อพวช. จัดอบรมเชิงวิชาการ
มุ่งสร้างเครือข่ายคลังตัวอย่าง
องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) โดยพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา จัดอบรมเชิงวิชาการ “ค้นหา เก็บรักษา ใช้ประโยชน์ การสร้างคลังตัวอย่างเพื่อเป็นสมบัติของชาติ” เชิญวิทยากรจากหลากหลายวงการร่วมบรรยายประสบการณ์ จริงเพื่อมาแลกเปลี่ยนข้อมูลการเก็บรักษา และใช้ประโยชน์จากคลังตัวอย่าง หวังสร้างเครือข่ายครอบคลุมทั่วประเทศและเป็นฐานข้อมูลของชาติ เพื่อเผยแพร่และให้ความรู้กับเยาวชนและ ประชาชนทั่วไป ณ พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาเมื่อเร็วๆนี้
นางกรรณิการ์ วงศ์ทองศิริ รองผู้อำนวยการ รักษาการแทนผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ แห่งชาติ (อพวช.) (ที่3จากซ้าย)เปิดเผยว่า พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา (พธช.) เป็นหน่วยงานที่มีภารกิจในการศึกษาวิจัยด้านธรรมชาติวิทยา การเก็บรักษาตัวอย่างสิ่งมีชีวิต ตลอดจนนำเสนองานนิทรรศการทางธรรมชาติวิทยา เพื่อเผยแพร่และให้ความรู้กับเยาวชนและ ประชาชนทั่วไป ซึ่งตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา พธช. ได้รับความเชื่อถือจากหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศ ที่มีภารกิจ คล้ายคลึงกัน โดยเฉพาะด้านการเก็บรักษาวัสดุอ้างอิง และการจัดการคลังตัวอย่างอ้างอิงในพิพิธภัณฑ์ เห็นได้จากมีผู้เข้ามา เยี่ยมชม ศึกษาดูงาน ตลอดจนใช้ประโยชน์จากตัวอย่างอ้างอิงทั้งด้านการศึกษาวิจัยและการจัดแสดงเรื่อยมา
ด้วยเหตุนี้ อพวช. จึงเล็งเห็นว่า หากมีการจัดอบรมให้หน่วยงานต่าง ๆ สามารถ ค้นหา เก็บรักษา วัสดุตัวอย่าง ในพื้นที่ตนเอง จนเกิดเป็นคลังตัวอย่างขึ้น จะท าให้ประเทศไทยมีแหล่งอ้างอิงที่หลากหลายและมีมาตรฐานเดียวกัน อันจะเป็น ประโยชน์ในการสืบค้นต่อไป จึงจัดให้มีการอบรมเชิงวิชาการ “ค้นหา เก็บรักษา ใช้ประโยชน์ การสร้างคลังตัวอย่างเพื่อเป็น สมบัติของชาติ” (Collection Management for Sustainable Use)
โดยได้เชิญวิทยากรจากสามหน่วยงานได้แก่ คุณชลิดา เอื้อบำรุง รองผู้อำนวยการหอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) บรรยายเรื่อง “แรงบันดาลใจในการสร้างพิพิธภัณฑ์ และการใช้วัตถุพิพิธภัณฑ์เป็นสื่อกลาง” ด้านอาจารย์จิราภรณ์ อรัณยะนาค ที่ปรึกษาด้านการอนุรักษ์ สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ บรรยายเรื่อง “พิพิธภัณฑ์กับการดูแลรักษาตัวอย่างเพื่อการรักษาสมบัติของชาติ” และนายวัชระ สงวนสมบัติ หัวหน้ากองวัสดุ อุเทศธรรมชาติวิทยา พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา อพวช. บรรยายเรื่อง “การเก็บคลังตัวอย่างไปทำไม?” และ “การจัดการคลัง ตัวอย่างทางธรรมชาติเพื่อการเรียนรู้” ให้กับบุคลากรที่มีความสนใจ อีกทั้งยังเป็นการสร้างเครือข่ายคลังตัวอย่างให้มีความครอบคลุมมากขึ้นในอนาคต