มติที่ประชุมคกก.เซลล์บำบัด
ให้ยุติเสนอร่างกม.สบส.เร่งรัด
มติที่ประชุมคณะกรรมการวิชาการด้านการแพทย์รีเจนเนอเรทิฟและเซลล์บำบัด ให้ยุติการเสนอร่างกฎหมายตามที่กรมสบส. เร่งรัดในกระบวนการพิจารณาตรากฎหมายในทุกช่องทาง แนะสธ.ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องศึกษาทำความเข้าใจถึง ระบบคุมการใช้เซลล์และารแพทย์รีเจนเนอเรทิฟที่มีคุณภาพเหมาะกับไทย ส่งเสริมการศึกษาด้านรีเจนเนอเรทิฟส่วนที่เป็นประโยชน์ต่อการแพทย์ เพื่อระชาชนจะได้รับประโยชน์ในด้านความคุ้มครองจากระบบกฎหมายที่มีคุณภาพ และเหมาะสม
จากข่าวที่ปรากฏทางสาธารณะเมื่อวันที่ ๑๐ พ.ค. ๒๕๕๙ ความว่า อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ แจ้งความคืบหน้าในการจัดทำร่างกฎหมายควบคุมการให้บริการที่ใช้เซลล์เพื่อการบำบัดรักษาโรคหรือความงาม จากการประชุมร่วมกับ แพทยสภา กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ประชุมได้เห็นชอบให้มีการรวมร่าง พรบ. ว่าด้วยเซลล์ทางการแพทย์ พ.ศ. … (สบส.) และร่าง พรบ. เซลล์บำบัดของ แพทยสภา เป็นร่างเดียวกัน แล้วให้ชื่อว่า ร่าง พรบ. ว่าด้วยเซลล์บำบัด พ.ศ. … เป็นการบูรการอำนาจของ ๔ หน่วยงาน สบส. อย. แพทยสภา กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ มีทั้ง 8 หมวด 59 มาตรา ฯ ในลักษณะเร่งรัด จากการตรวจสอบเบื้องต้น พบว่า ไม่มีการบูรณาการ ๔ หน่วยงานตามอ้างแต่อย่างใด อาจเป็นเพียงการกล่าวอ้างของกรมสนับสนุนบริการสุขภาพเพียงฝ่ายเดียว
จากการแถลงข่าวดังกล่าว คณะกรรมการวิชาการด้านการแพทย์รีเจนเนอเรทิฟและเซลล์บำบัด ตามคำสั่งกระทรวงสาธารณสุขที่ ๑๔๓/ ๒๕๕๙ ลงวันที่ ๒๒ มกราคม ๒๕๕๙ ลงนามโดย รมว.กระทรวงสาธารณสุข ศ.นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร ได้มีความห่วงใย และมีการประชุมหารือในเรื่องนี้ วันที่ ๑๘ พฤษภาคม ๒๕๕๙ ณ.ห้องประชุม ๒ ชั้น ๒ อาคาร ๑ ตึกสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ได้มีความห่วงใย หากได้ตรา พรบ. ฉบับดังกล่าวแล้ว มีผลบังคับใช้ในการทางการแพทย์ ต่อประชาชนทั้งประเทศ
ดังนั้น มติที่ประชุม คกก. จึงเห็นสมควรให้ยุติการนำเสนอร่าง กม.ฯ ตามที่กรม สบส. เร่งรัดดังกล่าวในกระบวนการพิจารณาตรากฎหมายในทุกช่องทาง ในการนี้กระทรวงสาธารณสุขควรมอบหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่ทำหน้าที่ด้านวิชาการแพทย์ของกระทรวงสาธารณสุข ให้ทำการศึกษาทำความเข้าใจ เกี่ยวกับ ระบบการควบคุม การใช้เซลล์บำบัดและการแพทย์รีเจนเนอเรทิฟ ที่มีคุณภาพ และเหมาะสมกับบริบทของประเทศไทย กับทั้งส่งเสริมการค้นคว้าทางการแพทย์ด้านรีเจนเนอเรทิฟส่วนที่เป็นประโยชน์ต่อการแพทย์ ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ของประชาชนที่จะได้รับการคุ้มครองจากระบบกฎหมายที่มีคุณภาพ และเหมาะสม