ก.ดิจิทัลฯกระตุ้นสังคมรู้เท่าทัน
เปิด “โครงการป้องกันภัยCyber”
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมรุกเปิดโครงการป้องกันภัยคุกคามทาง Cyber เดินหน้าแก้ปัญหาอาชญากรรมจากเทคโนโลยีสารสนเทศ ลดการขยายตัวของอาชญากรรมข้ามชาติ โดยเฉพาะอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ มุ่งช่วยเหลือประชาชาชนที่ถูกล่อลวง เอาเปรียบ เพราะขาดความรู้ทางเทคโนโลยี สารสนเทศ ร่วมสร้างสังคมคุณภาพ กระตุ้นเศรษฐกิจให้เติบโต พร้อมยกระดับความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ โดยตรวจเข้มเนื้อหาที่เผยแพร่ผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศจากการกระจายเสียงจากวิทยุและโทรทัศน์ทั้งระบบดิจิทัลและอนาล็อก เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจในการใช้สื่อเทคโนโลยี สารสนเทศ ในทางที่ถูกต้องให้กับประชาชน สร้างภูมิคุ้มกันไม่ตกเป็นเหยื่อในสังคมโลกยุคใหม่
นาวาอากาศเอกสมศักดิ์ ขาวสุวรรณ์ รองปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เปิดเผยว่า จากปัญหาอาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยเฉพาะอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ที่เกิดขึ้นอยู่บ่อยครั้งในปัจจุบัน ซึ่งส่งผลกระทบมากมายต่ อสภาพเศรษฐกิจ สร้างปัญหาสังคม และกระทบต่อความมั่นคงของประเทศ กระทรวงดิจิทัล เพื่อเศรษฐกิจและสังคม ในฐานะหน่วยงานหลักที่มี บทบาทหน้าที่ในการดูแลบังคับใช้พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 รับผิดชอบในการเผยแพร่ความรู้ วิธีปฏิบัติ วิธีป้องกันภัยที่เกิดจากอาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้ให้ความสำคัญในการแก้ไขปัญหาอาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ มาอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดกระทรวงฯ ได้จัดทำโครงการป้องกันภัยคุกคามทาง Cyber เพื่อดำเนินการตรวจสอบเนื้อหาที่เผยแพร่ผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศจากการกระจายเสียงจากวิทยุและโทรทัศน์ทั้งระบบดิจิทัลและอนาล็อก เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจในการใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ ในทางที่ถูกต้องให้กับประชาชนและไม่ตกเป็นเหยื่อจากอาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ
(ขอบคุณภาพจาก-www.trendmicro.com)
เนื่องจากปัจจุบันเป็นยุคของเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ “โลกแห่งยุคไอที” ที่คอมพิวเตอร์เข้ามามี บทบาทสำคัญในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารกันมากขึ้นและส่งผลต่อประชาชนทั้งด้านบวกและด้านลบ ซึ่งผลที่เกิดขึ้นนั้นมาจากเทคโนโลยี หรือมาจากตัวผู้ใช้เทคโนโลยีเอง โดยด้านลบจากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศนั้นทำให้เกิดปัญหาการขยายตัวของอาชญากรรมข้ามชาติ เกิดรูปแบบของอาชญากรรมใหม่ ๆ ที่มีความยุ่งยากซับซ้อนมากขึ้ นอย่างมาก โดยเฉพาะอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ ไม่ว่าจะเป็นการบิดเบือนข้อมูล การเผยแพร่ภาพอนาจารผู้เยาว์ การฟอกเงิน ฉ้อโกง การถอดรหัสโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โดยไม่ได้รับอนุญาตแล้วเผยแพร่ให้ผู้อื่นดาวน์โหลดได้ การโจรกรรมโปรแกรม การจารกรรม หรือขโมยข้อมูล ความลับทางการค้าของบริษัท เป็นต้น ซึ่งอาชญากรรมดังกล่าวเหล่านี้ส่งผลให้ประชาชนที่ไม่มีความรู้ ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ถูกล่อลวง เอาเปรียบ และได้รับความเสียหายเป็นจำนวนมาก
รองปลัดกระทรวงฯ กล่าวต่อว่า โครงการป้องกันภัยคุกคามทาง Cyber มุ่งดำเนินการภายใต้แนวคิดหลัก “รอบรู้ ทันภัย Cyber” โดยการจัดกิจกรรมในรูปแบบการเสวนา/การอภิปรายถึงปัญหาของสังคมที่เกิดจากอาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ จากวิทยากรผู้มีประสบการณ์ด้านการป้องกันภัยคุกคามทาง Cyber หรือจากผู้เชี่ยวชาญด้านการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ โดยมีเนื้อหาครอบคลุมใน 3 ประเด็นหลัก ได้แก่ ความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ที่จำเป็นต่อชีวิตประจำวันและสังคม มุ่งให้ประชาชาชนมีความตระหนักรู้ถึงภัยจากโลกออนไลน์ และการสร้างแนวทางการป้องกันระวังภัยจากโลกออนไลน์ สำหรับการจัดกิจกรรมเสวนาฯ ดังกล่าวกำหนดจะจัดขึ้นในพื้นที่ จังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ รวมจำนวน 6 ครั้ง โดยจะเริ่มจัดกิจกรรมครั้งแรกในกรุงเทพมหานคร และกระจายไปสู่จังหวัดตามภูมิ ภาคต่างๆ อีก 5 ครั้ง ได้แก่ เชียงใหม่ (ภาคเหนือ) อุบลราชธานี (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) ระยอง (ภาคตะวันออก) นครศรีธรรมราช (ภาคใต้) และราชบุรี (ภาคตะวันตก)
นอกจากนั้น ยังมีการจัดทำสื่อมัลติมีเดียในรูปแบบต่างๆ เพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการใช้งานเทคโนโลยีและสื่ออินเทอร์เน็ต รวมถึงการป้องกันหรือระวังภั ยจากอาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ ไม่ว่าจะเป็นสื่อ วีดิทัศน์ สื่อ Infographic การจัดทำช่องทาง Social Media อาทิ ยูทูป เฟซบุ๊ค ทวิตเตอร์ ไลน์ อินสตาแกรม และ เว็บไซต์ รวมทั้งการจัดทำคู่มือการใช้ งานสื่อสังคมออนไลน์อย่างปลอดภัยอีกด้วย
“กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เชื่อมั่นว่า การดำเนินการจัดกิจกรรมในโครงการป้องกันภัยคุกคามทาง Cyber จะมีส่วนช่วยให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวเทคโนโลยี สารสนเทศเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งประชาชน ที่เข้าร่วมกิจกรรมจะสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้อง สามารถรู้เท่าทัน รู้จักป้องกันภัยที่เกิดจากอาชญากรรมทางเทคโนโลยี สารสนเทศได้เป็นอย่างดี ตลอดจนสามารถถ่ายทอดความรู้ และข้อมูลเกี่ยวกับภัยร้ายในรูปแบบต่างๆจากเทคโนโลยีสารสนเทศ ส่งต่อไปยังคนในครอบครัวและคนอื่นๆ ในสังคม เพื่อร่วมช่วยกันลดปัญหาที่เกิดขึ้นจากอาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ ร่วมสร้างสังคมคุณภาพ พร้อมยกระดับความปลอดภัย ความมั่นคงของประเทศ” นาวาอากาศเอกสมศักดิ์ ขาวสุวรรณ์ กล่าวในที่สุด