กรมปศุสัตว์ปลื้มแคนาดาเชื่อมั่น
ระบบตรวจรับรองรง.อาหารสัตว์ไทย


ผลการตรวจอย่างไม่เป็นทางการ คณะเจ้าหน้าที่แคนาดาเชื่อมั่นในระบบการกำกับดูแลอย่างเข้มงวดของกรมปศุสัตว์ สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ทุกขั้นตอนการผลิต โดยมีสัตวแพทย์ของกรมปศุสัตว์เป็น ผู้กำกับดูแลตามระบบมาตรฐานสากล ส่งผลให้ประเทศไทยสามารถส่งออกอาหารสัตว์เลี้ยงไปยังประเทศแคนาดาได้ต่อเนื่องและมีปริมาณเพิ่มขึ้น
“จากมาตรฐานการตรวจสอบรับรองที่เข้มงวดซึ่งกรมปศุสัตว์ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้หน่วยงาน CFIA ขอปรับรายละเอียดใน MOU ที่ได้ลงนามตั้งแต่ปี ๒๕๕๒ ด้วยการขยายระยะเวลาในการเดินทางมาตรวจประเมินกรมปศุสัตว์จากเดิมปีละ ๑-๒ ครั้ง เป็น ๕ ปีต่อครั้ง และยังส่งอานิสงส์ต่ออุตสาหกรรมการผลิตเนื้อไก่ ซึ่งเป็นแหล่งผลิตวัตถุดิบภายในประเทศด้วย ตอกย้ำถึงความเชื่อมั่นของแคนาดาที่มีต่อไทย” อธิบดีกรมปศุสัตว์กล่าว

สำหรับอาหารสัตว์เลี้ยงที่ปริมาณการส่งออกไปยังแคนาดาสูงสุด ได้แก่ อาหารสัตว์เลี้ยงในภาชนะบรรจุปิดสนิท อาหารเม็ด และขนมขบเคี้ยว ตามลำดับ โดยปริมาณการส่งออกรวมในปี ๒๕๖๐ นี้ ประมาณ ๓,๕๐๐ ตัน คิดเป็นมูลค่า ๔๖๐ ล้านบาท
“ปัจจุบันมีโรงงานผลิตอาหารสัตว์ที่กรมปศุสัตว์ให้การรับรองและอยู่ในบัญชีที่สามารถส่งออกไปยังแคนาดาได้ จำนวน ๑๗ โรงงาน และหลังจากเสร็จสิ้นการตรวจรับรอง คาดว่าจะมีโรงงานผลิตอาหารสัตว์เลี้ยงที่ได้รับการรับรองจาก CFIA เพิ่มเติมอีกอย่างน้อย ๖โรงงาน รวมเป็น ๒๓ โรงงาน จะส่งผลให้ปริมาณเพิ่มขึ้นอีก ๗๐๐ ตัน คิดเป็นมูลค่าที่เพิ่มขึ้นราว ๑๐๐ ล้านบาทต่อปี” รองอธิบดีกรมปศุสัตว์กล่าว