่ง โดยจำหน่ายกระแสไฟฟ้าแก่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคสัญญา 25 ปีที่ราคา 5.66 บาทต่อหน่วย และมีการประเมินจากไฟฟ้าส่วนภูมิภาคและธนาคารกรุงเทพว่า จะถึงจุดคุ้มทุนได้ภายในเวลา 12 ปี
ทั้งนี้ความสำเร็จเกิดจากหลายภาคส่วน ประกอบด้วยบริษัทผู้ลงทุนและร่วมลงทุน การสนับสนุนด้านการเงินจากธนาคารและทีมงานสร้างมืออาชีพ มีความสามารถติดตั้งได้เร็ว โดยบริษัทที่ลงทุนและร่วมลงทุน ได้แก่ บริษัทโรงพยาบาลยันฮี จำกัด,บริษัทบี.กริม ยันฮี โซลาร์ เพาเวอร์ จำกัด (บริษัทร่วมทุนระหว่างบริษัทบี.กริม เพาเวอร์ จำกัดและบริษัทยันฮี โซลาร์ เพาเวอร์ จำกัด)และบริษัท โซลาร์วา จำกัด (บริษัทร่วมทุนระหว่างบริษัทบี.กริม เพาเวอร์ จำกัดและบริษัทเสนา โซลาร์ เอนเนอร์ยี่ จำกัด) ทีมงานสร้างมืออาชีพจากของบริษัทอิตัลไทยวิศวกรรม จำกัด ร่วมกับบริษัทโปรเซสเอ็นจิเนียริ่งเซอร์วิส(PESCO)และบริษัทโซลาร์คอน จำกัด(Solarcon)ควบคุมการก่อสร้างที่ลุยทำงานกันทั้งวันทั้งคืนจนสำเร็จ
สำหรับโครงการโรงไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ที่สร้างเสร็จล่าสุดมีดังนี้
1.โครงการโรงพยาบาลยันฮี ไทรหลวง (8 MW)
2.โครงการบี.กริม ยันฮี โซลาร์ เพาเวอร์ แบ่งย่อยได้ 9 โครงการ คือ ไทรหลวง1 (8MW), ไทรหลวง2 (8MW),ไทรหลวง3(8MW), ไทรหลวง9(7.2MW),ไทรหลวง10(7.5MW), ไทรใหญ่หน้า(8MW),ไทยมะนาว(8MW) ,ไทรพุทรา(8MW)และไทยเสนา2(5MW)
3.โครงการโซลาวาร์ นครปฐม แบ่งย่อยได้อีก 3 โครงการ คือ ไทรแสบ (8MW) ,ไทรลุ้ยริมน้ำ(8MW),และไทรฉลวย(8MW)
“โครงการนี้เป็นโครงการค้างท่อที่โรงพยาบาลยันฮียื่นเรื่องมาตั้งแต่ปี 2551 โดยในปี 2551 ยื่นขอใบอนุญาตได้มา 34 เมกะวัตต์ ทำไปแล้ว ปี 2553 60 เมกะวัตต์ทำไปแล้วและเหลือค้างท่อสุดท้ายที่ 106เมกะวัตต์
นายแพทย์สุพจน์กล่าวต่อว่า โครงการ1 ของยันฮีร่วมกับบริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) ปี 2551 มีที่ตั้งกระจายอยู่ในจ.อยุธยา สุพรรณบุรีและนครปฐม โครงการที่2 ร่วมทุนกับ บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) หรือเอ็กโก กรุ๊ป ตั้งอยู่ในพื้นที่ 3 จังหวัดดังกล่าวเหมือนกันและโครงการที่3 คือ โครงการบี.กริม ยันฮี โซลาร์ เพาเวอร์ ตั้งอยู่ในจ.นครปฐมและอยุธยา
เวลานี้ยันฮี โซลาร์ เพาเวอร์ถือเป็นเบอร์2 ในตลาดพลังงานไฟฟ้าแสงอาทิตย์ มองแนวโน้มการเติบโตของธุรกิจไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนในประเทศไทยว่า การจะลงทุนขึ้นอยู่กับรัฐบาลเป็นผู้กำหนด ถ้าทางยันฮีเห็นว่าคุ้มก็จะเข้าไปลงทุน อย่างไรก็ตามแนวโน้ม ประเทศไทยต้องการพลังงานทดแทนมากขึ้นเนื่องจากแก๊สหมด น้ำมันก็แพง ถ่านหินก็ถูกต่อต้าน จึงต้องมาทางพลังงานทดแทน ซึ่งได้แก่ พลังงานน้ำ แสงอาทิตย์ พลังงานลม แก๊ส ไบโอแก๊สที่เอาเศษไม้มาเผาและพลังงานขยะ ขณะนี้รัฐบาลกำลังส่งเสริมพลังงานขยะ
ด้านธุรกิจพลังงานแสงอาทิตย์มีแนวโน้มมากขึ้น ซึ่งเป็นธุรกิจที่มั่นคง แม้รายได้ไม่ดีเท่าธุรกิจอื่น ๆ ดังโครงการที่ทำมีการไฟฟ้ารับซื้อยาวถึง 25 ปี ไม่ต้องไปหาตลาด ไม่ต้องไปหาคนซื้อ แต่หากทำธุรกิจอื่น เช่น ผลิตน้ำดื่มขาย อาหารหรือยาต้องทำตลาด นอกจากนี้ยังมีต้นทุนในการสร้างถูกลง
ทั้งนี้ยันฮีสนใจลงทุนด้านพลังงานทางเลือกอื่น ๆ ด้วย เช่น ไบโอแก๊ส ที่เอาหญ้าเนเปียร์มาหมักและทำแก๊ส แต่ยังคงอยู่ในประเทศ ยังไม่คิดออกไปต่างประเทศ
สำหรับในโซนประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)นั้นนายแพทย์สุพจน์มองว่า AEC มีแนวโน้มใช้พลังงานแสงอาทิตย์มากขึ้นเช่นกัน เนื่องจากพยายามจะลดการใช้ถ่านหิน โดยขณะนี้เอ็นจีโอต่อต้านการทำธุรกิจไฟฟ้าจากถ่านหิน ส่วนน้ำมันดีเซลมีราคาแพงกว่า
ด้านนายนพเดช กรรณสูต รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บีกริม เพาเวอร์ จำกัด กล่าวถึงทิศทางการเติบโตของธุรกิจโรงงานไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในประเทศไทยว่า โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ เป็นพลังงานสะอาดปราศจากมลพิษ และแสงแดดยังเป็นวัตถุดิบที่มีจากธรรมชาติ ซึ่งหมุนเวียนมีให้ตลอด สำหรับประเทศไทยเป็นเมืองแดด ทุกภาคทั่วประเทศสามารถสร้างโรงไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ได้ เป็นพลังงานสะอาดที่มีระบบการจัดการที่ง่าย และภาครัฐยังให้การสนับสนุนในการรับซื้อกระแสไฟฟ้าในราคาที่ค่อนข้างสูงสามารถคืนทุนได้ในระยะเวลาไม่นานนัก คาดการณ์ว่ากระแสโรงงานไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ มีทิศทางเติบโตขึ้นแน่นอน
ส่วนดร.เกษรา ธัญลักษณ์ภาคย์ Chief Executive Officer บริษัท เสนา โซล่าร์ เอนเนอร์ยี จำกัด กล่าวว่า ธุรกิจพลังงานทดแทนในส่วนของพลังงานทดแทนอื่นๆที่นอกเหนือจากพลังงานแสงอาทิตย์ ของภาคส่วนนักลงทุนและนโยบายของภาครัฐบาลที่สนับสนุน. วิกฤติสภาวะโลกร้อนและการใช้พลังงานอย่างสิ้นเปลือง ซึ่งเกิดจากการใช้กระแสไฟฟ้าทีมีเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีการพัฒนาเทคโนโลยีอยู่ตลอดเวลา อุตสาหกรรมหรือการลงทุนต่างๆต้องอาศัยพลังงานไฟฟ้าในการพัฒนากันทั้งนั้น จึงทำให้นักลงทุนธุรกิจเล็งเห็นโอกาสทางธุรกิจที่มีมากขึ้น ประกอบกับการได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐกับสถาบันการเงินเป็นอย่างดี ทำให้ทิศทางการเติบโตของโรงไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์และธุรกิจพลังงานทดแทนอื่นๆ มีอัตราการเติบโตสูงขึ้นตาม