ก.วิทย์ฯปลื้ม8วันคนเฉียดล้าน
ชมงานมหกรรมวิทยาศาสตร์
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สุดปลื้มเยาวชนและประชาชนแห่ชมงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แห่งชาติ 2559 คึกคัก 8 วัน ยอดทะลุเกือบ 1 ล้านคนแล้ว คาดเวลาที่เหลือถึง 28 ส.ค. ยอดผู้เข้าชมงานทะลุเกิน 1 ล้านคนอย่างแน่นอน โดยส่วนใหญ่ที่เข้ามาชมเป็นเด็ก เยาวชน และครอบครัว นับเป็นการสร้างปรากฏการณ์ใหม่ในการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ให้กับสังคมไทย หลายคนบอกว่ามาแล้วได้ความรู้เพิ่มขึ้นและรู้สึกสนุกสนานกับการเรียนรู้วิทยาศาสตร์มากยิ่งขึ้น
ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่า ตามที่กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จัด “งานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโ ลยีแห่งชาติ ประจำปี 2559” (National Science & Technology Fair 2016) ขึ้นเนื่องในสัปดาห์วิทยาศาสตร์ แห่งชาติเพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว “พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย” พร้อมทั้งผนวกรวมเอา “งานเทคโนโลยีและนวัตกรรมของไทย 2559” (Techno Mart 2016) เข้าไว้ด้วยกัน เพื่อเทิดพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช “พระบิดาแห่งเทคโนโลยีของไทย” และ “พระบิดาแห่งนวัตกรรมไทย”
พร้อมกันนี้เพื่อร่วมฉลองวาระสำคัญทางวิทยาศาสตร์ที่องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ หรือ FAO ได้ตั้งให้ปี 2559 เป็น “ปีสากลแห่งถั่วพัลส์” หรือ “2016 International Year of PULSES” อีกด้วยภายใต้แนวคิด “จุดประกายความคิด พัฒนาชีวิตด้วยวิทยาศาสตร์ เสริมสร้างชาติด้วยเทคโนโลยี สู่วิถีแห่งนวัตกรรม” ซึ่งถือเป็นกิจกรรมที่ยิ่งใหญ่แห่งปีระดับประเทศและแถบภูมิภาคเอเชีย ที่แสดงผลงานความก้าวหน้าและศักยภาพทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.) ก้าวล้ำนำสมัย ศักยภาพของนักวิจัยและนักวิทยาศ าสตร์ของไทย
โดยการผนึกกำลังร่วมกันกับ 9 กระทรวง 18 สถาบันการศึกษา รวมมากกว่า 100หน่วยงาน ทั้งภาครัฐและเอกชน และยังได้รับความร่วมมือจากหน่ว ยงานต่างประเทศเข้าร่วมงานอีก 8 ประเทศ มากกว่า 10 หน่วยงานร่วมกันจัดกิจกรรมแสดงความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี นวัตกรรมการค้นคว้าใหม่ๆ ที่เป็นประโยชน์อาทิประเทศ ญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา เยอรมัน เกาหลีใต้ แคนาดา ออสเตรเลีย และจีน ซึ่งผ่านมาแค่ 8 วัน มียอดผู้เข้าชมงานเกือบ 1 ล้านคนแล้ว สร้างความปลาบปลื้มให้กับคณะผู้ บริหาร คณะผู้ดำเนินงาน ทีมงาน และหน่วยงานร่วมจัดทุกคนอย่างยิ่ง
คาดอีก 3 วันที่เหลือนี้ จะมียอดผู้เข้าชมเกิน 1 ล้านคนอย่างแน่นอน นับเป็นการสร้างปรากฏการณ์ใหม่ใ นการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ให้กับสังคมไทย โดยในปีนี้เรียกได้ว่าทุกบูธสร้างความน่าสนใจกับผู้เข้าชมทั้งที่เป็นเด็ก เยาวชน อาจารย์ ผู้ปกครอง ครอบครัว และประชาชนจริงๆ ดูได้จากที่ผู้คนล้นหลามต่อแถวเ ข้าคิวยาวกันแทบทุกบูธ ซึ่งที่ผ่านมา องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) หน่วยงานหลักในการบริหารจัดการได้ดำเนินการดูแลรักษาความปลอดภัยอย่างดียิ่ง สร้างความประทับใจให้กับผู้เข้าชม หลายคนกลับมาชมซ้ำ หลายคนบอกว่ามาแล้วได้ความรู้เพิ่มขึ้นและรู้สึกสนุกสนานกับการเรียนรู้วิทยาศาสตร์มากยิ่งขึ้น
ดร.พิเชฐฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า ยังมีเวลาที่เยาวชนและประชาชนจะ ได้มาเรียนรู้ “งานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ประจำปี 2559” กิจกรรมวิทยาศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ที่ สุดแห่งปีของประเทศนี้ได้อีกจนถึงวันอาทิตย์ที่ 28 สิงหาคม นี้ ดังนั้นจึงอยากเชิญชวนให้ทุกคนมาร่วมกันเปิดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์อย่างเพลิดเพลินสนุกสนาน ระดับภูมิภาคเอเชียนี้กันให้ได้ โดยมีไฮไลท์ที่ไม่ควรพลาด อาทิ นิทรรศการเทิดพระเกียรติ ที่นำเสนอ พระอัจฉริยภาพและคุโณปการทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ผ่านพระราชกรณียกิจต่างๆ มากมายของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว “พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย”
พบกับนิทรรศการย้อนรอยอดีตสยามประเทศไปเมื่อร้อยกว่าปีก่อน ชมพระอัจฉริยภาพและพระราชกรณียกิจของบูรพมหากษัตริย์ไทยผู้ทรงวางรากฐานวิทยาศาสตร์ไทยที่เชื่อมโยงกับประวัติศาสตร์ที่สำคัญของประเทศไทยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาวิทยาศาสตร์ พลาดไม่ได้กับ Magic Vision เหตุการณ์สุริยุปราคาที่เคยเกิด ขึ้นในสยามประเทศ ที่นำมาอธิบายในเชิงวิทยาศาสตร์ การโคจรของดวงดาว นิทรรศการเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช “พระบิดาแห่งเทคโนโลยีของไทย” และ “พระบิดาแห่งนวัตกรรมไทย” ชื่นชมกับพระอัจฉริยภาพด้านการประดิษฐ์ ตั้งแต่การประกอบวิทยุแร่ โมเดลเรือรุ่นต่างๆ สิ่งประดิษฐ์เพื่อปวงชน เครื่องจักรกลเติมอากาศแบบจำลอง ทรงพัฒนาคนด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กับโรงเรียนพระดาบสในพระราชดำริ เพื่อฝีกอาชีพแก่ผู้ด้อยโอกาสทางการศึกษาและขาดแคลนทุนทรัพย์
พลาดชมไม่ได้กับเรือใบฝีพระหัตถ์ ลำจริง “เรือซุปเปอร์มด AX7” และ “เรือเวคา 2” ที่ทรงออกแบบและต่อเรือใบพระที่ นั่งด้วยพระองค์เอง โดยในส่วนของเรือเวคา 2พระองค์ทรงเคยนำเข้าร่วมแข่งขัน ในกีฬาแหลมทองครั้งที่ 4 ณ ประเทศไทย เมื่อเดือนธันวาคม 2510 และทรงเป็นผู้ชนะเลิศรางวัลเหรียญทองในการแข่งขันคราวนั้น ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ ทรงพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้เชิญเรือใบส่วนพระองค์ทั้ง 2 ลำมาจัดแสดงในครั้งนี้ ยังความปลื้มปิติเป็นล้นพ้นให้แก่คณะทำงาน และถือเป็นข่าวดีสำหรับพสกนิกรชาวไทยที่จะได้มีโอกาสชื่นชมเรือใบฝีพระหัตถ์ของพระองค์ท่านอย่างใกล้ชิดและจุดนี้ยังถือเป็น Landmark อันเป็นเอกลักษณ์ที่สำคัญของงาน“ประดิษฐกรรมวิวัฒน์นครา”
เริ่มต้นจากความเข้าใจ “พลวัตธรรมชาติ สู่นวัตกรรม เทคโนโลยี เพื่อการพัฒนาประเทศ” ที่นำเสนอในรูปแบบ “Ball Kinetic System” อันสื่อความถึงแนวคิดของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในการแก้ปัญหาด้วยการใช้วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี พระปรีชาสามารถที่ทรงสร้างสรรค์ และผสานการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม ก่อเกิดเป็นประดิษฐกรรมล้ำค่า ที่ช่วยปัดเป่าขจัดปัญหาและขับเ คลื่อนพัฒนาประเทศได้อย่างมากมาย นอกจากนี้ ยังนำเสนอพระราชกรณียกิจด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของพระบรมว งศานุวงศ์อีกด้วย
ส่วนใครที่มีความสนใจนิทรรศการที่ มีเนื้อหาสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลในการปรับเปลี่ยนโครงสร้างของประเทศไปสู่ “Valued-Based Economy”หรือขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยนวัตกรรม (New Growth Engine) เพื่อให้มีการเจริญเติบโตก้าวไกลด้วยการลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรมใหม่ หรือ New S-curveมุ่งสู่ Thailand 4.0 ต้องมาที่ นิทรรศการยานยนต์แห่งอนาคตและกา รขนส่งตื่นตาตื่นใจไปกับยานยนต์สมัยให ม่ที่มีระบบการทำงานประสิทธิภาพสูง ทั้งความปลอดภัยและกำลังส่ง ยานยนต์ที่ขนส่งผู้โดยสารจำนวนม าก เช่น ระบบราง พบกับรถโฟมสะเทินน้ำสะเทินบก ยานยนต์สำหรับผู้สูงอายุและผู้พิ การในอนาคต รถพลังงานแสงอาทิตย์
นิทรรศการนวัตกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ ร่วมตะลุยโลกหุ่นยนต์ที่มีหุ่นยนต์สีเขียวตัวใหญ่รูปร่างเท่ห์ ยืนต้อนรับและดึงดูดสายตาเด็กๆ ให้เข้ามาเยี่ยมชมถ่ายรูป ชื่นชมไปกับความน่ารักของหุ่น ยนต์นาโอะขวัญใจเด็กๆ ที่เสมือนเป็นเพื่อนเล่นหรือสัต ว์เลี้ยงตัวน้อยแสนรักของเราได้ เรียนรู้ไปกับเทคโนโลยีการพัฒนา หุ่นยนต์เพื่ออุตสาหกรรม การประยุกต์ใช้หุ่นยนต์ในอุตสาห กรรมต่างๆ / นิทรรศการเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อ การแพทย์และสุขภาพ นำเสนอเกี่ยวกับการพัฒนาและประยุ กต์เทคโนโลยีสารสนเทศและเทคโนโล ยีวิศวกรรมในการส่งเสริมสุขภาพ การรักษาทางการแพทย์ในอนาคต Telemedicine, Neuro-marketing หุ่นยนต์จัดยาอัตโนมัติ ที่มีความรวดเร็ว ปลอดภัย ไร้กังวล การรักษาด้วยหุ่นยนต์ การแพทย์แผนไทยในยุคดิจิทัล พบกับไฮไลท์ “หุ่นยนต์ดินสอมินิ” หุ่นยนต์บริการและดูแลผู้สูงอายุ ได้ภายในงานนี้อีกด้วย
ไม่เพียงเท่านี้งานมหกรรมวิทยาศาสตร์ฯ ยังมีนิทรรศการที่ให้ความรู้ความเข้าใจและสร้างความตระหนักให้เกิดขึ้นในสังคมและเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันทั้ งในปัจจุบันและอนาคต อาทิ นิทรรศการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิ อากาศโลก สัมผัสประสบการณ์ตื่นเต้นสนุกสนานไปกับภาพยนตร์ “The Last Day” ในรูปแบบ 4D Simulator ที่ทุกคนรอคอย…ตื่นตา ตื่นใจไปกับหิมะ ลมพายุที่โหมกระหน่ำ ที่ใช้เทคนิคจำลองสถานการณ์เสมือนจริง ท่ามกลางอุบัติภัยทางธรรมชาติ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้วย 4D Effect สมจริง โดยการพาทุกคนย้อนเวลากลับไป ณ จุดกำเนิดโลก เรียนรู้เรื่องราวช่วงเวลาสำคัญ ที่ผ่านมาของโลกถึงยุคปัจจุบันที่ มนุษย์อาจต้องสูญสิ้นทุกอย่าง เพื่อให้ตระหนักถึงปัญหาที่กำลังเกิดขึ้นกับโลกของเราและการช่วยกันแก้ปัญหาเพื่อการดำรงอยู่อย่างสมดุลบนโลกใบนี้
ส่วนนิทรรศการอนาคตเทคโนโลยีชีวภาพโลก รู้จักอารยธรรมการหมัก เทคโนโลยีชีวภาพที่เก่าแก่และใกล้ตัวที่สุด ตั้งแต่สมัยอียิปต์โบราณ พบกับ “ไหดินเผา” สูดกลิ่นและชมการเปลี่ยนสภาพของปลาร้า อาหารหมักไม่เคยเอ้าท์ เพลิดเพลินกับการค้นหาความรู้ใน Bio Lab ตลาดรวมสินค้า Bio Martและสำรวจอาชีพในฝัน Bio Job ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
นิทรรศการMiracle of Science : มหัศจรรย์แห่งไข่ จุดกำเนิดชีวิต…จุดกำเนิดเรา ชม “ไข่ที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย” กว่า 125 ปี สัมผัสและทดสอบความแข็งแกร่งของ ไข่นกที่ใหญ่ที่สุดในโลก และเรื่องราวมหัศจรรย์อันน่าทึ่งของไข่อีกมากมายที่คุณคาดไม่ถึง / นิทรรศการเมืองแห่งถั่ว แนวคิดตามนโยบาย Food Innopolisฉลองปีสากลแห่งถั่วพัลส์ (UNESCO International Year of Pulses) รู้จักถั่วพัลส์ชนิดต่างๆ เพลิดเพลินกับเกมส์บิงโก ร่วมสนุกกับการปลูกถั่วพัลส์ โชว์การทำอาหารจากถั่วพัลส์ ยิ่งไปกว่านั้นภายในงานยังมี
นิทรรศการและกิจกรรมสำหรับเยาวชน ได้แก่ นิทรรศการ Enjoy Makerspace จากนักประดิษฐ์สู่นวัตกรรม แนวคิดจาก New York Hall of Science ประเทศสหรัฐอเมริกา มาร่วมสร้างความรู้ความเข้าใจแล ะแรงบันดาลใจเกี่ยวกับการเรี ยนรู้ในแนวทางSTEM Education ผ่านกิจกรรมสร้างสรรค์และต่อยอด สู่อาชีพที่เกี่ยวข้องกับ วทน. พบกับ Maker’s Showcase กิจกรรม Kid Maker, Maker Studio ชมสาธิต 3D Printing 3D Stereoscopic Print Pen รวมทั้ง ห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ ลานกิจกรรมพัฒนาปัญญาเยาว์ ห้องฉายภาพยนตร์วิทยาศาสตร์
การแข่งขันเครื่องบินกระดาษพับชิงแชมป์ประเทศไทย ครั้งที่ 13 ที่จะมีรอบชิงชนะเลิศในวันอาทิตย์ที่ 28 สิงหาคม นี้ ในเวลา 13.00 – 16.00 น. ณ อาคารเอ็กซิบิชั่น ฮอลล์ 6 ภายในงานมหกรรมวิทยาศาสตร์ฯ อีกด้วย