ตลาดนัดเปิดโลกงานวิจัย-นวัตกรรม
“วิจัยขายได้” -ต่อยอดเชิงพาณิชย์
สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ตอบรับนโยบายของรัฐบาล จัดงาน “ตลาดนัดเปิดโลกผลงานวิจัยและนวัตกรรม ครั้งที่ 2 : วิจัยขายได้” เพื่อนำผลงานวิจัยที่มีมาต่อยอดในเชิงพาณิชย์อย่างเป็นรูปธรรม เพื่อ สร้างรายได้ทางเศรษฐกิจ ชุมชน ประชาชนอยู่ดีกินดี ช่วยขับเคลื่อนประเทศตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีและประเทศไทย 4.0 ระบุไทยมีงานวิจัยราว 3 แสนชิ้น แต่ได้ใช้ประโยชน์จริงเพียง 5 % อีกทั้งเพื่อเป็นแรงบันดาลใจดึงคนรุ่นใหม่ให้สนใจทำวิจัย ด้านคณะแพทยศาสตร์มธ. โชว์ “วิจัยกระเจี๊ยบขายได้” พัฒนาผลิตภัณฑ์มีสารสกัดกระเจี๊ยบแดงในรูปโลชั่นทาผิวต้านริ้วรอย เจลอาบน้ำและยาเม็ดกระเจี๊ยบแดงช่วยลดความดัน-น้ำตาล-ไขมันในเลือด
พลอากาศเอกประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมตรี เป็นประธานเปิดงาน ตลาดนัดเปิดโลกผลงานวิจัยและนวัตกรรม ครั้งที่ 2 : วิจัยขายได้ ณ ไปรษณีย์กลางบางรัก พร้อมด้วย ศ.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ โดยมีสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เป็นหน่วยงานหลักในการจัดงาน งานมีระหว่างวันที่ 23-24 กันยายน 2560 ตั้งแต่เวลา 10.00 – 18.00 น. ณ อาคารไปรษณีย์กลางบางรักและศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ บางรัก กรุงเทพฯ และเปิดให้เข้าชมงานโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
พลอากาศเอกประจิน กล่าวว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีผลงานวิจัยรวมกว่า 3 แสนผลงาน ร้อยละ 40 จากผลงานวิจัยทั้งหมดเป็นงานวิชาการ หรือประมาณ 30,000 เรื่องและมีเพียงร้อยละ 5 เท่านั้นที่ได้นำมาพัฒนาและใช้จริง การจัดงานในครั้งนี้จึงเป็นการนำสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา ภาครัฐบาล ภาคเอกชน และภาคประชาชน ได้เข้ามาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและเผยแพร่งานวิจัย ไปสู่ผู้ที่ต้องการนำไปพัฒนาต่อยอดให้เป็นรูปธรรมในเชิงพาณิชย์ ที่จะสามารถมาช่วยขับเคลื่อนภาคเศรษฐกิจ สังคม รวมไปถึงคุณภาพชีวิตของประชาชน ให้ดีขึ้น นำประเทศไทยไปสู่ ไทยแลนด์ 4.0 ตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี
ขณะเดียวกันยังตั้งเป้าว่า งานนี้จะช่วยเป็นแรงบันดาลใจให้กับคนรุ่นใหม่ โดยเฉพาะนิสิต นักศึกษา สนใจที่จะเข้ามาสู่ระบบงานวิจัยให้มากยิ่งขึ้น ช่วยให้เกิดการพัฒนาบุคลากรด้านงานวิจัยเพิ่มขึ้นในอนาคต
ด้าน ศ.นพ.สิริฤกษ์ เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า รัฐบาลโดยพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ให้ความสำคัญในการส่งเสริมพัฒนางานวิจัย โดยมีสภาวิจัยแห่งชาติเป็นองค์กรหลักในการกำหนดนโยบายและขับเคลื่อนงานวิจัยนำสู่การใช้ประโยชน์ พลอากาศเอกประจิน จั่นตอง รองนายกฯรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการบูรณาการขับเคลื่อน บริหารจัดการ การขับเคลื่อนงานวิจัยและนวัตกรรม นอกจากมอบนโยบายว่า นอกจากผลักดันการวิจัยใช้ประโยชน์แล้ว ยังส่งเสริมเร่งรัดให้ใช้ประโยชน์อย่างรวดเร็วด้วย โดยให้คัดเลือกและกลั่นกรอง เพื่อนำผลวิจัยที่เกิดขึ้นแล้ว ทำให้คนเห็นว่า สามารถใช้ประโยชน์ได้แล้วเห็นว่า เกิดอะไรขึ้นและสร้างรายได้มากขึ้น ส่วนงานวิจัยที่นำเสร็จแล้ว มีความพร้อมใช้ แต่ยังไม่นำไปสู่การใช้ประโยชน์ เนื่องจากผู้ที่จะนำไปใช้ขยายผลยังไม่รับทราบ อาจจำเป็นต้องมีการทดสอบเพิ่มขึ้น เช่น ในแง่ของมาตรฐานและการขึ้นทะเบียน นำไปผลักดันต่อไป
ทั้งนี้ทางวช.ร่วมกับเครือข่ายมหาวิทยาลัยต่าง ๆ และเครือข่ายในภาครัฐและเอกชน ได้คัดกรองงานวิจัยจากที่มีอยู่ราว 300,000 ชิ้นออกมาประมาณ 2,000 ผลงาน โดยมีกลไกที่จะขับเคลื่อนให้ใชประโยชน์ต่อไป งานตลาดนัดเปิดโลกผลงานวิจัยและนวัตกรรม จึงเป็นกลไกหนึ่งที่จะขยายผลต่อไป
วช.โดยความร่วมมือในระบบเครือข่ายในระบบวิจัยและทุกภาคส่วนจึงจัดงานตลาดนัดเปิดโลกผลงานวิจัยนวัตกรรมขึ้นเป็นครั้งที่2 เพื่อเร่งให้เกิดการขยายผล นำผลงานวิจัย นวัตกรรมพร้อมใช้ ที่มีอยู่แล้วในฐานข้อมูลการวิจัยของประเทศขับเคลื่อนไปสู่การใช้ประโยชน์ในมิติต่าง ๆ เกิดการสร้างมูลค่าเพิ่มเชิงพาณิชย์ เชิงชุมชน เชิงสังคม ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนโดยรวมของประเทศ รวมทั้ง เชื่อมโยงกลไกสนับสนุนให้เกิดการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมของประเทศสู่การพัฒนาประเทศในเชิงเศรษฐกิจ ชุมชนและสังคมต่อไป
พร้อมกันนี้ยังมีการลงนามความร่วมมือระหว่างผู้ผลิตงานวิจัยและผู้ใช้ประโยชน์จากงานวิจัย และการมอบตู้เห็ดอัตโนมัติเพื่อการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ภายในงานมีกิจกรรมสำคัญหลายอย่าง ได้แก่ การนำเสนอผลงานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อเชื่อมโยงผู้ผลิตงานวิจัยและผู้จะนำงานวิจัยสู่การใช้ประโยชน์ ใน 7 กลุ่มเรื่องวิจัยตามกรอบยุทธศาสตร์แห่งชาติการวิจัยแห่งชาติระยะ 20 ปี จำแนกเป็นกลุ่มผลงานวิจัยระดับใช้แล้ว ผลงานวิจัยพร้อมใช้ และผลงานวิจัยต้นแบบ , กิจกรรมให้คำปรึกษาด้านธุรกิจ ความคิดสร้างสรรค์ ด้านสินเชื่อสำหรับเอสเอ็มอี จากศูนย์สร้างสรรค์การออกแบบ (ทีซีดีซี) ธนาคารเพื่อการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(SME Development Bank)และสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.)
สำหรับผลงานวิจัยต่าง ๆ ที่มาจัดแสดงมีมากกว่า 200 ผลงาน จาก 172 หน่วยงาน ด้านคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์(มธ.) ได้นำผลงานวิจัยขายได้ มาโชว์เช่นกัน โดยนายภูริทัต กนกกังสดาล นักศึกษาปริญญาเอกประจำบูทเปิดเผยว่า คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นำผลิตภัณฑ์3 อย่างมานำเสนอ อย่างแรกคือ ผลิตภัณฑ์จากกระเจี๊ยบแดง ผลงานวิจัยของคณะนักวิจัยของรศ.ดร. อรุณพร อิฐรัตน์ หัวหน้าสถานการแพทย์แผนไทยประยุกต์ คณะแพทยศาสตร์ โดยการสนับสนุนทุนวิจัยจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ที่มีการศึกษากระเจี๊ยบแดงตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ ได้สารสกัดผลิตเป็นยากระเจี๊ยบแดงเพื่อลดความดันโลหิตสูง ลดปริมาณน้ำตาลและไขมันในเลือด ทำการทดลองในสัตว์และในคนพบว่า ลดอัตราน้ำตาลในเลือดได้ดี ช่วยลดเซลล์ไขมันในตับช่วยลดความเสี่ยงไขมันพอกตับได้
นอกจากยาแล้ว ทีมวิจัยยังนำสารสกัดจากกระเจี๊ยบแดงมาผลิตเป็นเครื่องสำอางและอาหารด้วยเช่นกัน เช่น เจลอาบน้ำ ครีมและโลชั่น พร้อมพัฒนาไส้กรอก ชาชงและคุ๊กกี้ โดยใช้กากกระเจี๊ยบ เวลานี้เครื่องสำอางและยา มีขายที่คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาศาสตร์ธรรมศาสตร์เท่านั้น ส่วนยาเม็ดกระเจี๊ยบลดความดันโลหิตสูง เตรียมถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับทางองค์การเภสัชกรรมเตรียมจะนำไปขยายการผลิตเพื่อให้ผลิตได้เป็นปริมาณมาก อนาคตจะเป็นประโยชน์สำหรับใช้รักษาผู้ป่วยต่อไป
นอกเหนือจากยากระเจี๊ยบแดงแล้วนี้ยังมียาตำรับสหัสธารา เป็นตำรับยาที่ประกอบไปด้วยสมุนไพร 21 ชนิดและยาปรับธาตุเบญจกุล ประกอบด้วยสมุนไพร 5 ชนิด
สำหรับผลงานวิจัยและพัฒนาที่น่าสนใจอื่น ๆ ให้ชมหรือสามารถต่อยอดเชิงพาณิชย์เพื่อทำธุรกิจได้เลยสำหรับผู้ที่สนใจ ทั่วไป ไปชมกันได้ อาคารไปรษณีย์กลางบางรักและศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ บางรัก กรุงเทพฯ ถึงวันอาทิตย์ที่ 24 กันยายน 2560 นี้
อุปกรณ์มัดถุงขยะ
หวายเทียม
ผลิตภัณฑ์จากสารสีฟ้าจากเมล็ดคอคอเด๊อะ
เครื่องมือวัดประสิทธิภาพการเหยียดขา
พลาสติกชีวภาพคอมพาวนด์จากเยื่อกาแฟ
ผลิตภัณฑ์จากยางพาราสำหรับผู้ป่วยมีแผลกดทับและผู้ป่วยต้องขับถ่ายผ่านหน้าท้อง
ค