วช. หนุนท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์
ยกคุณภาพชีวิตชุมชน ลานสกา
สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ พาคณะสื่อเยี่ยมชมระหว่างวันที่ 31 สิงหาคม – 1 กันยายน 2561 ณ อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อสนองนโยบายรัฐบาลในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานนวัตกรรมของประเทศกลุ่มเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์
ศาสตราจารย์ นายแพทย์สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า โครงการ Innovation Hubs เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานนวัตกรรมของประเทศตามนโยบาย Thailand ๔.๐กลุ่มเรื่องเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) เป็นความร่วมมือภายใต้บันทึกข้อตกลงระหว่าง สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กับสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) และเครือข่ายวิจัยอุดมศึกษา 9 ภูมิภาค เพื่อร่วมมือในการดำเนินเผยแพร่ผลงานในโครงการ Innovation Hubs
โดยตกลงที่จะให้ความร่วมมือกัน ดังนี้ 1. ร่วมกันสร้างเครือข่ายความร่วมมือที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาชุมชน และส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ เพื่อที่จะได้นำความรู้และเทคโนโลยีมาบูรณาการกับศักยภาพท้องถิ่น เพื่อนำไปสู่การพัฒนาประเทศตามนโยบาย Thailand 4.0 2. เพื่อเผยแพร่ผลงานและข้อมูลการเชื่อมโยงระหว่างเครือข่าย เพื่อไปสู่การค้นคว้าและสร้างแรงบันดาลใจ ซึ่งจะส่งผลต่อการพัฒนาและต่อยอดศักยภาพต้นทุนของชุมชน และ 3. นำองค์ความรู้ผลงานวิจัยและเทคโนโลยี เครือข่ายวิจัยอุดมศึกษา ไปใช้ประโยชย์ต่อชุมชนท้องถิ่น และเผยแพร่ให้สาธารณะชนได้รับทราบ
โครงการดังกล่าว เป็นโครงการที่รัฐบาลได้ให้การสนับสนุนงบประมาณแผ่นดินในปี 2560 เพื่อพัฒนาโครงสร้างการจัดการ และกำลังคน เพื่อให้เกิดการบูรณาการความรู้ หรือเทคโนโลยีที่เกิดจากผลงานวิจัยภายในมหาวิทยาลัยกับต้นทุนภูมิปัญญาหรือทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่น ตลอดจนการพัฒนา
จนเกิดเป็นนวัตกรรมที่ทำให้เกิดเป็นสินค้าหรือบริการ ที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจในพื้นที่ด้วยความคิดสร้างสรรค์
ผศ.ดร.อริศร์ เทียนประเสริฐ ประธานคณะกรรมการ Innovation Hub กล่าวว่า โครงการ “พัฒนาศักยภาพวิสาหกิจชุมชนเครือข่ายการท่องเที่ยวชุมชนอำเภอลานสกาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงคุณภาพทางไทยแลนด์ 4.0” เป็นโครงการหนึ่งในโครงการ Innovation Hubs เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานนวัตกรรมของประเทศตามนโยบาย Thailand ๔.๐ กลุ่มเรื่องเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) ซึ่งได้มีการทำวิจัยแบบมีส่วนร่วม ซึ่งรวมทั้งหมด 6 กิจกรรม ได้แก่ 1) การค้นหาอัตลักษณ์ และแบรนด์ทางการตลาดของแหล่งท่องเที่ยวในอำเภอลานสกา 2) การยกระดับที่พักและร้านอาหาร 3) การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ
4) การเตรียมความพร้อมการท่องเที่ยวเชิงเกษตร5)การออกแบบสินค้าที่สื่อถึงอัตลักษณ์ความเป็นลานสกา และ 6) การออกแบบท่องเที่ยวลานสกา ซึ่งพื้นที่ทำการวิจัย ได้แก่หมู่บ้านคีรีวงบางแห่ง ตำบลเขาแก้ว อำเภอลานสกาผลการวิจัยพบว่าจุดเด่นของแหล่งท่องเที่ยวลานสกาคือ มังคุดที่มีอายุยืนยาวกว่า100ปี ซึ่งมีประวัติศาสตร์เชื่องโยงกับหลวงพ่อมังคุด ดังนั้น ‘มังคุด’ จึงเป็นจุดขายของอำเภอลานสกา
และนำมาซึ่งผลงานที่สื่อถึงการท่องเที่ยวของอำเภอลานสกา โดยใช้มังคุดเป็นต้นแบบของผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในแหล่งท่องเที่ยวในรูปแบบต่าง ๆ รวมถึงการออกแบบเป็นหมวกหมอนมังคุดผลิตภัณฑ์ที่เป็นอัตลักษณ์ของลานสกา ‘น้องมังคุด’ ซึ่งอยู่ระหว่างการยืนขอจดทะเบียนสิทธิบัตร
นอกจากนี้ยังมีการใช้คิวอาร์โค้ดแทนเอกสารท่องเที่ยว โดยมีการนำเสนอเส้นทางท่องเที่ยวถ่ายทอดเป็นหนังสั้นเพื่อให้เกิดความน่าสนใจ ซึ่งแหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ จะมีทั้งแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรแบบดั้งเดิม และเชิงเกษตรแนวใหม่ แหล่งท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ ที่พักในรูปแบบโฮมสเตย์ ร้านเครื่องดื่มที่คงความเป็นท้องถิ่นเดิมเช่น ลานสกาค๊อฟฟี่ เป็นต้น