กระทรวงสาธารณสุข ห่วงสุขภาพจิตผู้ประสบภัยน้ำท่วมภาคใต้ที่กินเวลานานหลายวัน เร่งจัดบริการ เน้นเยียวยาจิตใจครอบครัวผู้เสียชีวิต ผู้สูญหาย ผู้สูญเสียทรัพย์สิน เฝ้าระวังผู้ป่วยจิตเวชเดิม ผู้ป่วยเรื้อรัง เด็กและผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียง ที่เสี่ยงเครียดรุนแรงและอาจมีภาวะซึมเศร้าในอนาคต แนะผู้ใกล้ชิดสังเกต 7 สัญญาณอันตราย ระบุทีมช่วยเหลือเยียวยาจิตใจผู้ประสบภาวะวิกฤต(MCATT)จากศูนย์สุขภาพจิตหลายแห่งออกให้บริการ 7-11 ม.ค.2560 มีผู้เข้ารับคัดกรองสุขภาพจิต 7,385 คน พบเครียดสูง 238 คน เสี่ยงภาวะซึมเศร้า 45 คน
นายแพทย์เกียรติภูมิ วงศ์รจิต รองปลัดกระทรวงสาธารณสุ ขและโฆษกกระทรวงสาธารณสุขเปิดเผยว่า รายงานจากศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและแก้ ไขปัญหาสาธารณภัย ด้านการแพทย์และสาธารณสุข กรณีสถานการณ์อุทกภัยภาคใต้ (14 มกราคม 2560) มีสถานบริการได้รับผลกระทบ 117 แห่ง ส่วนใหญ่เป็นโรงพยาบาลส่งเสริ มสุขภาพตำบล(รพ.สต.) ปิดซ่อมแซม 3 แห่ง คือ รพ.สต.บ้านช้าง รพ.สต.บ้านบางจากและรพ.สต.บ้านบางใหญ่ จ.นครศรีธรรมราช กระทรวงสาธารณสุขได้ระดมที มแพทย์พยาบาลสนาม(MERT)จากทั่วประเทศ ให้การช่วยเหลือจัดบริการประชาชนในพื้นที่ 4 จังหวัดได้แก่ นครศรีธรรมราช ชุมพร สุราษฎร์ธานีและประจวบคีรีขันธ์ ออกให้บริการหน่วยแพทย์เคลื่ อนที่ 148 ทีม มีผู้รับบริการ 20,000 กว่าคน
เนื่องจากอุทกภัยครั้งนี้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ประชาชนไม่ได้เตรียมตัวเตรียมใจรับผลกระทบที่เกิดขึ้น ส่งผลให้เกิดภาวะเครียด วิตกกังวล ได้เร่งรัดจัดบริการปรึกษาปัญหาสุขภาพจิต ประเมินผลกระทบ ดูแลช่วยเหลือและฟื้นฟูจิตใจทั้ งที่บ้าน หน่วยแพทย์เคลื่อนที่และศูนย์พักพิง เน้นการเยียวยาจิตใจครอบครัวผู้ เสียชีวิต ผู้สูญหายและผู้สูญเสียทรัพย์สิน ที่ทำมาหากิน บ้านเรือนเสียหาย รวมทั้งดูแลและเฝ้าระวังติ ดตามกลุ่มผู้ป่วยจิตเวชเดิม ผู้ป่วยเรื้อรัง เด็กและผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียง ที่เสี่ยงเครียดรุนแรงและอาจมีภาวะซึมเศร้าในอนาคตได้ โดยทีมช่วยเหลือเยียวยาจิตใจผู้ประสบภาวะวิกฤต(MCATT)จากศูนย์สุขภาพจิตที่ 5,11,12 สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ โรงพยาบาลสวนสราญรมย์ โรงพยาบาลจิตเวชสงขลาราชนครินทร์ออกให้บริการระหว่างวันที่ 7-11 มกราคม 2560 มีผู้ประสบภัยเข้ารับการคัดกรองสุขภาพจิต 7,385 คน พบเครียดระดับมาก 238 คน เสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้า 45 คน
ทั้งนี้ ขอให้ประชาชนดูแลจิตใจตนเองในระยะนี้ ตั้งสติ สร้างกำลังใจและ สร้างคุณค่าให้ตนเอง ด้วยการช่วยเหลือผู้อื่นเป็นต้น ส่วนครอบครัวที่มีผู้มีปัญหาทางจิตใจ สามารถป้องกัน ปัญหาการฆ่าตัวตายได้ คนใกล้ชิดและครอบครัว ต้องให้กำลังใจ ทำให้เกิดความภาคภูมิใจและเห็นคุณค่าในตัวเองขอให้สังเกตพฤติกรรมที่อาจก่อให้เกิดการฆ่าตัวตาย ดังต่อไปนี้ 1.รู้สึกตึงเครียดอยู่ตลอดเวลา 2.รู้สึกว่างเปล่าหรือหมดเรี่ยวแรงอย่างมาก 3. ฝันร้าย/ สะดุ้งตื่นกลางดึก หรือมีปัญหาการนอน 4.ยังมีความรู้สึกต่อเหตุการณ์ อย่างรุนแรง เช่น รู้สึกกลัว รู้สึกผิด หรือถูกทอดทิ้งอย่างรุนแรง 5.ไม่สามารถควบคุมความโกรธ หรือความเจ็บปวดได้ 6. พฤติกรรมถดถอย เช่น สูบบุหรี่ การดื่มหรือรับประทานอาหารที่ผิ ดปกติ และ7.แยกตัวจากสังคมอย่างชั ดเจน
โดยผู้ใกล้ชิด ผู้มีความเสี่ยงควรปฏิบัติ ดังนี้ บอกคนใกล้ชิดเสมอ “มีอะไรขอให้บอก” รับฟังอย่างตั้งใจและเสนอความช่ วยเหลือ เก็บสิ่งที่อาจใช้เป็นอาวุธ อย่าให้คนที่มีความเสี่ยงอยู่ เพียงลำพัง พยายามชี้ทางเลือก ด้านบวกที่มีอยู่หลากหลาย สำหรับผู้ป่วยจิตเวชเดิมต้องดู แลให้ผู้ป่วยรับประทานยาต่อเนื่ อง และขอความช่วยเหลือจากบุคลากรที่ เชี่ยวชาญในเรื่องนี้ โดย สามารถขอคำปรึกษาได้จากบุ คลากรสาธารณสุขในพื้นที่ หรือสายด่วนสุขภาพจิต 1323 โทรฟรี ตลอด 24 ชั่วโมง