ยูนิเวอร์ซัลฯ หนุนอุตฯอนาคต
ก้าวสู่ยุคไทยแลนด์ 4.0
นโยบายไทยแลนด์ 4.0 คือวิสัยทัศน์การสร้างชาติที่มีรายได้ประชากรสูง ด้วยระบบเศรษฐกิจที่มีพื้นฐานบนมูลค่าและขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีโดยเทคโนโลยีสำหรับอุตสาหกรรม 4.0 ถือเป็นกุญแจสำคัญในการแปรรูปภาคการผลิตของไทย มีเป้าหมายเพื่อเพิ่มกำลังการผลิตให้ได้มูลค่า 50 พันล้านดอลลาร์ภายในปี ค.ศ.2028 ชี้การนำเทคโนโลยีหุ่นยนต์ใช้ในภาคอุตสาหกรรมยังมีอัตราต่ำอยู่ที่ 15% ของภาคการผลิตทั้งหมด ประโยชน์ของโคบอท คือ การเพิ่มกำลังการผลิต คุณภาพสินค้า และสวัสดิภาพของคนงาน
ยูนิเวอร์ซัล โรบอทส์ (Universal Robots: UR) เป็นบริษัทผู้เชี่ยวชาญด้านหุ่นยนต์เพื่อการทำงานร่วมกับมนุษย์ชั้นนำสัญชาติเดนมาร์ก ได้กำหนดให้ประเทศไทยเป็นตลาดหลักที่มีศักยภาพการเติบโตสูง ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายของนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ในการสร้างชาติที่มีรายได้ของประชากรสูงด้วยระบบเศรษฐกิจที่มีพื้นฐานบนมูลค่าและขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี
สืบเนื่องจากข้อมูลของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนแห่งประเทศไทย ระบุว่าเทคโนโลยีหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติคือ กุญแจสำคัญสู่ความสำเร็จในการก้าวสู่ยุคไทยแลนด์ 4.0 ซึ่งภายใต้แนวคิดนี้ รัฐบาลได้กำหนดให้อุตสาหกรรมที่มีศักยภาพ (S-curve industries) 10 ประเภทเป็นตัวขับเคลื่อนการเติบโตของประเทศ โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพ (S-curve) และกลุ่มอุตสาหกรรมใหม่ที่มีศักยภาพ (New S-curve)
โดยกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพ (S-curve) ได้แก่ อุตสาหกรรมที่ดำเนินธุรกิจอยู่ในปัจจุบัน เช่น อิเล็กทรอนิกส์, เทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอาหาร ซึ่งสามารถพัฒนาต่อยอดได้ด้วยการใช้เทคโนโลยีขั้นสูง
ส่วนกลุ่มอุตสาหกรรมใหม่ที่มีศักยภาพ (New S-curve) คืออุตสาหกรรมขั้นสูงแนวใหม่ เช่น อุตสาหกรรมอวกาศและพลังงานชีวภาพ
มร.ซาการิ กูอิกกะ ผู้จัดการทั่วไป ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และโอเชียเนีย ยูนิเวอร์ซัล โรบอทส์ กล่าวว่า “ปัจจุบันมีธุรกิจที่ใช้เทคโนโลยีสำหรับอุตสาหกรรมยุค 4.0 เพิ่มมากขึ้น ทำให้มีการใช้ระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์มาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพขั้นตอนการทำงานและกำลังการผลิต นับตั้งแต่ ค.ศ. 2016 – 2018 สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนของไทยได้มีการมอบเงินกระตุ้นการลงทุนแก่โครงการเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานไปแล้วกว่า 36 โครงการรวมมูลค่า 5.22 พันล้านบาท เฉพาะในปีที่ผ่านมา มีการอนุมัติโครงการลงทุนด้านเทคโนโลยีหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติกว่า 11 โครงการ มูลค่ากว่า 1.46 พันล้านบาท
แม้จะมีการสนับสนุนเช่นนี้ หากศักยภาพของเทคโนโลยีรูปแบบนี้กลับยังไม่ได้ถูกนำไปใช้งานอย่างแพร่หลายเท่าที่ควร โดยข้อมูลแสดงให้เห็นว่า มีเพียง 15% ของภาคการผลิตของไทยที่ใช้เทคโนโลยีหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติในขั้นตอนการผลิต เราจึงเล็งเห็นถึงศักยภาพอีกมากในการส่งเสริมการใช้งานเทคโนโลยีเหล่านี้ในยามที่ประเทศกำลังให้ความสำคัญกับการเสริมสร้างความเข้มแข็งของภาคอุตสาหกรรม” มร.ซาการิ กูอิกกะ กล่าวเสริม
ยูนิเวอร์ซัล โรบอทส์ ได้ขยายเครือข่ายการกระจายสินค้าอย่างรวดเร็วนับตั้งแต่การนำเสนอธุรกิจของบริษัทเมื่อปี ค.ศ. 2013 หุ่นโคบอทของบริษัทได้ถูกจัดจำหน่ายผ่านพันธมิตรคู่ค้าประจำภูมิภาคทั้ง 5 ราย ได้แก่ บริษัท ออโตเฟล็กซิเบิ้ล แอดวานซ์ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด, บริษัท เซราไทย จำกัด, บริษัท เจอแรงการ์ (ไทยแลนด์) จำกัด, บริษัท อินเตอร์ อิงค์ เทคนิคส์ จำกัด และ บริษัท สยามโอเรียนท์อีเลคทริค จำกัด
สำหรับประเทศไทย หุ่นโคบอทถูกนำไปใช้ในอุตสาหกรรมหลายประเภท ทั้งอุตสาหกรรมรถยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ และพลาสติกและโพลีเมอร์
เทคโนโลยีโคบอทได้สร้างประโยชน์มากมายให้แก่บริษัทรถยนต์ยักษ์ใหญ่อย่าง นิสสัน มอเตอร์ (Nissan Motor Company) โดยนับตั้งแต่เริ่มนำหุ่นโคบอทรุ่น UR10 มาใช้ในโรงงาน บริษัทก็สามารถปรับเปลี่ยนขั้นตอนการทำงานให้เรียบง่าย ลดต้นทุนแรงงาน และสร้างชิ้นงานที่มีคุณภาพสม่ำเสมอได้มากขึ้น นอกจากนั้น ยังช่วยผ่อนแรงคนงานสูงวัยของบริษัทนิสสันจากการทำงานที่ต้องใช้แรงมากและงานที่ทำซ้ำๆ ทำให้พวกเขาได้รับการโยกย้ายไปทำงานอื่น ๆ ที่มีมูลค่าและใช้ทักษะสูงขึ้น
สำหรับบริษัทเจวีซี อิเล็กทรอนิกส์ อินโดนีเซีย หุ่นโคบอทของยูนิเวอร์ซัล โรบอทส์ สามารถเพิ่มทั้งกำลังการผลิต คุณภาพของชิ้นงาน รวมถึงสวัสดิภาพของคนงาน พร้อมช่วยลดค่าใช้จ่ายได้ปีละมากกว่า 80,000 ดอลลาร์เลยทีเดียว
ด้วยคุณสมบัติของโคบอทที่มีน้ำหนักเบา ขนาดเล็ก และมีความยืดหยุ่น ทำให้สามารถนำไปใช้งานได้แม้ในพื้นที่แคบและครอบคลุมอุตสาหกรรมหลากหลายรูปแบบ คนงานสามารถทำงานร่วมกับมันได้โดยไม่ต้องมีการติดตั้งรั้วกั้นเพื่อความปลอดภัย (ขั้นอยู่กับการประเมินความเสี่ยง) คุณประโยชน์มากมายที่ไม่จบสิ้นของโคบอทยังสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันอย่างมากแก่อุตสาหกรรมในประเทศไทย ผ่านการเพิ่มกำลังการผลิต คุณภาพสินค้า และสวัสดิภาพของคนงาน
เทคโนโลยีหุ่นยนต์ กุญแจสำคัญที่ทำให้วิสัยทัศน์ไทยแลนด์ 4.0 เป็นจริง
ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ประเทศไทยได้กลายเป็นศูนย์กลางการผลิตที่แข็งแกร่ง ซึ่งโดดเด่นในภาคอุตสาหกรรมรถยนต์และอิเล็กทรอนิกส์ที่เฟื่องฟู และทั้ง 2 ภาคอุตสาหกรรมนี้ยังเป็นตัวขับเคลื่อนการเติบโตของเทคโนโลยีหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติของโลก ขณะเดียวกันประเทศไทยยังเป็นผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ที่สุดของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีโรงงานประกอบรถยนต์ 23 แห่ง และโรงงานประกอบมอเตอร์ไซค์ 8 แห่ง ไทยยังเป็นผู้ส่งออกฮาร์ดดิสก์บันทึกข้อมูลชั้นนำ โดยคิดเป็น 82% ของผู้ส่งออกทั่วโลก
การเปลี่ยนแปลงไปสู่เทคโนโลยีหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติจึงถือเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งยวด ในการรับประกันว่าอุตสาหกรรมเหล่านี้และอุตสาหกรรมอื่น ๆ จะสามารถดำเนินต่อไปได้อย่างยั่งยืนและรักษาสถานผู้นำในระดับโลกได้
การศึกษาของ ซิสโก้ และ เอ.ที.คาร์นีย์ พบว่า ภาคการผลิตของไทยสามารถเพิ่มกำลังการผลิตได้มูลค่า 50 พันล้านดอลลาร์ภายในปี ค.ศ.2028 ผ่านการใช้เทคโนโลยีสำหรับอุตสาหกรรมยุค 4.0
“ระบบอัตโนมัติกลายเป็นส่วนสำคัญในสมการการผลิตของอุตสาหกรรมหลายประเภทในเมืองไทย และในการทำให้ระบบอัตโนมัติเป็นสิ่งที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ตามคำมั่นสัญญา เราจึงทำงานร่วมกับพันธมิตรอย่างใกล้ชิดเพื่อทำการประเมิน ให้คำแนะนำ และนำเสนอการใช้งานโซลูชั่นเทคโนโลยีหุ่นยนต์ที่ออกแบบมาให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้าแต่ละราย สำหรับการเพิ่มความสามารถของหุ่นยนต์ก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน ด้วยการทำงานของสถาบัน UR Academy ของเรา ทั้งนายจ้างและลูกจ้างสามารถใช้องค์ความรู้จากแบบจำลองและเว็บบินาร์แบบไม่เสียค่าใช้จ่าย เพื่อฝึกฝนทักษะการตั้งโปรแกรมโคบอทหลักในการทำงานได้” มร.ซาการิ กูอิกกะ กล่าวเสริม
ทั้วนี้ยูนิเวอร์ซัล โรบอทส์ เข้าร่วมงาน Assembly and Automation Technology Exhibition 2019 ซึ่งจัดขึ้นระหว่าง 19-22 มิถุนายน 2562 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุม ไบเทค กรุงเทพฯ
โดยที่บูท 9E01 ในฮอล์ 99 ยูนิเวอร์ซัล โรบอทส์จะจัดแสดงโคบอทสำหรับการทำงานในอุตสาหกรรม 5 รูปแบบ ได้แก่ การหยิบจับของจากในกล่อง การบรรจุหีบห่อ การจัดวางสินค้าบนแท่นวาง การหยิบและวางสินค้า และการตรวจสอบสินค้า นอกจากนี้ ยังมีสถานีการสอนพร้อมอุปกรณ์ต่อพ่วง UR+ ซึ่งเป็นแพล็ตฟอร์มออนไลน์ที่จัดแสดงอุปกรณ์ต่อพ่วงหุ่นยนต์ที่ผ่านการรับรองมาตรฐานการทำงานร่วมกับโคบอทของยูนิเวอร์ซัล โรบอทส์ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ผู้เข้าชมงานยังมีโอกาสได้ทดลองตั้งค่าและตั้งโปรแกรมการทำงานโคบอทของยูนิเวอร์ซัลด้วยตัวเองภายในสถานีการสอนนี้
อนึ่งยูนิเวอร์ซัล โรบอทส์ ก่อตั้งเมื่อปี 2005 โดยผู้บริหารฝ่ายเทคโนโลยีระดับสูงของบริษัท เอสบอน ออสเตอร์การ์ด ผู้ปรารถนาให้เทคโนโลยีหุ่นยนต์เป็นสิ่งที่ทุกคนเข้าถึงได้ เขาจึงพัฒนาหุ่นยนต์อุตสาหกรรมขนาดเล็ก เป็นมิตรต่อผู้ใช้งาน มีราคาสมเหตุสมผล และมีความยืดหยุ่นในการใช้งานที่มนุษย์สามารถใช้ในการทำงานได้อย่างปลอดภัยและใช้งานได้ตลอดกระบวนการผลิตในภาคอุตสาหกรรม รายการผลิตภัณฑ์ของเขายังรวมถึงมือหุ่นยุนต์รุ่น UR3, UR5 และ UR10 ซึ่งตั้งชื่อตามน้ำหนักที่รองรับได้ในหน่วยกิโลกรัม หลังจากการเปิดตัวหุ่นยนต์ UR รุ่นแรกในปี 2008 บริษัทได้มีการเติบโตขึ้นอย่างชัดเจนในด้านหุ่นยนต์ที่เป็นมิตรกับผู้ใช้ และสามารถจำหน่ายผลิตภัณฑ์ในมากกว่า 50 ประเทศทั่วโลก ซึ่งหุ่นยนต์ UR มีระยะเวลาคืนทุนภายใน 12 เดือนเท่านั้นซึ่งถือว่าเร็วที่สุดในอุตสาหกรรม
ในปัจจุบัน ยูนิเวอร์ซัล โรบอทส์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของบริษัท Teradyne Inc. ในสหรัฐอเมริกา มีสำนักงานใหญ่ที่เมืองโอเดนเซ ประเทศเดนมาร์ก และมีสำนักงานสาขาทั้งในสหรัฐอเมริกา เม็กซิโก เยอรมนี สเปน ฝรั่งเศส อิตาลี สาธารณรัฐเช็ก ตุรกี อินเดีย จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน และสิงคโปร์