นิกกี้ รี้ด-เดลล์ เปลี่ยนขยะไฮเทค
สู่ “เครื่องประดับจากทองรีไซเคิล”
เดลล์ ร่วมมือนิกกี้ รี้ด นักแสดง นักธุรกิจ และนักเคลื่อนไหว ประกาศความร่วมมือในการสนับสนุนความเคลื่อนไหวด้านการออกแบบเพื่อสร้างความยั่งยืนเปิดตัว “The Circular Collection ” เครื่องประดับจากทองจากแผงวงจรคอมพิวเตอร์ พร้อมประกาศโครงการนำร่องครั้งแรกของอุตสาหกรรมในการนำทองจากขยะอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในแผงวงจรคอมพิวเตอร์ใหม่นับล้านๆ ชิ้น รวมถึงในเครื่องรุ่น Latitude 5285 2-in-1 จากกระบวนการสกัดแยกทองของพันธมิตร สอดรับกับคำมั่นสัญญาของเดลล์ ที่จะนำวัสดุที่รีไซเคิลได้จำนวน 100 ล้านปอนด์ กลับมาใช้ในสายผลิตภัณฑ์ภายในปี 2020
“The Circular Collection ” คอลเลคชั่นเครื่องประดับแบบ limited edition ทำจากทองที่นำมาจากแผงวงจรคอมพิวเตอร์ในโครงการรีไซเคิลของเดลล์ โดยคอลเลคชั่นดังกล่าว ประกอบไปด้วยแหวนทอง ต่างหู และกระดุมข้อมือซึ่งเป็นเครื่องประดับของผู้ชาย (cufflink) น้ำหนัก 14 และ 18 กะรัต ได้ถูกนำมาแสดงในปีนี้ภายในงานมหกรรมการแสดงเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ปี 2018 (CES2018) ที่เพิ่งผ่านมา เพื่อเน้นย้ำถึงการที่ขยะอิเล็กทรอนิกส์ หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ แบบใช้แล้วทิ้งส่งผลกระทบในวงกว้างต่อสิ่งแวดล้อมและบทบาทที่ทุกคนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในเศรษฐกิจหมุนเวียน (circular economy)
นิกกี้ รี้ด ผู้ร่วมก่อตั้ง Bayou with Love กล่าวว่า “Bayou with Love” ถูกสร้างขึ้นเพื่อก่อให้เกิดความตระหนักรู้มากยิ่งขึ้น เกี่ยวกับผลกระทบต่อมนุษย์ที่ อยู่บนโลกใบนี้ อีกทั้งยังแสดงให้เห็นว่าสิ่งของที่สวยงาม ก็สามารถสร้างขึ้นได้จากวัสดุรีไซเคิลที่นำกลับมาใช้ประโยชน์ ได้อย่างยั่งยืน ในการรีไซเคิลทองที่ครั้งหนึ่ง เคยถูกมองว่าเป็น “ของไม่มีประโยชน์” ทั้งเดลล์และตนต่างทำงานเพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่เราสามารถนำทรัพยากรกลับมาใช้ได้เรื่อยๆ พร้อมกับความมุ่งมั่นที่จะทำให้ขยะหมดไป
นอกจากนี้ เดลล์ได้ประกาศโครงการนำร่องครั้ งแรกของอุตสาหกรรมในการใช้ทองคำรีไซเคิลจากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในแผงวงจรคอมพิวเตอร์ใหม่ ซึ่งจะมากับเครื่องรุ่น Latitude 5285 2-in-1 ที่ได้รับรางวัล โดยเริ่มต้นตั้งแต่ฤดูใบไม้ผลินี้เป็นต้นไป โดยโครงการนำร่องดังกล่าวเกิดขึ้นหลังความสำเร็จในการศึกษาความเป็นไปได้ว่า เมนบอร์ดของเซิร์ฟเวอร์และกระบวนการผลิตทองในแบบปิด หรือ closed loop นั้นสามารถนำมาใช้สร้างแผงวงจรคอมพิวเตอร์ใหม่นับล้านล้านชิ้นในปีหน้าได้ ซึ่งจะเป็นการขยายโครงการแบบ closed loop ของเดลล์จากการแปรพลาสติกไปสู่โลหะมีค่า
ปัจจุบันมีมีขยะอิเล็กทรอนิกส์เพียง 12.5% ที่ถูกนำกลับมารีไซเคิลเป็นผลิตภัณฑ์อื่นๆ และมีการประเมินว่า ในทุกๆ ปี คนอเมริกันโยนทองและเงินซึ่งคิด เป็นมูลค่าถึง 60ล้านดอลลาร์ ทิ้ง จากแค่โทรศัพท์ที่ไม่ได้ใช้งานแล้วเพียงอย่างเดียว ทั้งนี้ โครงการนำร่องใหม่ของเดลล์ และ The Circular Collection ได้แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของวัสดุที่มีค่าเหล่านี้ ในการรีไซเคิลให้อยู่ใ นรูปของสินค้าที่งดงาม ให้คุณค่า และความยั่งยืน
การนำทองกลับมาใช้และสร้างมูลค่าของทองที่ได้จ ากเทคโนโลยีที่ใช้แล้ว นอกจากจะสร้างประโยชน์อย่างมากในเชิงเศรษฐกิจแล้ว ยังสร้างประโยชน์ด้านสังคมและสิ่ งแวดล้อมอย่างมหาศาลด้วยการเลี่ยงผลเสียที่จะเกิดกับสุขภาพของมนุษย์และเป็นการกรองสารที่ก่อให้เกิดมลพิษอันเกี่ยวเนื่องจากการทำเหมืองทองออกไปได้อีกด้วย ผลจากการศึกษาของ Trucost พบกระบวนการสกัดแยกทองที่สร้างโดย Wistron GreenTech พันธมิตรด้านสิ่งแวดล้อมของเดลล์ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้มากถึง 99% เมื่อเทียบกับการทำเหมืองทองปกติ
เจฟฟ์ คลาร์ค รองประธานของเดลล์ กล่าวว่า “เราภูมิใจที่ได้คิดหาวิธี ที่ช่วยให้ทำธุรกิจได้ดียิ่งขึ้น มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในการดำเนินการผ่านซัพพลายเชนของเรา นวัตกรรมด้านวัสดุ ก็คือ วิธีการและสถานที่ที่เราจัดหาวัสดุต่างๆ สำหรับผลิตภัณฑ์ของเรา อย่างพลาสติกคาร์บอน ไฟเบอร์ และตอนนี้คือ ทอง ซึ่งเหล่านี้เป็นเรื่องสำคัญมากยิ่งขึ้นสำหรับเรา เมื่อคุณลองนึกถึงข้อเท็จจริงที่ว่าในแผงวงจรคอมพิวเตอร์ จำนวนหนึ่งตัน มีทองมากกว่าสินแร่จำนวนหนึ่งตันที่ได้จากผืนดินถึง 800 เท่า คุณจะเริ่มเข้าใจถึงโอกาสอันยิ่งใหญ่ ในการที่เราต้องนำวัสดุที่มีคุณค่ามาใช้ในการทำงาน โดยนิกกี้ รี้ด เข้าใจเรื่องนี้เป็นอย่างดีและเ ราเองก็เข้าใจดีเช่นกัน ซึ่งเรื่องนี้ต้องอาศัยความคิดนอกกรอบอย่างต่อเนื่องและสร้างสิ่งใหม่ขึ้นจากนวัตกรรม เพื่อแก้ปัญหาความท้าทายด้านสิ่งแวดล้อม”
ทั้งนี้เดลล์ ใช้เวลากว่าทศวรรษ ในการทำงานเกี่ยวกับวัสดุที่ยั่งยืนในผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ โดยเริ่มตั้งแต่ปี 2012 เดลล์ ได้นำวัสดุที่ผ่านการใช้งานแล้ว (Post-consumer Recycled) มารีไซเคิลเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ โดยเป็นส่วนหนึ่งของโปรแกรม Legacy of Good Program ของเดลล์ ซึ่งบริษัทฯ ได้ให้ปฏิญาณในการนำวัสดุที่รีไซเคิลได้ปริมาณ 100 ล้านปอนด์ มาใช้ในกลุ่มผลิตภัณฑ์ภายในปี 2020 ความร่วมมือกับนิกกี้ รี้ด นับเป็นการต่อยอดความมุ่งมั่นของบริษัทในการหาวิธีการที่เป็นนวัตกรรมเพื่อสร้างคุณค่าจากของเหลือใช้
เพื่อสนับสนุนความมุ่งมั่นดังกล่าว หน่วยงานธุรกิจสามารถเข้าร่ วมได้โดยผ่านบริการ Dell’s Asset Resale and Recycling Services การใช้กระบวนการสกัดวัสดุเพื่อเป็นการรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม โดย Wistron GreenTech ซึ่งเป็นพันธมิตรด้านสภาพแวดล้อมของเดลล์ จะนำอุปกรณ์หรือชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้แล้วมาแยกออกส่วนประกอบออกเป็นชิ้นๆ จากนั้นนำทองจากแผงวงจร หรือ Motherboards มารีไซเคิลเป็นแผงวงจรคอมพิวเตอร์ใหม่ ในฐานะที่เป็นซัพพลายเชนแบบครบวงจร (closed loop) ของเดลล์ หรือนำวัสดุมาสร้างมูลค่าเพื่อใช้ในผลิตภัณฑ์อื่นๆ
สินค้าในคอลเลคชั่น The Circular Collection by Bayou with Love มีราคาเริ่มต้นอยู่ที่ 78เหรียญสหรัฐ และพร้อมให้พรีออเดอร์ล่วงหน้าได้ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปที่ BaYouwithLove.com พร้อมรายละเอียดของ Latitude 5285 2-in-1